Page 18 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            8


                        3) เริ่มมีการแสดงถึงความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติของข้อมูลลักษณะทางอากาศที่ส าคัญ
               เช่น ปริมาณฝนที่ตกเพิ่มขึ้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่สูงขึ้น อุณหภูมิของอากาศที่ลดต่ าลง ความเร็วลมที่มากขึ้น

               และการระเหยน้ าที่ลดลงจากพื้นที่ที่ต่ ากว่า
                        4) ลักษณะของป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมจะเริ่มมีการเปลี่ยนจากป่าผลัดใบเป็นป่าไม่ผลัดใบ
                        จากค านิยามข้างต้นท าให้มีค านิยามของพื้นที่สูงแตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
               ในการศึกษาครั้งนี้ได้ก าหนดให้พื้นที่สูงนั้นเป็นพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 700 เมตรขึ้นไป


                  3.5 การส ารวจดิน
                     ดิน (soil) หมายถึง อินทรียวัตถุและอนินทรียวัตถุที่ไม่จับตัวแข็งเป็นหิน ซึ่งปกคลุมพื้นผิวโลก เป็นตัวกลาง
               ธรรมชาติส าหรับการเจริญเติบโตของพืช หรืออินทรียวัตถุและอนินทรียวัตถุที่ไม่จับตัวแข็งเป็นหินซึ่งปกคลุม

               พื้นผิวโลก ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยด้านการก าเนิดและสภาพแวดล้อม ได้แก่ ภูมิอากาศ สิ่งมีชีวิต (พืชและสัตว์) สภาพ
               ภูมิประเทศ วัตถุต้นก าเนิด และระยะเวลา (คณะกรรมการจัดท าพจนานุกรมปฐพีวิทยา, 2551) ท าให้เกิดดินที่
               คล้ายคลึงหรือแตกต่างกันหลายชนิดปกคลุมพื้นผิวโลกอยู่เป็นชั้นบางๆ เป็นที่ยึดเหนี่ยวเจริญเติบโตและให้ผลผลิต
               ของพืช รวมถึงเป็นแหล่งอาหาร น้ า และอากาศแก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในดินและบนดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557)

                     ธรณีวิทยา (geology) หมายถึง วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติของสสารที่เป็นองค์ประกอบ
               ของโลกและสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปรากฏร่องรอยอยู่ในหินต่างๆ ธรณีวิทยามี 3 สาขาหลักคือ
               ธรณีวิทยาโครงสร้างหรือธรณีแปรสัณฐาน ธรณีวิทยาพลวัตและธรณีวิทยาประวัติ (คณะกรรมการจัดท า

               พจนานุกรมปฐพีวิทยา, 2551)
                     การส ารวจดิน (soil survey) หมายถึง การส ารวจหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของดิน ตลอดจนสภาพแวดล้อม
               โดยวิธีการทางสนามและห้องปฏิบัติการแล้วน ามาบันทึกในรูปของแผนที่และรายงาน ข้อมูลและข้อสนเทศต่างๆ
               ที่ได้มาจากการส ารวจดินนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่นักวิทยาศาสตร์ทุกคนยอมรับว่าสามารถน าเอาไปใช้ในกิจกรรม
               สาขาต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการเกษตรกรรม (ภูษิต, 2551) ส าหรับประเทศไทย

               ได้แบ่งการส ารวจและท าแผนที่ดินออกเป็น 6 ระดับ (ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2547) คือ
                        1) การส ารวจดินแบบหยาบมากหรือแบบกว้าง (exploratory survey) เป็นการส ารวจดินเพื่อใช้ข้อมูล
               ในการวางแผนระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการศึกษาขั้นละเอียดต่อไป

               แผนที่ที่ใช้ในการส ารวจดินภาคสนาม มีมาตราส่วน 1:250,000 ถึง 1:1,000,000 แผนที่ดินที่พิมพ์ออกเผยแพร่
               มีมาตราส่วน 1:1,000,000 หรือมาตราส่วนเล็กกว่า ขอบเขตของดินแต่ละหน่วยที่แสดงไว้ในแผนที่ดิน อาศัย
               การแปลรูปถ่ายทางอากาศหรือภาพจากดาวเทียม โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานและปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดิน
               เป็นแนวทาง เช่น ข้อมูลทางธรณีวิทยา ธรณีสัณฐานวิทยา พืชพรรณและการใช้ประโยชน์ที่ดิน สภาพภูมิอากาศ

               ประกอบกับการตรวจสอบดินในสนามเป็นบางจุด โดยทั่วไปจะเป็นไปในแนวตัดขวางกับสภาพพื้นที่และธรณีวิทยา
                        2) การส ารวจดินแบบหยาบ (reconnaissance survey) เป็นการส ารวจดิน เพื่อใช้ข้อมูลในการวางแผน
               ระดับภาคหรือระดับประเทศ เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนา และใช้เป็นแนวทางในการวางแผน
               การศึกษาขั้นละเอียดต่อไป แผนที่ที่ใช้ในการส ารวจดินในสนามมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:75,000 ถึง 1:200,000

               แผนที่ดินที่พิมพ์ออกเผยแพร่มีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:100,000 ถึง 1:500,000 ขอบเขตของดินอาศัยการแปล
               รูปถ่ายทางอากาศหรือภาพจากดาวเทียม ประกอบกับการตรวจสอบดินในสนามในแนวตัดขวางกับสภาพพื้นที่และ
               ธรณีวิทยา โดยระยะและปริมาณจุดที่ตรวจสอบดินจะมากกว่าการส ารวจดินแบบหยาบมาก โดยก าหนดไว้
               ประมาณ 12.5 ตารางกิโลเมตร ต่อ 1 จุดตรวจสอบดิน (8,000 ไร่/1 จุด)

                        3) การส ารวจดินแบบค่อนข้างหยาบ (detailed reconnaissance survey) เป็นการส ารวจดินเพื่อใช้
               ข้อมูลในการวางแผนระดับจังหวัดหรือโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนา
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23