Page 21 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          11


                        1) บริเวณพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางระหว่าง 1,045-2,420 เมตร จะมีชั้นอุณหภูมิดิน
               thermic ซึ่งหมายถึง อุณหภูมิเฉลี่ยในรอบปีอยู่ระหว่าง 15-22 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของอุณหภูมิดิน

               ระหว่างฤดูร้อน (เมษายน-พฤษภาคม) และฤดูหนาว (พฤศจิกายน-มกราคม) มากกว่า 5 องศาเซลเซียส
                        2) บริเวณพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางระหว่าง 360-1,045 เมตร จะมีชั้นอุณหภูมิดิน
               hyperthermic ซึ่งหมายถึง อุณหภูมิเฉลี่ยในรอบปีสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของอุณหภูมิดิน
               ระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวมากกว่า 5 องศาเซลเซียส

                        3) บริเวณพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางน้อยกว่า 360 เมตร ซึ่งพบในพื้นที่ส่วนใหญ่
               ของประเทศไทย จะมีชั้นอุณหภูมิดิน isohyperthermic ซึ่งหมายถึง อุณหภูมิเฉลี่ยในรอบปีสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส
               และความแตกต่างของอุณหภูมิดินระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวไม่มากกว่า 5 องศาเซลเซียส
                        นอกจากนี้ปรีชาและอิศรา (2534) ได้ศึกษาเขตอุณหภูมิดินที่ใช้ในระบบการจ าแนกดินในประเทศไทย

               พบว่า
                        1) บริเวณพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางมากว่า 2,300 เมตร จะมีชั้นอุณหภูมิดิน Mesic
               ซึ่งหมายถึง อุณหภูมิเฉลี่ยในรอบปีสูงกว่า 8 องศาเซลเซียส แต่จะต่ ากว่า 15 องศาเซลเซียส และความแตกต่าง
               ของอุณหภูมิดินระหว่างฤดูร้อน (เมษายน-พฤษภาคม) และฤดูหนาว (พฤศจิกายน-มกราคม) มากกว่า 5 องศาเซลเซียส

               ซึ่งคาดว่าเป็นพื้นที่เล็กๆ อยู่บนดอยอินทนนท์
                        2) บริเวณพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางระหว่าง 1,100-2,300 เมตร จะมีชั้นอุณหภูมิดิน
               thermic ซึ่งหมายถึง อุณหภูมิเฉลี่ยในรอบปีสูงกว่า 15 องศาเซลเซียส แต่ต่ าว่า 22 องศาเซลเซียส และความแตกต่าง

               ของอุณหภูมิดินระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวมากกว่า 5 องศาเซลเซียส
                        3) บริเวณพื้นที่ที่มีชั้นอุณหภูมิดิน hyperthermic ซึ่งหมายถึง อุณหภูมิเฉลี่ยในรอบปีสูงกว่า
               22 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของอุณหภูมิดินระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวมากกว่า 5 องศาเซลเซียส
               แจกกระจายอยู่บางบริเวณของพื้นที่ภูเขาในภาตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคตะวันตก
                        4) บริเวณพื้นที่มีชั้นอุณหภูมิดิน isohyperthermic ซึ่งหมายถึง อุณหภูมิเฉลี่ยในรอบปีสูงกว่าหรือเท่ากับ

               22 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของอุณหภูมิดินระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวไม่มากกว่า 5 องศาเซลเซียส
               จะแจกกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศ
                     ปัจจุบันชั้นอุณหภูมิดินโดยการจ าแนกตามระบบอนุกรมวิธานดิน 2014 (soil survey staff, 2014) ได้เปลี่ยน

               ความแตกต่างของอุณหภูมิดินระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวขึ้นใหม่ โดยใช้ความแตกต่างกันที่ 6 องศาเซลเซียส ท าให้
               ข้อก าหนดในด้านอุณหภูมิดินของประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจนมากนัก
                     ชุดดิน (soil series) เป็นหน่วยในขั้นต่ าสุดของการจ าแนกในระบบอนุกรมวิธานดิน ซึ่งมีข้อจ ากัด พิสัยของ
               ลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดินสม่ าเสมอมากกว่าหน่วยในขั้นอนุกรมวิธานที่สูงกว่าในการจ าแนก ชุดดินอาศัย

               ลักษณะต่างๆ เช่น ความหนาของชั้นดิน การจัดเรียงของชั้นดิน โครงสร้างดิน สีดิน เนื้อดิน ปฏิกิริยาดิน
               การยึดตัวของดิน ปริมาณคาร์บอเนตและเกลือชนิดต่างๆ ฮิวมัส เศษหิน องค์ประกอบของแร่ในดิน วัตถุต้นก าเนิดดิน
               ชุดดินเป็นหน่วยแผนที่ดินที่ใช้แพร่หลายมาก โดยเฉพาะในแผนที่แบบละเอียด ซึ่งส าคัญมากที่ช่วยในการถ่ายทอด
               ข้อมูลดินและงานวิจัยจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การให้ชื่อชุดดิน ใช้ชื่อสถานที่พบครั้งแรก เช่น ชื่อต าบล อ าเภอ

               จังหวัด หรือชื่อของบริเวณที่มีลักษณะเด่นเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย (คณะกรรมการจัดท าพจนานุกรม
               ปฐพีวิทยา, 2551)
                     ดินคล้าย (soil variant) เป็นหน่วยแผนที่ดินที่มีลักษณะเดียวกับหน่วยดินเดี่ยว แต่มีลักษณะแตกต่างจากชุด
               ดินที่เคยก าหนดไว้แล้ว มีลักษณะเด่นชัดพอที่จะก าหนดเป็นชุดดินใหม่ได้ตามระบบการจ าแนกดิน แต่เนื้อที่ที่พบ

               จากการส ารวจยังน้อยกว่า 8 ตารางกิโลเมตร จึงแยกเป็นดินอีกหน่วยหนึ่งโดยให้ชื่อชุดดินที่มีลักษณะใกล้เคียงมาก
               ที่สุดแล้วก ากับด้วยลักษณะที่แตกต่างกับดินที่ให้ชื่อ (คณะกรรมการจัดท าพจนานุกรมปฐพีวิทยา, 2551)
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26