Page 13 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            3


                        มาตรา 13 เป็นมาตราที่ได้ให้อ านาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยค าแนะน าของ
               คณะกรรมการพัฒนาที่ดินในการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่ที่มีความลาดชัน เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม

               เนื่องจากการกร่อนดินส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของดิน จากการศึกษาของกรมพัฒนาที่ดินในปี พ.ศ. 2545 พบว่า
               ทั่วประเทศมีเนื้อที่ที่มีปัญหาการกร่อนดินอยู่ในภาคต่างๆ ประมาณรวม 108.88 ล้านไร่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2554)
                     มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 ได้บัญญัติไว้ดังนี้ ในกรณีที่ปรากฏว่าบริเวณพื้นที่ใด
               มีลักษณะเป็นพื้นที่ลาดชันเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดินหรือเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม อันเกิดจากการกระท า

               ของผู้เข้าไปครอบครองท าผลประโยชน์ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวโดยไม่เหมาะสม หรืออาจเกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ
               หากปล่อยไว้ไม่ด าเนินการจะเกิดการชะล้างพังทลายของดินอย่างรุนแรงจนถึงขั้นเกิดดินถล่ม สร้างความสูญเสีย
               แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ให้รัฐมนตรีโดยค าแนะน าของคณะกรรมการมีอ านาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
               ก าหนดให้พื้นที่นั้นเป็นเขตอนุรักษ์ดินและน้ า และให้มีแผนที่แนบท้ายประกาศด้วย แผนที่ดังกล่าวให้ถือเป็น

               ส่วนหนึ่งแห่งประกาศ ส าหรับขั้นตอนการด าเนินการนั้นแสดงในตารางที่ 1 นอกจากนี้ยังมีมาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง
               คือ มาครา 15 และมาตรา 17
                     มาตรา 15 เป็นมาตราที่ก าหนดมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าเพื่อลดการกร่อนดินและป้องกันการเกิดดินถล่ม
               โดยการใช้มาตรการวิธีกล และมาตรการวิธีพืช หรือมาตรการอื่นใดที่เหมาะสม

                     มาตรา 17 เป็นมาตราที่ก าหนดถึงเรื่องการประกาศเขตส ารวจที่ดินเพื่อประโยชน์ในการส ารวจความ
               อุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติ และความเหมาะสมแก่การใช้ที่ดิน ซึ่งขั้นตอนในการด าเนินการนั้นจะแสดง
               ตารางที่ 2


               ตารางที่ 1 ขั้นตอนการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า

                              ขั นตอนการด าเนินการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน  า (มาตราส่วน 1:4,000)
                    1. ส ารวจเพื่อก าหนดเขตอนุรักษ์ดินและน้ า
                    2. วิเคราะห์ ก าหนดเขตอนุรักษ์ดินและน้ าฉบับร่าง

                    3. ประชุมคณะท างานในท้องที่ด าเนินการ พิจารณาร่างประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า
                    4. ประชุมรับฟังความเห็นของประชาชน
                    5. ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัด
                    6. ท าเอกสารร่างประกาศและแผนที่เขตอนุรักษ์ดินและน้ า

                    7. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน
                    8. เสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อให้รัฐมนตรีฯ ลงนามในประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า
                    9. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                    10. แจ้งให้ส่วนราชการ และประกาศให้ประชาชนในพื้นที่ทราบ



               ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน (2554)
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18