Page 51 - การจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการพัมนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูงบ้านห้วยแล้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
P. 51

40


                  อินทรีย์ที่จะเป็นพิษต่อพืช ธาตุที่มีความส าคัญต่อกระบวนการทางชีววิทยาของพืชมีอยู่ทั้งหมด 13  ธาตุโดยมีที่มา
                  ต่างๆ กัน 3  แหล่งคือ จากอากาศ น้ า และองค์ประกอบของดินเอง ในจ านวนนี้จะเป็นธาตุอาหารที่จ าเป็นต่อการ

                  เจริญเติบโตของพืชโดยตรง (Essential  element)  นั่นคือจ าเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช พืช
                  ต้องการใช้ธาตุนั้นในลักษณะเฉพาะเจาะจง ธาตุอื่นใช้แทนไม่ได้ เช่น เป็นธาตุมีหน้าที่เฉพาะอย่างในกระบวนการ
                  ทางสรีระวิทยา มีอยู่เพียง 16  ธาตุ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แค
                  ลเซี่ยม แมกนีเซียม ก ามะถัน เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน ธาตุอาหารทั้งหมด

                  เป็นองค์ประกอบของดินตามสภาพธรรมชาติ ยกเว้น คาร์บอน ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน พืชจะได้รับจากอากาศ
                  และน้ า ธาตุอาหารทั้ง 13  ธาตุที่พืชได้รับจากดินได้มีการจัดแบ่งออกตามความส าคัญเป็น 2  กลุ่มใหญ่  คือ ธาตุ
                  อาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก  หรือมหธาตุ (Macro nutrient  elements)  ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
                  โปแตสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และก ามะถัน ในกลุ่มนี้ปรากฏว่า ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม เป็น

                  ธาตุอาหารที่พืชต้องการมากที่สุด และมักอยู่ในดินไม่มาก หรืออยู่ในรูปที่พืชใช้ประโยชน์ไม่ได้จึงท าให้พืชค่อนข้าง
                  ขาดธาตุอาหารเหล่านี้ จ าเป็นต้องเพิ่มเติมลงไปในดินเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของพืช จึงเรียกธาตุอาหาร
                  พวกนี้ว่าธาตุอาหารหลัก (Primary nutrient element) ส่วนแคลเซียม แมกนีเซียม และก ามะถัน พืชต้องการใน
                  ปริมาณที่ไม่สูงมากนักและมักมีอยู่อย่างเพียงพอในดิน จึงเรียกธาตุอาหารพวกนี้ว่าธาตุอาหารรอง (Secondary

                  nutrient  element) และธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยหรือจุลธาตุ (Micro nutrient  or  Trace
                  element) ได้แก่ เหล็ก แมงกานีส รังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบตินัม และคลอรีน ธาตุอาหารเหล่านี้ พืชต้องการ
                  ในปริมาณที่ต่ ามาก แต่พืชจะขาดไม่ได้ ในดินโดยทั่วไปมักมีธาตุอาหารเหล่านี้อยู่ในปริมาณต่ า แต่พืชก็ไม่ค่อยแสดง

                  อาการขาดธาตุเหล่านี้ นอกจากในดินที่มีเนื้อเป็นทรายจัด หรือดินที่ใช้ในการเพาะปลูกพืชติดต่อกันเป็นเวลานาน
                  และในดินบางชนิดหรือบางสภาพอาจจะมีธาตุเหล่านี้อยู่ในปริมาณสูงจนเป็นพิษต่อพืชได้ การประเมินความ
                  สมบูรณ์ของดินว่ามีปริมาณธาตุอาหารพืชมากน้อยแค่ไหนสามารถท าได้หลายวิธีแล้วแต่ความสะดวกเหมาะสม เช่น
                  การสังเกตลักษณะอาการที่พืชแสดงออก (Symptom of plant) การประเมินโดยวิธีนี้กระท าได้ง่ายแต่ต้องอาศัย
                  ความรู้และความช านาญในการที่จะแยกแยะลักษณะที่ของพืชที่ปรากฏจากการขาด หรือได้รับธาตุอาหารต่างๆ

                  มากจนเกินไป การวิเคราะห์พืช (Plant analysis) เพื่อให้ทราบว่าพืชมีธาตุอาหารชนิดไหนอยู่ในปริมาณมากน้อย
                  เท่าใด ปริมาณธาตุอาหารในพืชจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปริมาณที่มีอยู่ในดิน การวิเคราะห์ธาตุอาหารใน
                  พืชอาจท าได้หลายวิธี เช่นวิเคราะห์เนื้อเยื่อพืช (Tissue test) เป็นการทดสอบอย่างง่ายจากเพียงบางส่วนของพืช

                  เช่นการคั้นเอาน้ าในเนื้อเยื่อของพืชมาผสมกับน้ ายาท าให้เกิดสีต่างๆ แล้วเปรียบเทียบกับสีมาตรฐานที่ระบุถึงระดับ
                  ของธาตุอาหารนั้นๆ หรืออาจใช้วิธีการวิเคราะห์พืชทั้งหมด (Total analysis) โดยการน าเอาส่วนหนึ่งส่วนใดหรือ
                  พืชทั้งต้นที่มีขนาดเล็กไปวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารในห้องปฏิบัติการ การทดสอบทางชีวภาพ (Biological
                  test)  คือการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของพืชที่ได้รับปริมาณธาตุอาหารต่างๆ กัน ในแปลงทดลอง และการ

                  วิเคราะห์ดิน (Soil analysis) โดยการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารในห้องปฏิบัติการ
                         การปลูกพืชซ้ าในดินเดิมอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการปรับปรุงบ ารุงดิน จะท าให้ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์
                  ไปอย่างรวดเร็ว ดินจะแข็ง ไม่ร่วนซุย ดูดซับน้ าและธาตุอาหารได้น้อยลง และที่ส าคัญคือจะท าให้การใช้ปุ๋ยเคมี
                  ไม่ได้รับผลดีเท่าที่ควร การใช้ปุ๋ยเคมีที่ได้ผล จะต้องใช้ควบคู่ไปกับการปรับปรุงบ ารุงดิน หากใช้ปุ๋ยเคมีแต่เพียง

                  อย่างเดียว โดยไม่มีการปรับปรุงบ ารุงดินติดต่อกันเป็นเวลานาน จะท าให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ท าให้ผลผลิต
                  ลดลง ต้องใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตให้สูงขึ้น การปรับปรุงบ ารุงดินท าได้โดยการเพิ่ม
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56