Page 47 - การจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการพัมนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูงบ้านห้วยแล้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
P. 47

36


                  สูญเสียดินมีค่ามากหรือน้อย ส่วนปัจจัยความคงทนของดิน (K) ปัจจัยพืช (C) และปัจจัยด้านมาตรการฯ  (P) มีค่า
                  น้อยกว่าหรือไม่เกิน 1 เสมอ

                         ในการพิจารณา เลือกมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสมนั้น ใช้หลักพิจารณาจากการปรับลดค่าปัจจัย
                  เหล่านี้ ซึ่งเมื่อค านวณผลลัพธ์ออกมาแล้ว ควรมีค่าการสูญเสียดินลดลงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
                                A  ค่าการสูญเสียดิน (Soil loss) หน่วยวัดที่ใช้เป็น ตันต่อเฮคแตร์ต่อปีสามารถแปลงหน่วยเป็น
                  ตันต่อไร่ต่อปีหรือ มิลลิเมตรต่อปีโดย

                                        เฮคแตร์ = 6.25 ไร่
                                        ถ้าความหนาแน่นเฉลี่ยของดิน = 1.3 ดังนั้น แปลงหน่วยเป็นมิลลิเมตรจึงเท่ากับ  (หน่วย
                  เป็นตันต่อเฮคแตร์) หารด้วย 13
                                                 R factor  ค่าปัจจัยการกัดกร่อนของฝน คือ ปัจจัยของฝนในปีปกติเป็นผลรวมรอบปีของ

                  ผลคูณระหว่างพลังงานจลน์ของฝนที่ตกแต่ละครั้งกับอัตราการตกของฝน ในช่วงที่ฝนตกมีพลังงานจลน์สูงสุด คือ
                  ช่วงความหนาแน่นของฝนที่เวลา 30 นาที จึงเรียกพลังงานจลน์ของฝนว่า EI30 และน ามาสร้างเป็นสมการหาค่า R
                  factor ส าหรับประเทศไทยโดยมนูและคณะ (2527) ได้สร้างสมการเพื่อใช้ประเมินค่า R factor ขึ้นมาหลายสมการ
                  มีทั้งจากค่า EI30และ KE>1 ค่า EI30 เป็นค่าที่เหมาะสมกับปริมาณฝนของประเทศไทย คือ

                                        R = 0.4669 X – 12.1415 (r = 0.9482)
                                        เมื่อ R  = ค่าปัจจัยการกัดกร่อนของฝน (ตันต่อเฮกแตร์ต่อปี)
                                        X        = ปริมาณฝนเฉลี่ยรายปี (มิลลิเมตรต่อปี)

                                K  factor  ค่าปัจจัยความคงทนของดิน คือ ปัจจัยความคงทนต่อการกร่อนของดิน เป็นค่าตัวเลข
                  ค่าน้อยที่สุดตั้งแต่ 0.04 ส าหรับดินที่ยากต่อการกร่อน จนถึง 0.6 ส าหรับดินที่ง่ายต่อการกร่อนที่สุด ค่า K ได้จาก
                  การศึกษาในแปลงทดลองมาตรฐาน ค านวณปริมาณดินแล้วหารด้วยค่า R ของฝนที่ตกแต่ละครั้ง
                                C factor ค่าปัจจัยของการจัดการพืช  C factor ของวิธีการปลูกพืชหนึ่ง ๆ  เป็นค่าที่แสดงความ
                  หมายถึง สัดส่วนของการสูญเสียดินระหว่างวิธีการจัดการปลูกพืชนั้น กับแปลงทดลองมาตรฐาน ในสภาพแวดล้อม

                  และชนิดของดินเหมือนกับที่ใช้หาค่า K  factor  เป็นค่าตัวเลขไม่มีหน่วย ค่าน้อยที่สุดตั้งแต่ 0.001 ส าหรับป่าไม้
                  ธรรมชาติที่ปกคลุมเต็มพื้นที่จนถึง 1 ส าหรับแปลงทดลองมาตรฐานซึ่งไม่มีสิ่งปกคลุมดิน วิธการปลูกพืชทุกชนิด มี
                  ค่า C factor น้อยกว่า  1

                                P factor ค่าปัจจัยของมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า P factor เป็นค่าแสดงสัดส่วนของการสูญเสีย
                  ดินระหว่างมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าหนึ่ง ๆ กับแปลงทดลองมาตรฐานที่มีการไถพรวนขึ้น ลง ตามความลาดเอียง
                  และปล่อยว่างไม่มีพืชปกคลุม เป็นค่าตัวเลขไม่มีหน่วยค่าน้อยที่สุดตั้งแต่ 0.1 ส าหรับขั้นบันไดดิน  (Terracing)
                  จนถึง 1 สาหรับแปลงทดลองมาตรฐาน มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าทุกประเภท มีค่า P factor น้อยกว่า  1 และ

                  เปลี่ยนแปลงตามความลาดเอียงของพื้นที่ถ้าใช้หลายมาตรการผสมผสานร่วมกัน การประเมินให้น าค่า P ของแต่ละ
                  มาตรการมาคูณกัน
                                L factor ค่าปัจจัยความยาวของความลาดเอียง (Slope length) เป็นค่าตัวเลขไม่มีหน่วย อาจมี
                  ค่าน้อยกว่า 1 หรือมากกว่า 1 ได้ค่านี้เป็นสัดส่วนการสูญเสียดิน ของความยาวความลาดเอียงหนึ่ง เปรียบเทียบกับ

                  ของแปลงทดลองมาตรฐานใน สภาพแวดล้อมอื่น และชนิดของดินที่เหมือนกัน ส าหรับแปลงทดลองมาตรฐานความ
                  ยาวของความลาดเอียง 22.13 เมตร ลาดเอียง 9 เปอร์เซ็นต์  L factor มีค่าเท่ากับ  1
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52