Page 20 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          10


                     อนุกรมวิธานดินเป็นระบบการจ าแนกดินแบบหลายขั้น (multicategorical classification system) และ
               แบ่งกลุ่มของชั้นต่างๆ ออกเป็นขั้นสูงและขั้นต่ าตามกฎเกณฑ์ โดยในการจ าแนกขั้นสูงนั้นจะใช้ข้อจ ากัดเด่นที่

               ครอบคลุมลักษณะปลีกย่อยในชั้นของการจ าแนกขั้นต่ าไว้อย่างชัดเจน ขั้นการจ าแนกทั้งหมดในระบบมีอยู่ 6 ขั้น
               โครงสร้างของระบบหรือความเกี่ยวข้องกันของขั้นการจ าแนกจากขั้นสูงไปจนถึงขั้นต่ าตามล าดับ คือ

                     ขั นของการจ าแนกขั นสูง (higher categories)

                           อันดับ (order)
                              อันดับย่อย (suborder)
                                กลุ่มดินใหญ่ (great group)
                                      กลุ่มดินย่อย (subgroup)


                     ขั นของการจ าแนกขั นต่ า (lower categories)
                           วงศ์ดิน (family)
                              ชุดดิน (series)


                     ระบอบความชื นดิน (soil moisture regime) สภาพความชื้นดินพิจารณาจากการมีหรือไม่มีน้ าใต้ดิน หรือ
               น้ าในชั้นใดชั้นหนึ่งในดินที่ถูกยึดไว้ด้วยแรงน้อยกว่า 1,500 กิโลพาสคัล ในช่วงควบคุมความชื้น ซึ่งสามารถให้พืช

               เติบโตได้ตามธรรมชาติ (คณะกรรมการจัดท าพจนานุกรมปฐพีวิทยา, 2551) เท่าที่พบในประเทศไทยมี 3 ประเภท
               (ส านักส ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน, 2557) ดังนี้
                        1) ระบอบความชื้นเอควิก (aquic moisture regime) เป็นสภาพความชื้นที่ดินอิ่มตัวด้วยน้ าเป็นระยะ
               เวลานานจนเกือบไม่มีออกซิเจนที่ละลายน้ าอยู่เลย เกิดสภาพรีดักชันขึ้นในดินอาจเกิดจากการอิ่มตัวด้วยน้ าใต้ดิน
               หรือน้ าในชั้นดินอิ่มตัวแคพิลลารี (capillary fringe)

                        2) ระบอบความชื้นยูดิก (udic moisture regime) ความชื้นดินในส่วนใดส่วนหนึ่งของช่วงควบคุมจะไม่
               แห้งในส่วนใดส่วนหนึ่งนานถึง 90 วันนับสะสมของปีปกติ ถ้าอุณหภูมิดินเฉลี่ยตลอดทั้งปีต่ ากว่า 22 องศาเซลเซียส
               และความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิดินเฉลี่ยของฤดูร้อนกับฤดูหนาวเท่ากับ 6 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า วัดที่

               ระดับความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน ความชื้นดินในช่วงควบคุมแห้งทั้งหมดทุกส่วนจะต้องน้อยกว่า 45 วัน
                        3) ระบอบความชื้นอัสติก (ustic moisture regime) เป็นเขตดินที่ช่วงควบคุมความชื้นของดินในปีปกติ
               ดินชื้นบางส่วนหรือทุกส่วนมากกว่า 180 วัน และสามารถแห้งได้เป็นบางส่วน หรือทุกส่วน 90 วัน หรือมากกว่า
               นับสะสมหรือมากกว่า 45 วันติดต่อกันของปีปกติ ลักษณะความชื้นดินจะมีความชื้นจ ากัด มีเพียงพอเฉพาะในฤดู

               ปลูกพืชเท่านั้น
                     จากการคาดคะเนระบอบความชื้นในดินเบื้องต้น โดยพิจารณาจากปริมาณน้ าฝน ความสูงจาก
               ระดับน้ าทะเลปานกลาง ร่วมกับการศึกษาของณรงค์ (2545) คาดว่าบริเวณพื้นที่ส่วนขยายผลโครงการ พบระบอบ
               ความชื้นในดินทั้ง 3 ประเภท คือ ระบอบความชื้นแบบอะควิก (aquic soil moisture regime) จะพบในบริเวณ

               ส่วนต่ าของพื้นที่ ใช้ประโยชน์ในการท านา ระบอบความชื้นแบบอัสติก (ustic soil moisture regime) พบใน
               บริเวณพื้นที่มีความสูงจากระดับทะเลน้อยกว่า 1,000 เมตร และระบอบความชื้นแบบยูดิก (udic soil moisture
               regime) พบบริเวณพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ าทะเลมากกว่า 1,000 เมตร
                     ชั นอุณหภูมิดิน (soil temperature regime) จากข้อมูลการก าหนดชั้นอุณหภูมิดินในบริเวณพื้นที่ภูเขา

               ภาคเหนือของประเทศไทยของสุนันท์ (2532) สามารถก าหนดชั้นอุณหภูมิดิน ได้ดังนี้
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25