Page 49 - การจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการพัมนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูงบ้านห้วยแล้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
P. 49

38


                  3.8 การอนุรักษ์ดินและน้ า
                         การอนุรักษ์ดินและน้ า คือ การใช้น้ าหรือการจัดการทรัพยากรดินและน้ าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยป้องกัน

                  การชะล้างการพังทลายของดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สามารถท าการเกษตรได้ตลอดไป การอนุรักษ์ดิน เพื่อ
                  รักษาความสามารถในการผลิตของดินให้ยืนนานและเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยเนื้อที่ดิน จากรายงานของกรมพัฒนา
                  ที่ดินระบุว่าในปี พ.ศ. 2524  มีพื้นที่ดินที่เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายในระดับความรุนแรงมาก มีพื้นที่ 107.69
                  ล้านไร่ พื้นที่ดังกล่าวกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ ที่พบมากที่สุด คือ  บริเวณที่มีความลาดชันทาง

                  ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ที่ถูกบุกรุกถากถางเพื่อ
                  ขยายพื้นที่ท าการเพาะปลูก ในปี พ.ศ. 2538 มีพื้นที่ดินที่เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายเพิ่มขึ้นเป็น 134.54 ล้านไร่
                  ซึ่งพื้นที่จ าเป็นต้องมีการจัดการโดยวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ า
                         วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ า คือ วิธีการที่น ามาใช้ในพื้นที่หนึ่งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยับยั้งหรือชะลออัตราการ

                  ชะล้างพังทลายของดิน โดยอาศัยหลักการส าคัญ คือ เมื่อฝนตกลงมาในที่ใดที่หนึ่งจะพยายามให้มีการเก็บกักน้ าไว้
                  ณ ที่นั้นเพื่อให้น้ าไหลซึมลงไปในดินเป็นประโยชน์แก่พืชที่ปลูก ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ การอนุรักษ์ดินและน้ าโดย
                  ใช้ระบบพืช เป็นวิธีการจัดระบบพืชโดยการผสมผสานกันระหว่างมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าและการจัดการระบบ
                  พืชปลูก เช่น การปลูกพืชเป็นแถบ การปลูกพืชตามแนวระดับ ฯลฯ  และวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ าโดยใช้วิธีกล โดย

                  มุ่งหนักไปในการก่อสร้างสิ่งกีดขวางความลาดชันของพื้นที่  เพื่อสกัดกั้นน้ าไหลบ่าและการพังทลายของดิน การ
                  อนุรักษ์ โดยการวิธีกลนี้เป็นการป้องกันการชะล้างพังทลายได้ทันที แต่เสียค่าใช้จ่ายสูง และในระหว่างก่อสร้างต้อง
                  พิถีพิถันท าให้ดี มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้นไปอีก ซึ่งสามารถท าได้หลายวิธี เช่น การสร้างคันคูรับน้ า

                  รอบเขาแบบที่ 6กั้นน้ า (Terracing)   คูรับน้ ารอบเขาแบบที่ 6 (Hill side ditch)  คันดินเบนน้ า (Diversion)บ่อน้ า
                  ในไร่นา  (การอนุรักษ์ดินและน้ า, 2556)

                  3.9 มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า
                         การอนุรักษ์ดินและน้ า (Soil  and  water  conservation  ) หมายถึง การใช้ทรัพยากรดินและน้ าอย่าง

                  เหมาะสม ด้วยวิธีการที่ชาญฉลาด คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าและมีความยั่งยืน การน ามาตรการอนุรักษ์ดิน
                  ละน้ ามาใช้ นั้น เพื่อป้องกันและรักษาดินไม่ให้ถูกชะล้างพังทลายทั้งบนพื้นที่ที่มีความลาดเทต่ าจนถึงพื้นที่ที่มีความ
                  ลาดเทสูง ปัจจุบันมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่ใช้สามารถแบ่งออกตามลักษณะของมาตรการได้เป็น 2 ประเภท

                  คือ มาตรการวิธีกล (Mechanical measures) และมาตรการวิธีพืช (Vegetative measures) การใช้มาตรการใด
                  ควรพิจารณาลักษณะดิน ลักษณะภูมิประเทศ ปริมาณน้ าฝน ตลอดจนการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเลือกวิธีการ
                  ผสมผสานมาตรการให้เหมาะสมเพื่อให้การท าการเกษตรเกิดความยั่งยืน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2544)
                         มาตรการทางวิธีกล (Mechanical measures) เป็นการควบคุมน้ าไหลบ่าหน้าดิน โดยการสร้างสิ่งกีดขวาง

                  ความลาดเทของพื้นที่และทิศทางการไหลของน้ า ช่วยลดความเร็วของกระแสน้ า เช่น การไถพรวนและปลูกพืชตาม
                  แนวระดับ (Contour cultivation) การยกร่องปิดหัวท้าย (Tied ridging) คันคูรับน้ ารอบเขาแบบที่ 6 (Terracing)
                  ฯลฯ  มาตรการทางพืช (Vegetative measures) เป็นการใช้พืชพวกตระกูลถั่วบ ารุงดิน หญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือ หญ้า
                  ธรรมชาติปลูกเป็นแถบขวางความลาดเทของพื้นที่เพื่อดักตะกอนดินและน้ า และช่วยปรับปรุงบ ารุงดิน เช่น การ

                  ปลูกพืชคลุมดิน (Cover cropping) การคลุมดิน (Mulching ) การปลูกพืชสลับเป็นแถบ (Strip cropping) ฯลฯ
                  (นิวัติ , 2556)
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54