Page 17 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            7


                           (1) พื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1A ได้แก่ พื้นที่ต้นน้ าล าธารที่ยังมีสภาพป่าสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2525 ส าหรับ
               ลุ่มน้ าปิง วัง ยม น่าน ชี มูล และลุ่มน้ าภาคใต้ ปี พ.ศ. 2528 ส าหรับลุ่มน้ าภาคตะวันออก และปี พ.ศ. 2531

               ส าหรับลุ่มน้ าตะวันตก ภาคกลาง ลุ่มน้ าป่าสัก ลุ่มน้ าภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ และส่วนอื่นๆ
               (ลุ่มน้ าชายแดน)
                           (2) พื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1B เป็นพื้นที่ที่สภาพป่าส่วนใหญ่ได้ถูกท าลาย ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงเพื่อ
               การพัฒนาหรือการใช้ที่ดินรูปแบบอื่นก่อน พ.ศ. 2525

                        2) พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ าชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ าที่มีความเหมาะสมต่อการเป็นต้นน้ าล าธารในระดับ
               รองจากลุ่มน้ าชั้นที่ 1 สามารถน าพื้นที่ลุ่มน้ าชั้นนี้ไปใช้เพื่อประโยชน์ที่ส าคัญอย่างอื่นได้ เช่น การท าเหมืองแร่ เป็น
               ต้น
                        3) พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ าชั้นที่ 3 เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ าที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งกิจกรรมการท าไม้

               เหมืองแร่ และการปลูกพืชกสิกรรมประเภทไม้ยืนต้น
                        4) พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ าชั้นที่ 4 เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ าที่สภาพป่าถูกบุกรุกแผ้วถางเป็นที่ใช้ประโยชน์
               เพื่อกิจการพืชไร่เป็นส่วนมาก
                        5) พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ าชั้นที่ 5 เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ าที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบหรือที่ลุ่มหรือเนินลาดเอียง

               เล็กน้อย และส่วนใหญ่ป่าไม้ได้ถูกบุกรุกแผ้วถางเพื่อประโยชน์ด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะการท านาและกิจการ
               อื่นไปแล้ว


                  3.4 พื นที่สูง
                     พื้นที่สูงในปัจจุบันมีความส าคัญต่อมนุษย์มาก ทั้งในด้านการใช้ท าเกษตรกรรม สถานที่ท่องเที่ยว และแหล่ง
               ต้นน้ าล าธาร ปัจจุบันมีการใช้พื้นที่สูงเพื่อท าการเกษตรเป็นจ านวนมาก ซึ่งท าให้เกิดความเสื่อมโทรมกับดินในพื้นที่สูง

               เองจากการกร่อนดินที่เกิดขึ้นง่ายและรุนแรง และยังก่อให้เกิดความเสียหายสู่พื้นที่ต่ าที่อยู่ในตอนล่าง เช่น เกิดน้ า

               ท่วม ดินถล่ม ท าให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน (พิบูลย์, 2549) โดยส่วนใหญ่พื้นที่สูงจะเป็นพื้นที่ป่าไม้
               ซึ่งการบุกรุกท าลายป่าเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวจะมีผลต่อสมดุลน้ า และเกิดความเสื่อมโทรมทั้งสมบัติ

               ทางกายภาพ และเคมีของดิน (บรรณพิชญ์, 2551)
                     พื นที่สูง (highland) ราชบัณฑิตยสถาน (2523) ให้ค าจ ากัดความไว้ว่า พื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นจากบริเวณรอบๆ

               ตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไป เป็นบริเวณที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน
               (กองส ารวจดิน, 2529) แต่จากรายงานผลการสัมมนาการเกษตรภาคเหนือ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2524)
               ได้ก าหนดให้พื้นที่สูงเป็นพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 700 เมตรขึ้นไป เนื่องจากมีลักษณะเด่นของ
               พื้นที่ คือ

                        1) สภาพพื้นที่ที่สูงจากระดับทะเลปานกลางตั้งแต่ 700 เมตร โดยระดับความสูงนี้เป็นจุดที่ผิวหน้า
               ภูมิประเทศที่มีลักษณะโค้งเว้า (concave) จากอิทธิพลการกร่อนโดยน้ าเริ่มเปลี่ยนเป็นโค้งนูน (convex)
                        2) พื้นที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ แทบทั้งสิ้น
                        3) ดินมีความชื้นเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากอิทธิพลของฝนและความชื้นของดินตอนบน

                        4) ดินมีพัฒนาการค่อนข้างสูง
                     วิชา (2530) ได้ก าหนดว่าพื้นที่สูง เริ่มจากความสูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 800 เมตรขึ้นไป โดย
               ให้เหตุผลดังนี้
                        1) ลักษณะของดินมีพัฒนาการค่อนข้างสูง

                        2) พื้นที่มีความลาดชันสูงมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ และเปลี่ยนจากโค้งเว้าเป็นโค้งนูน
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22