Page 44 - การจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการพัมนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูงบ้านห้วยแล้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
P. 44
33
3.5 การชะล้างพังทลายของดิน
การชะล้างพังทลายของดิน การกัดกร่อนดิน (Soil erosion) หมายถึง กระบวนการแตกกระจาย
(Detachment) และการพัดพาไป (Transportation) ของดินโดยตัวการกัดกร่อน (Erosion agents) ซึ่งได้แก่ น้ า
และลมเป็นส าคัญและสะสมของตะกอน (Decomposition) มักแบ่งการกร่อนดินออกเป็น 2 ประเภท คือ การ
กร่อนดินโดยธรรมชาติ การกร่อนดินที่มีตัวเร่ง การกร่อนดินโดยธรรมชาติ (Natural erosion) หมายถึง การกัด
กร่อนซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยมีน้ าและลมเป็นตัวการ เช่น การชะละลาย แผ่นดินเลื่อน การกร่อนดินโดยลม
ตามชายทะเลหรือในทะเลทราย การกร่อนแบบนี้ป้องกันไม่ได้ เกิดขึ้นตลอดเวลาค่อยเป็นค่อยไปเกิดขึ้นช้ามาก
การกร่อนดินที่มีตัวเร่ง (Accelerated or man-made erotion) หมายถึง การกร่อนดินที่มนุษย์ หรือสัตว์เลี้ยงเข้า
มาช่วยเร่งให้เร็วขึ้นกว่าการกร่อนดินโดยธรรมชาติ ซึ่งเกิดเป็นประจ าอยู่แล้ว เช่น การตัดไม้ท าลายป่า หักล้างถาง
พง ท าการเกษตรอย่างขาดหลักวิชา ท าให้ดินปราศจากสิ่งปกคลุม ท าให้การกัดกร่อนดินโดยลมและฝนพัดพาดินไป
ได้มากขึ้น แต่จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับวิธีการที่ใช้ท าการเกษตร (การกัดกร่อนของดิน, 2556)
การชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย จะมี 4 ลักษณะ ดังนี้
3.5.1 การชะล้างพังทลายที่พื้นผิวดิน (Sheet erosion) เกิดบนพื้นที่ลาดเทเล็กน้อยและ
มีความลาดเทของพื้นที่ค่อนข้างสม่ าเสมอ เมื่อผิวของพื้นที่ดินถูกปะทะโดยเม็ดฝน และเมื่อน้ าไหลบ่าจะเกิดการ
พังทลายของดินลักษณะนี้ จะสังเกตไม่ค่อยเห็นแต่เมื่อเกิดนานๆ เข้าก็จะสังเกตเห็นได้จากการที่มีหินและรากพืช
โผล่บนพื้นผิวดินหรือระดับผิวดินที่เสารั้วต่ าลงมาการชะล้างพังทลายแบบนี้ลึก 1 เซนติเมตร จะสูญเสียดินประมาณ
24 ตันต่อไร่ (ดิน 1 ไร่ ลึก 15 เซนติเมตร หนักประมาณ 360 ตัน)
3.5.2 การชะล้างพังทลายแบบริ้ว (Rill erosion) เป็นการพังทลายของดินที่เกิดเป็นร่องริ้วเล็กๆ
กระจายไปทั่วพื้นที่ความลึกไม่เกิน 8 เซนติเมตร ท าให้ผิวดินขรุขระ แต่เมื่อมีการไถพรวนร่องริ้วบริเวณนี้ก็จะ
หายไป มักเกิดในพื้นที่ที่มีความลาดเทน้อยความลาดเทไม่สม่ าเสมอกันตลอดและตามร่องที่ปลูกพืชตามแนวลาดเท
3.5.3 การชะล้างพังทลายแบบเป็นแนวร่องขนาดใหญ่ (Gully erosion) เกิดในพื้นที่ที่มีความลาด
เทมากและมีระยะของความลาดเทยาว หรือพื้นที่ที่ปลูกพืชตามแนวขึ้นลงของความลาดเทเริ่มแรกจะเกิดการกัด
เซาะของร่องน้ าเป็นร่องขนาดเล็ก เมื่อไม่มีการแก้ไขก็จะกลายเป็นร่องน้ าขนาดใหญ่และลึก ในพื้นที่ที่เป็นดินทราย
จะเกิดการชะล้างพังทลายในลักษณะนี้ได้เร็วมากเมื่อ เกิดฝนตกหนัก
3.5.4 การชะล้างพังทลายของดินริมฝั่งแม่น้ า (Stream erosion) เกิดจากการกัดเซาะของน้ าใน
แม่น้ าล าธารหรือแหล่งน้ าต่างๆ ท าให้ดินริมฝั่งแม่น้ าพังทลายและถูกพัดพาไป แต่ละปีจะเกิดการพังทลายของดินใน
ลักษณะนี้เป็นปริมาณมาก ดินที่ถูกพัดพาไปจะท าให้ล าน้ าและล าธาร ตื้นเขิน ล าน้ าเกิดการเปลี่ยนทิศทางไหล ท า
ให้เกิดน้ าไหลบ่าท่วมชายฝั่ง เป็นต้น (อรทัย, 2543)
ปัจจัยที่ท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน มีทั้งปัจจัยจากกิจกรรม การใช้ที่ดินของมนุษย์ และปัจจัยทาง
ธรรมชาติได้แก่ สภาพอากาศ ปริมาณน้ าฝน ลักษณะภูมิประเทศ ความลาดชันของพื้นที่ ลักษณะพืชพรรณที่ขึ้นปก
คลุมพื้นที่ คุณสมบัติของดินและการจัดการดิน ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้มีผลต่อการสูญเสียอนุภาคของดินจากพื้นที่
เป็นอย่างมาก น้ าฝนและน้ าไหลบ่าหน้าดิน เป็นตัวการที่ส าคัญที่ท าให้เกิดกระบวนการชะล้างพังทลายของดิน ซึ่ง
ความรุนแรงของเม็ดฝนท าให้อนุภาคของดินแตกกระจาย และน้ าไหลบ่าหน้าดินจะเป็นตัวพัดพาเอาอนุภาคของดิน
ที่แตกกระจายออกไปจากพื้นที่ (สมเจตน์, 2522)