Page 90 - ผลสัมฤทธิ์ของการบูรณาการงานในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำเข็ก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 90

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        59







                                      3)  การขัดแย้งในกฎหมาย พระราชบัญญัติ หรือ มติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับ
                       ที่ดิน ท าให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความยุ่งยากสับสน ควรมีการแก้ไขกฎหมาย หรือก าหนดขอบเขตเสียใหม่
                       ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงในปัจจุบัน

                                      4) งบประมาณกระจัดกระจาย การกระจายงบประมาณไปตามหน่วยงานต่างๆ หรือ
                       เพื่อเหตุผลบางประการ ท าให้ผลงานที่ได้รับไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่าง
                       เหมาะสม หากรัฐมีนโยบายในการใช้งบประมาณให้ได้ผลที่ดีขึ้นกว่านี้ คาดว่าผลที่ได้รับจะมีประโยชน์
                       มากขึ้น

                              3.2.5 ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ (เฉลียว แจ้งไพร, 2534)
                                      พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตร มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละกิจการแตกต่าง
                       กัน แม้ว่าจะใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเดียวกับในดินแต่ละชนิด และยังมีข้อก าจัดแตกต่างย่อยออกไปอีก
                       ในปัจจุบันพบว่า เกษตรกรในหลายท้องที่ใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสม กับศักยภาพในการใช้

                       ประโยชน์ของที่ดินนั้น ๆ ท าให้ได้ผลผลิตไม่คุ้มกับการลงทุนพื้นที่เดิม ที่เคยใช้ท าการเกษตรเสื่อม
                       โทรมลง มีการกัดกร่อนพังทลายสูง จนไม่สามารถท าการเกษตรได้อีก ก่อให้เกิดปัญหาการละทิ้งถิ่น
                       ฐาน ไปบุกรุกท าลายป่าหาที่ท ากินต่อไป นอกจากนั้น การใช้ประโยชน์ที่ดินยังคงอาศัยแต่น้ าฝนเพียง

                       อย่างเดียว ในช่วง 5 - 6 เดือนต่อปีเท่านั้น เวลาที่เหลือดินจะถูกปล่อยทิ้งไว้ว่างเปล่า นอกจากบริเวณ
                       ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ า หรือมีระบบการชลประทานเท่านั้น นับว่าเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เต็มที่ เพราะ
                       บางแห่งดินยังพอมีความชื้น ที่สามารถปลูกพืชได้อีก เพียงแต่ว่าต้องมีการศึกษาถึงความต้องการใน
                       การใช้น้ าของพืช และมีการจัดระบบปลูกพืชที่เหมาะสมปัญหาดังกล่าวเกิดจากสาเหตุหลายประการ
                       เช่น

                                      1) ความกดดันในเรื่องพื้นที่ที่ท ากิน เกษตรกรจึงไม่สามารถเลือกใช้เฉพาะแต่บริเวณ
                       ที่มีศักยภาพทางการเกษตร
                                      2)  ขาดความรู้ความเข้าใจ ในการเลือกพื้นที่เพาะปลูกให้เหมาะสมกับชนิดของพืช

                       ที่ปลูก
                                      3)  ไม่มีการก าหนดเขตของการวางแผนการใช้ที่ดินของรัฐ พร้อมทั้งมีกฎหมายหรือ
                       มาตรการควบคุมและป้องกันที่ได้ผล


                       3.3 แผนการใช้ดินของประเทศไทย
                              การวางแผนการใช้ที่ดินมีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ที่ดิน แผนการใช้ที่ดิน
                       น าไปใช้ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในหน่วยหรือขอบเขตการปกครอง เช่น ต าบล อ าเภอ จังหวัด ภาค ประเทศ
                       เป็นต้น และบางกรณีอาจเป็นแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ า การที่จะได้แผนการใช้ที่ดินออกมาจะต้อง

                       ผ่านการประเมินค่าทรัพยากรต่างๆ ที่เกี่ยงข้องกับที่ดิน ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นย าของสภาพการใช้ที่ดิน
                       ในปัจจุบันมีความจ าเป็นอย่างยิ่งในการใช้แผนการใช้ที่ดินเพื่อที่จะน าข้อมูลเหล่านี้น ามาวิเคราะห์ชี้บ่ง
                       ศักยภาพการใช้ที่ดินในสถานภาพที่แท้จริง (เฉลียว แจ้งไพร, 2533)
                              แผนการใช้ที่ดินของประเทศไทยก็ได้ด าเนินการตามขั้นตอน คือ มีการประเมินค่าที่ดินทาง

                       กายภาพแล้วน าเอาข้อมูลทางเศรษฐกิจสังคมมาเปรียบเทียบเพื่อยืนยันให้เห็นผลตอบแทนที่ให้
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95