Page 116 - หลักการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในเขตพัฒนาที่ดิน
P. 116

111

                          (4)  การไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับนี้ เปนวิธีการขั้นพื้นฐานในการอนุรักษดินและน้ํา ซึ่ง

                  มาตรการอนุรักษดินและน้ําวิธีการอื่นๆ จะตองอาศัยวีการนี้ เชน การปลูกพืชสลับเปนแถบ การปลูกพืช
                  หมุนเวียน การปลูกพืชแซม การปลูกพืชเหลี่อมฤดู เปนตน

                          (5) ประสิทธิภาพการอนุรักษดินและน้ําจะลดลง เมื่อความลาดเทของพื้นที่เกิน 8 เปอรเซ็นต

                         อยางไรก็ตาม เพื่อใหการไถพรวนมีประสิทธิภาพตอการอนุรักษดินและน้ํา ไดมีการแบงชนิดของ
                  การไถพรวนแบบอนุรักษดิน ไวดังนี้คือ

                          (1) Chisel plow system การไถพรวนดวยไถสิ่วบนพื้นที่ลาดเทจะมีการสูญเสียดินนอยตอการไถ

                  ดวยไถหัวหมู ลักษณะของไถสิ่วจะเปนแผนเหล็กโคงคลายรูปตัวยู ปลายขางหนึ่งจะเชื่อมติดกับแทงเหล็ก

                  สวนปลายขางหนึ่งจะมีลักษณะแหลมสําหรับตะกุยดิน บนแทงเหล็กที่กลาวมานี้จะมีไถสิ่วติดไว 4-6 อัน
                  โดยมีระยะหางๆ กัน การไถดวยไถสิ่วนี้จะทําใหดินที่แนนมีลักษณะรวนซุยขึ้น

                          (2) No-till system ไดแกการปลูกพืชโดยไมมีการไถพรวนดิน แตใชยากําจัดวัชพืชแทน วิธีนี้ใชได

                  ดีกับการปลูกขาวโพดและถั่วเหลือง ประโยชนของการปลูกพืชแบบวิธีนี้ก็คือ ลดการชะลางพังทลายของดิน

                  เศษเหลือของพืชจะเปนวัตถุคลุมดินซึ่งจะชวยลดปริมาณน้ําที่ไหลบา และสลายตัวใหอินทรียวัตถุแกดิน
                  ตอไป นอกจากนี้โครงสรางของดินยังไมถูกทําลายดวย

                          (3) Mulch tillage การไถพรวนโดยปลอยเศษเหลือของพืชอยูที่ผิวดินและใตดิน

                          (4) Minimum tillage เปนการไถพรวนนอยที่สุด คือ ใหมีจํานวนครั้งของการไถพรวนนอยที่สุดใน
                  การเตรียมดินและปลูกพืช โดยมากจะมีการไถพรวน การปลูก และการใสปุย จะกระทําพรอมกันครั้งเดียว

                  เพื่อลดจํานวนครั้งของรถไถที่จะอยูในแปลง โดยใหรถไถอยูในแปลงครั้งเดียว ใหสามารถปฏิบัติไดครบทุก

                  กิจกรรมตอการปลูกพืชหนึ่งครั้ง

                                (5) Subsoiling การไถพรวนทําลายชั้นดินที่แนทึบ (Hard pan) ซึ่งเปนอุปสรรคทําใหน้ําไหลซึมลง
                  ในดินไดชา และจํากัดการเจริญเติบโตของรากพืช การทําลายชั้นดินที่แนทึบ ทําใหน้ําไหลซึมสวนลึกของดิน

                  ไดสะดวกมากขึ้นจึงลดประมาณน้ําไหลบาบนผิวดิน ชวยใหรากพืชชอนไชดูดแรธาตุอาหารและน้ําไดลึก

                  มากขึ้น และทําใหดินลางมีความพรุนมากขึ้น

                           (6) Contour tillage การไถพรวนตามแนวระดับ ถามีการนําวิธีการถพรวนแบบอนุรักษดินตามขอ
                  1-5 มาปฏิบัติรวมดวย ก็จะทําใหการไถพรวนตามแนวระดับมีประสิทธิภาพในการอนุรักษดินและน้ํามากขึ้น

                          11.2.2.  การปลูกพืชสลับเปนแถบ  (Strip cropping system) หมายถึงการปลูกพืชชนิดตางๆ เปน

                  แถบหรือแนวกวางๆ สลับกันไปโดยขวางความลาดเทของพื้นที่ตามแนวระดับหรือไมเปนไปตามแนวระดับ
                  ก็ได ตามปกติแลว การปลูกพืชสลับเปนแถบมักจะประกอบดวยแถบของพืชที่ปลูกชวยอนุรักษดิน ไดแก

                  หญาและพืชคลุม กับแถบของพืชไร ไดแก ขาวโพด ขางฟาง ฝาย มันสําปะหลัง เปนตน หรือเปนการปลูกพืช

                  สลับระหวางแถบของพืชที่ปลูกระยะแคบหรือถี่กับแถบของพืชที่ปลูกระยะกวางหรือหาง วัตถุประสงคของ
                  การปลูกพืชสลับเปนแถบเพื่อลดปริมาณการเคลื่อนยายหนาดิน และลดอัตราการไหลบาของน้ําฝนผานพื้นที่

                  เพาะปลูกตามแนวความลาดเท การปลูกพืชในระบบนี้จะมีประสิทธิภาพดี ก็ตอเมื่อสภาพพื้นที่มีความลาดเท
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121