Page 22 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          12


                     ประเภทดิน (soil phase) เป็นลักษณะและสมบัติของดิน หรือสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์
               ที่ดินและการจัดการดิน จะใช้ประกอบเพิ่มเติมจากหน่วยจ าแนกดินระดับต่างๆ ที่ใช้เป็นหน่วยแผนที่ดิน เพื่อแสดง

               รายละเอียดและให้มีความหมายมากขึ้นกว่าหน่วยจ าแนกดิน โดยเฉพาะการส ารวจดินระดับค่อนข้างละเอียดถึง
               ละเอียดมาก เพื่อการวางแผนในระดับโครงการระดับไร่นาจนถึงการศึกษาวิจัย หน่วยแผนที่ดินและข้อมูลดิน
               จ าเป็นต้องมีรายละเอียดมากพอที่จะสามารถบ่งบอกถึงสภาพปัญหาของดินในพื้นที่ และแนวทางการจัดการดิน
               ที่สามารถน าไปปฏิบัติได้ (ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2551) ชนิดของประเภทดินที่พบและคาดว่า

               จะพบในประเทศไทย ได้แก่
                        1) เนื้อดินบน (surface texture) เนื้อดินตอนบนที่มีขนาดเล็กกว่า 2 มิลลิเมตร เฉลี่ยตั้งแต่ผิวดินจนถึง
               ความลึก 25 เซนติเมตร หรือถึงแนวสัมผัสแข็งหรือกึ่งแข็งถ้าตื้นกว่าดินตอนบนมีความส าคัญต่อการเจริญเติบโต
               ของรากพืช โดยทั่วไปมีความเหมาะสมส าหรับพืชทั้งกายภาพ เคมีและชีวภาพมากกว่าดินในชั้นอื่นๆ เป็นแหล่ง

               สะสมธาตุอาหาร น้ าและสิ่งมีชีวิตในดิน แบ่งออกเป็น 12 ชั้น ได้แก่ ดินทราย (s: sand) ดินทรายปนดินร่วน
               (ls: loamy sand) ดินร่วนปนทราย (sl: sandy loam) ดินทรายแป้ง (si: silt) ดินร่วนปนทรายแป้ง (sil: silt loam)
               ดินร่วน (l: loam) ดินร่วนเหนียวปนทราย (scl: sandy clay loam) ดินร่วนปนดินเหนียว (cl: clay loam)
               ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง (sicl: slity clay loam) ดินเหนียวปนทรายแป้ง (sic: silty clay) ดินเหนียวปนทราย

               (sc: sandy clay) และดินเหนียว (c: clay)
                        2) ชิ้นส่วนเนื้อหยาบ (coarse fragments) ชิ้นส่วนที่มีขนาด 2 มิลลิเมตรหรือใหญ่กว่า ที่ปะปนอยู่ใน
               เนื้อดินตามชั้นดินต่างๆ และที่กระจัดกระจายบนผิวดิน ซึ่งจะกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ปริมาณความชื้น

               ธาตุอาหาร การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวและการใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรกล พิจารณาได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
                           (1) ชิ้นส่วนหยาบที่อยู่ปะปนกับเนื้อดินภายในชั้นดิน ใช้พิจารณาร่วมกับเนื้อดินที่มีขนาดเล็กกว่า
               2 มิลลิเมตร มีหน่วยเป็นร้อยละโดยปริมาตร โดยเป็นค าคุณศัพท์ขยายเนื้อดิน แบ่งออกเป็น 5 ชั้น (ตารางที่ 3)

               ตารางที่ 3 ชั้นของก้อนกรวด เศษหินหรือลูกรัง


                                                                                  ปริมาณก้อนกรวด
                                   ชื่อชั น                    ตัวย่อ
                                                                                 (ร้อยละโดยปริมาตร)
               ไม่มีกรวด (non gravelly)                          -                       <5

               ปนกรวดเล็กน้อย (slightly gravelly)                sg                    5-<15
               ปนกรวด (gravelly)                                 g                     15-<35
               ปนกรวดมาก (very gravelly)                         vg                    35-<60

               ปนกรวดมากที่สุด (extremely gravelly)              xg                    60-<90

                           (2) ชิ้นส่วนเนื้อหยาบกระจัดกระจายบนผิวดิน โดยพิจารณาวัสดุที่มีขนาด 2-≥600 มิลลิเมตร ได้แก่
               ก้อนหินมนเล็ก (cobble) ก้อนหิน (stone) และก้อนหินมนใหญ่ (boulder) มีหน่วยวัดเป็นร้อยละของพื้นที่

               แบ่งออกเป็น 6 ชั้น (ตารางที่ 4)
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27