Page 89 - ผลสัมฤทธิ์ของการบูรณาการงานในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำเข็ก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 89

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        58







                       คือ พ.ศ. 2523 พบว่ามีการใช้ที่ดินไม่เหมาะสมรวม 30 ล้านไร่ มากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                       12  ล้านไร่ ต่อมาใน พ.ศ.  2535  พบว่า มีการใช้ที่ดินไม่เหมาะสมถึง 35.6  ล้านไร่ ภาค
                       ตะวันออกเฉียงเหนือมีการใช้ที่ดินไม่เหมาะสมเพิ่มขึ้นเป็น 21.2 ล้านไร่  (ส านักงานเศรษฐกิจ

                       การเกษตร, 2537)
                                      2)  การใช้ที่ดินโดยปราศจากการบ ารุงรักษา พื้นที่เกษตรกรรมได้ถูกใช้มาเป็น
                       เวลานานแล้ว ท าให้ธาตุอาหารพืชซึ่งแต่เดิมมีน้อยอยู่แล้ว ถูกพืชดูดใช้ไปในการเจริญเติบโตเสียเป็น
                       ส่วนใหญ่    สรสิทธิ์ วัชโรทยาน (2535 : 167-168) ได้ชี้ให้เห็นว่า ผลผลิตของข้าวในนาหนึ่งตันจะท า

                       ให้ดินสูญเสียปุ๋ยไนโตรเจน (N) ไป 20 กิโลกรัม หรือปุ๋ยอินทรีย์ จ านวน 4,000 กิโลกรัมจึงจะสมดุลกับ
                       ที่สูญเสียไปแต่เกษตรกรได้ใส่ปุ๋ยทดแทนในอัตราที่ต่ ามากจึงมีผลให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง ใน
                       ขณะเดียวกัน  ในกรณีของพืชส าคัญทางเศรษฐกิจ 4 ชนิด คืน ข้าว อ้อย ข้าวโพด และมันส าปะหลัง
                       ในปี 2519 ได้ดูดซึมปุ๋ยในดินติดไปกับผลผลิตจากพื้นที่เพาะปลูก 68.8 ล้านไร่ จ านวน 549,900 ต้น

                       ของธาตุอาหาร (N + P O  + K O) ที่สูญเสียไปมีจ านวนรวม 707,700 ตัน แต่เกษตรกรใส่ปุ๋ยชดเชย
                                          2 5
                                                 2
                       เพียง 253,500 ตันเท่านั้น หรือชดเชยในอัตราส่วน 1:2.79 ซึ่งต่ ากว่าอัตราส่วนการใส่ปุ๋ยชดเชยในปี
                       2519 จึงท าให้พื้นที่การเกษตรเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2537)

                                      3) การใช้ที่ดินไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยพื้นที่ การเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศ
                       ไทยยังคงอาศัยน้ าฝน พื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตรยังได้รับน้ าชลประทานเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ท าให้
                       การใช้ประโยชน์ที่ดินนอกเขตชลประทานยังไม่เกิดประโยชน์สูงสุด ที่ดินจะถูกใช้ในฤดูฝนเท่านั้น ส่วน
                       ฤดูแล้งจะถูกทอดทิ้งว่างเปล่าประโยชน์ อาจเนื่องจากขาดน้ าและราคาพืชตกต่ า (ส านักงานเศรษฐกิจ
                       การเกษตร, 2537)

                              3.2.3 ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม (ปรีชา วทัญญู, 2535)
                                      1)  ความกดดันจากการเพิ่มของประชากร ท าให้เกิดการบุกรุกท าลายป่าขยายพื้นที่
                       เพาะปลูก แม้ว่าพื้นที่นั้น ๆ จะไม่เหมาะสมส าหรับการเกษตรก็ตาม

                                      2)  การถือครองที่ดินและกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การถือครองที่ดินของเกษตรกรมี
                       น้อยเกินไป จนไม่สามารถเลือกใช้เฉพาะบริเวณ ที่มีศักยภาพทางการเกษตรได้เท่านั้น นอกจากนั้น
                       แล้ว เกษตรกรบางรายยังไม่มีสิทธิ์ในที่ดินที่ท าการเกษตรอยู่ เนื่องจากพื้นที่ที่ใช้ท าการเกษตรได้มา
                       โดยผิดกฎหมาย เช่น การบุกรุกป่าสงวน การใช้ที่สาธารณะประโยชน์ ฯลฯ ท าให้ไม่เกิดความสนใจที่

                       จะดูแลรักษา หรือท านุบ ารุงที่ดินนั้นๆ ให้คงสภาพที่ดีตลอดไป
                                      3)  กฎหมายหรือมาตรการในการควบคุมและป้องกันไม่ได้ผล ปัญหาที่พบเห็น และ
                       ยังไม่สามารถแก้ไขได้ในปัจจุบัน ได้แก่ การบุกรุกท าลายพื้นที่ป่าไม้ ป่าสงวน และต้นน้ าล าธาร
                       จ าเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มงวด และจริงจังในการแก้ปัญหา

                              3.2.4 ปัญหาทางด้านการบริหารงานของรัฐ (ปรีชา วทัญญู, 2535)
                                      1) นโยบายของรัฐ นโยบายในการบริหารงานมักจะเปลี่ยนไปเมื่อเปลี่ยนคณะรัฐบาล
                       ท าให้การบริหารงานหยุดชะงัก ขาดขั้นตอน หรือต้องเปลี่ยนนโยบาย รัฐจ าเป็นต้องก าหนดนโยบาย
                       ในการวางแผน การใช้ที่ดินให้เหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด และมีการกระท าที่ต่อเนื่อง

                                      2)  การปฏิบัติงานซ้ าซ้อน งานหลายอย่างที่มีองค์กรของรัฐหลายองค์กรเข้าร่วม
                       ปฏิบัติงาน ท าให้เกิดความยุ่งยากในการด าเนินงานให้ลุล่วงไปด้วยดีและรวดเร็ว
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94