Page 96 - ผลสัมฤทธิ์ของการบูรณาการงานในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำเข็ก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 96

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        65







                                      (2) การปลูกพืชสลับ(Strip cropping) หมายถึงการปลูกพืชที่ให้การคุ้มกันดินสลับ
                       กับพืชที่ไม่ให้การคุ้มกันดินหลักการปลูกพืชเป็นแถบสลับคือเมื่อฝนตกลงมาบนพื้นที่ที่มีความลาดเทก็
                       จะเกิดน้ าไหลบ่าบนผิวดินที่ไม่ได้คุ้มกันดินอัตราการไหลของน้ าที่ไหลบ่าจะเป็นไปตามธรรมดาแต่เมื่อ

                       น้ าที่ไหลบ่ามาถึงแถบที่ปลูกพืชคุ้มกันดินจะท าให้อัตราการไหลของน้ าที่ผิวดินลดลงการปลูกพืชสลับ
                       เป็นการลดอัตราการเกิดsheet erosion และการป้องกันการเกิดการพังทลายที่เป็นร่องน้ าขนาดใหญ่
                       การปลูกพืชเป็นแถบสลับมีอยู่4ชนิดดังต่อไปนี้
                                                (2.1) Field strip cropping ได้แก่การปลูกพืชเป็นแถบสลับที่มีความกว้าง

                       ของแถบสม่ าเสมอกันโดยวางให้แถบของพืชขวางกับทิศทางของความลาดเทโดยไม่ค านึงถึงระดับของ
                       พื้นที่การปลูกพืชแบบนี้นิยมปฏิบัติบนพื้นที่ที่มีความลาดเทไม่สม่ าเสมอในบางแห่งการปลูกพืชสลับวิธี
                       นี้ร่วมกับwind strip cropping จะให้ผลดีในการควบคุมการพังทลายของดิน
                                                (2.2)  Contour  strip  cropping  ได้แก่การปลูกพืชเป็นแถบสลับไปบน

                       แนวระดับและวางแถบของพืชตั้งฉากหรือขวางกับทิศทางของความลาดเทโดยปลูกพืชหมุนเวียน
                       ประเภทคุ้มกันดิน
                                                (2.3)  Wind  strip  cropping  ได้แก่การปลูกพืชเป็นแถบสลับที่มีแถบ

                       สม่ าเสมอกันและขวางทิศทางลมเหมาะที่จะปลูกในที่ราบหรือเกือบราบและมีปัญหาการพังทลายของ
                       ดินโดยลม
                                                 (2.4) Buffer strip cropping ได้แก่การปลูกพืชเป็นแถบสลับที่มีความ
                       กว้างของแถบสลับไม่สม่ าเสมอกันมักปลูกหญ้าสลับพืชตระกูลถั่วการปลูกพืชแบบนี้ป้องกันการ
                       พังทลายของดินมากกว่าจุดประสงค์อื่นๆ

                                      (3)  การปลูกพืชเป็นแนวป้องกันลม (Windbreak)  เป็นการปลูกพืชที่มีกิ่งใบแน่น
                       เป็นการปลูกพืชขวางทิศทางลมเพื่อลดความเร็วและการสูญเสียที่เกิดขึ้นกับดินไม่โค่นล้มง่ายขวางทาง
                       ลมไว้เพื่อลดความแรงของลมและลดการระเหยของน้ าที่ผิวหน้าดินส าหรับชนิดของพืชขนาดความสูง

                       และจ านวนที่ปลูกขึ้นอยู่กับความเร็วของลมและลักษณะการเคลื่อนที่ของลมการปลูกพืชก าบังลม
                       สามารถท าได้หลายแนวและหลายทิศทางควรระมัดระวังเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดกับพืชหลัก
                                      (4)  การปลูกพืชคลุมดิน  (Cover  Crop)  เป็นการปลูกพืชที่มีรากมากรากลึกใบแผ่
                       แน่นและโตเร็วเช่นหญ้าแฝกยึดหน้าดินไว้เพื่อป้องกันการชะล้างและช่วยรักษาความชื้นนอกจากนี้

                       ซากพืชยังท าให้ดินร่วนซุยและอุ้มน้ าได้ดีขึ้นอีกด้วย
                                      (5) การใช้วัสดุคลุมดิน (Mulching)  หมายถึงการคลุมดินด้วยวัตถุต่างๆเช่น
                       พลาสติก กระดาษเศษเหลือของพืชเป็นต้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ า การคลุมดินส่วนใหญ่นิยม
                       กระท าเพื่อรักษาความชื้นในดินโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งการคลุมดินยังมีประโยชน์ในแง่ของการลด

                       ปริมาณวัชพืชด้วยนอกจากนี้วัสดุคลุมดินยังช่วยให้อุณหภูมิของดินไม่แตกต่างกันมากเพื่อป้องกันการ
                       พังทลายที่เกิดจากเม็ดฝนที่ตกลงมาหรือที่เกิดจากน้ าไหลบ่าบนผิวดินหรือที่เกิดจากลมอัตราการใช้
                       วัตถุคลุมดินที่นิยมโดยทั่วไปคือ 600  ถึง  800 กิโลกรัมต่อไร่ส าหรับเศษเหลือของพืชและ 1.6  ถึง
                       2 ตันต่อไร่ส าหรับปุ๋ยคอก
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101