Page 45 - การจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการพัมนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูงบ้านห้วยแล้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
P. 45
34
เมื่อมีฝนตก เม็ดฝนจะตกกระทบกับผิวหน้าดินโดยตรง ท าให้เม็ดดินแตกกระจายและถูกพัดพาออกไปจาก
พื้นที่ เมื่อปริมาณน้ าไหลบ่าผิวหน้าดินไหลมารวมตัวกันในปริมาณมากขึ้น น้ าจะไหลออกจากพื้นที่อย่างรวดเร็ว ใน
พื้นที่ที่มีความลาดเทสูงจะท าให้เกิดการกัดเซาะผิวดินเป็นริ้วหรือร่องขนาดใหญ่ ถ้าปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน
อาจท าให้เกิดความเสียหายจนเกิดกระบวนการชะล้างพังทลายของดินในรูปแบบอื่นในระดับที่รุนแรงได้และยากต่อ
การแก้ไข ซึ่งไม่สามารถที่จะป้องกันได้อย่างสิ้นเชิง แต่ก็ต้องหาวิธีที่ท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินให้น้อย
ที่สุด (กรมพัฒนาที่ดิน, 2543)
พืชจะได้รับประโยชน์จากน้ าฝน ที่ไหลลงไปอยู่ในดิน โดยรากพืชดูดขึ้นมาใช้ในการปรุงอาหาร (Photo
synthesis) และการคายน้ าของพืช (Transpiration) นอกจากนี้ลักษณะของฝนที่เป็นประโยชน์ต่อพืช คือ การ
กระจายของฝนที่มีความส าคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชมากกว่าจ านวนน้ าฝน พืชต้องการน้ าฝนสม่ าเสมอและ มี
จ านวนมากพอสมควรในระหว่างการเจริญเติบโต เนื่องจากบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่ต้องอาศัยน้ าฝนเป็นแหล่งน้ าส าหรับ
ท าการเกษตร ประกอบกับลักษณะพื้นที่ที่มีความลาดเท ท าให้พื้นที่ดังกล่าว มีการชะล้างพังทลายได้ง่าย ถ้ามี
ปริมาณน้ าฝนตกมากและตกหนัก จะเป็นลักษณะของฝนที่ท าลายเพราะน้ าฝนหรือแรงปะทะของเม็ดฝนจะ
กระแทกและชะล้างผิวหน้าดินไป เนื่องจากเม็ดฝนที่ตกลงมานั้นมีพลังงานเกิดขึ้น มีมวล (Mass) และความเร็ว
(Velocity) เมื่อตกมากระทบผิวดินก็จะถ่ายทอดพลังงานให้กับผิวดิน แรงตกกระทบของเม็ดฝนท าให้อนุภาคดิน
แตกกระจายถูกน้ าพัดพาออกไปจากพื้นที่นั้น ท าให้สูญเสียปริมาณธาตุอาหารไปด้วย (วิศิษฏ์, 2521)
3.6 ผลกระทบของการชะล้างพังทลายของดิน
ผลกระทบจากการชะล้างพังทลายของดินจะก่อให้เกิดความสูญเสียดังนี้
3.6.1 ท าให้โครงสร้างของดินถูกท าลาย เมื่อเม็ดฝนตกกระทบผิวดิน พลังงานในเม็ดฝนจะ
ก่อให้เกิดแรงตกกระแทก ท าให้อนุภาคของดินที่ผิวหน้าดินแตกกระจาย และกระเด็นออกไปจากพื้นที่ ส่วนดินที่อยู่
ใต้ผิวดินลงไปเล็กน้อยจะได้รับแรงกระแทก ท าให้เนื้อดินแน่นทึบ ปริมาณน้ าจะซึมผ่านชั้นดินได้น้อย
3.6.2 ท าให้เกิดการสูญเสียหน้าดิน เกิดขึ้นจากเม็ดฝนที่ตกกระทบผิวดิน ท าให้อนุภาคของดินที่
จับตัวเป็นก้อนแตกกระจายเป็นอนุภาคเล็กๆ ที่มีน้ าหนักเบา เมื่อไม่สามารถซึมลงผ่านชั้นดินได้จึงสะสมเป็นน้ าไหล
บ่าหน้าดิน พัดพาเอาอนุภาคที่แตกกระจายเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ได้ ง่ายขึ้น ซึ่งการเคลื่อนย้ายดินออกจาก
พื้นที่นี้จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อพื้นที่ดินเดิม
3.6.3 การสูญเสียธาตุอาหารในดินและท าให้ผลผลิตลดลง การชะล้างพังทลายโดยน้ าเป็น
กระบวนการหนึ่งที่ท าให้ดินเสื่อมโทรม เนื่องจากมีการพัดพาดินชั้นบนซึ่งมีปริมาณอินทรียวัตถุที่จ าเป็นต่อการ
เจริญเติบโตของพืชออกไปจากพื้นที่เดิม นอกจากนี้ยังมีผลท าให้การซึมน้ าและการอุ้มน้ าของดินลดลงด้วย จึง
เป็นสาเหตุให้ผลผลิตของพืชในพื้นที่นั้นๆ ลดลงตามไปด้วย
3.6.4 ท าให้ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป การชะล้างพังทลายของดินเกิดขึ้นจาก
ผิวดินได้รับน้ ามากเกินความสามารถในการซึมน้ าของดิน จนเกิดน้ าไหลบ่าและพัดพาเอาอนุภาคของดินออกไปจาก
พื้นที่เดิม ท าให้ผิวดินเกิดเป็นร่องขนาดเล็กหรือใหญ่แตกต่างกันตามความรุนแรงของกระแสน้ า และเมื่อพื้นที่ใน
บริเวณนั้นๆ ได้รับอิทธิพลของการชะล้างมากขึ้นมีผลท าให้พื้นที่ในบริเวณดังกล่าวเกิดการกัดเซาะเป็นร่องลึกขนาด
ใหญ่ (Gully erosion) ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการน าเครื่องจักรกลเข้าไปใช้ในงานในพื้นที่การเกษตร และการปรับ
ระดับพื้นที่เพื่อการเพื่อปลูกพืชก็ท าได้ยากเช่นกัน ท าให้แม่น้ าล าธารหรือแหล่งน้ าตื้นเขิน เมื่อผิวหน้าดินได้รับ