Page 19 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            9


               ในเบื้องต้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการก าหนดพื้นที่ที่จะพัฒนา หรือเพื่อศึกษาในรายละเอียดต่อไป แผนที่ที่ใช้
               ในการส ารวจดินมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:40,000 ถึง 1:100,000 แผนที่ดินที่พิมพ์ออกเผยแพร่มีมาตราส่วน

               อยู่ระหว่าง 1:50,000 ถึง 1:100,000 ขอบเขตของดินอาศัยการแปลรูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม
               ประกอบกับการตรวจสอบดินในสนาม โดยระยะและปริมาณจุดที่ตรวจสอบดินจะมากกว่าการส ารวจดิน
               แบบหยาบ โดยก าหนดไว้ประมาณ 1-2 ตารางกิโลเมตร ต่อ 1 จุดตรวจสอบดิน (625-1,250 ไร่/1 จุด)
                        4) การส ารวจดินแบบค่อนข้างละเอียด (semi-detailed survey) เป็นการส ารวจดินเพื่อใช้ข้อมูลในการ

               วางแผนระดับอ าเภอหรือโครงการขนาดกลาง เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนาและวางแนวทาง
               การปฏิบัติงาน แผนที่ที่ใช้ในการส ารวจดินมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:20,000 ถึง 1:50,000 แผนที่ดินที่พิมพ์
               ออกเผยแพร่ มีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:25,000 ถึง 1:60,000 ขอบเขตของดินอาศัยการแปลรูปถ่ายทางอากาศและ
               ภาพจากดาวเทียม ประกอบกับการตรวจสอบดินในสนาม โดยระยะและปริมาณจุดที่ตรวจสอบดินจะมากกว่าการ

               ส ารวจดินแบบค่อนข้างหยาบ โดยก าหนดไว้ประมาณหนึ่งตารางกิโลเมตรต่อ 4-6 จุดตรวจสอบดิน (100-150 ไร่/1 จุด)
                        5) การส ารวจดินแบบละเอียด (detailed survey) เป็นการส ารวจดินในระดับไร่นา หรือในพื้นที่
               โครงการขนาดเล็ก ที่ต้องการการพัฒนาอย่างประณีต สามารถจัดท าแผนการจัดการที่ดินที่สามารถน าไปปฏิบัติ
               จริงในพื้นที่ได้ ดังนั้นจ าเป็นต้องมีการบันทึกข้อมูลที่ค่อนข้างละเอียดกว่าระดับการส ารวจดินที่ผ่านมาและมีการ

               ตรวจสอบขอบเขตของดินให้มีความถูกต้องมาก แผนที่ที่ใช้ในการส ารวจดินในสนามมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง
               1:5,000 ถึง 1:30,000 แผนที่ดินที่พิมพ์ออกเผยแพร่มีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:10,000 ถึง 1:30,000 หรือ
               มาตราส่วนใหญ่กว่า ขอบเขตของดินจะเน้นการตรวจสอบดินในสนามให้มากขึ้น แต่จะอาศัยรูปถ่ายทางอากาศ

               และภาพจากดาวเทียมช่วยในการเขียนขอบเขตดิน ระยะในการตรวจสอบสมบัติของดินไม่ควรห่างกันเกิน
               250 เมตรต่อหนึ่งจุด (50-80 ไร่/1จุด)
                        6) การส ารวจดินแบบละเอียดมาก (very detailed survey) เป็นการส ารวจดินในพื้นที่ที่ใช้ใน
               การศึกษาวิจัย การท าแปลงทดลองที่ต้องการข้อมูลที่มีความถูกต้องแม่นย า และมีความละเอียดเป็นพิเศษ รวมถึง
               ความถูกต้องของขอบเขตดิน และจ าเป็นต้องมีการเก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์ด้วย แผนที่ที่ใช้ในการส ารวจดินใน

               สนามมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:2,000 ถึง 1:10,000 แผนที่ดินที่พิมพ์ออกเผยแพร่มีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง
               1:5,000 ถึง 1:10,000 หรือมาตราส่วนใหญ่กว่า ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ที่ท าการส ารวจ ขอบเขตของดินจะเน้น
               การตรวจสอบดินในสนามให้มากขึ้น แต่จะอาศัยรูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมช่วยในการเขียน

               ขอบเขตดิน ระยะในการตรวจสอบสมบัติของดินไม่ควรห่างกันเกิน 100 เมตรต่อหนึ่งจุด (3-10 ไร่/1 จุด)
                     สัณฐานวิทยาดิน (soil morphology) หมายถึง วิชาที่ศึกษาถึงลักษณะ รูปร่างของหน้าตัดดิน เช่น สีดิน
               จุดประ เนื้อดิน โครงสร้างดิน การยึดตัวของดิน คราบดินเหนียว วัตถุต้นก าเนิดดิน การเรียงตัวของชั้นดิน
               ซึ่งสามารถสังเกตและตรวจสอบได้ทั้งในสนามและห้องปฏิบัติการ (คณะกรรมการจัดท าพจนานุกรมปฐพีวิทยา,

               2551)
                     การจ าแนกดิน (soil classification) หมายถึง การจัดดินเป็นกลุ่มหรือเป็นขั้นการจ าแนกอย่างมีระบบ
               บนพื้นฐานลักษณะเฉพาะของดินนั้น การจัดดินเป็นกลุ่มแบบกว้างๆ จะใช้สมบัติเฉพาะทั่วๆ ไป เมื่อแบ่งย่อยลงไป
               จะใช้สมบัติที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น (คณะกรรมการจัดท าพจนานุกรมปฐพีวิทยา, 2551)

                     อนุกรมวิธานดิน (soil taxonomy) เป็นระบบการจ าแนกดินของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (United
               States Department of Agriculture) ที่ใช้สมบัติของดินซึ่งเป็นลักษณะประจ าตัวของดินเป็นพื้นฐานในการจ าแนก
               มีเกณฑ์เชิงปริมาณที่ตรวจสอบได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และให้ชื่อดินที่มีลักษณะเฉพาะ (คณะกรรมการจัดท า
               พจนานุกรมปฐพีวิทยา, 2551) ซึ่งเป็นระบบหนึ่งของการจ าแนกดินที่มีความละเอียด และมีหลักการเชิงวิทยาศาสตร์

               มากที่สุด และเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ทางดินในประเทศไทยใช้ในการจ าแนกดิน (เอิบ, 2548)
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24