Page 43 - การจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการพัมนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูงบ้านห้วยแล้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
P. 43

32


                  ไม่ได้ ความลาดเทจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งของข้อจ ากัดในการท าการเกษตรบนพื้นที่สูง และหากมีการท าการเกษตรบน
                  พื้นที่สูงก็ควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และ ระบบการเพาะปลูกพืช เพื่อป้องกันการ

                  ชะล้างพังทลายของดินลดปริมาณการสูญเสียดิน และช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                  (กรมพัฒนาที่ดิน, 2539)
                         พื้นที่ดินที่มีปัญหาการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมของประเทศไทยได้แก่การชะล้างพังทลายของดิน
                  108.87 ล้านไร่ พื้นที่ที่มีปัญหามากที่สุด คือ ภาคเหนือ ฯลฯ การประเมินการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินที่

                  เกิดจากการชะล้างพังทลาย โดยใช้ปุ๋ยเพื่อทดแทนความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดินที่สูญเสียไป
                  (Replacement cost) เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นที่ที่เกิดการสูญเสียดินประมาณ 108.87 ล้านไร่ ในการศึกษานี้
                  จะพิจารณาเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ เนื่องจากมีอัตราการชะล้างพังทลายดินในระดับปานกลางถึงรุนแรงมาก
                  หรือมีอัตราการสูญเสียดินประมาณ 2-50 ตันต่อไร่ต่อปี ข้อมูลที่ใช้ในการค านวณมูลค่าการสูญเสียธาตุอาหาร คือ

                  ข้อมูลอัตราการสูญเสียปุ๋ยในพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ในแต่ละภาค ตามชนิดของปุ๋ย จากการส ารวจการพัดพาปุ๋ยของ
                  พื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ในแต่ละภาคของ  ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่จากสถิติการเกษตรรายปีจาก ส านักงาน
                  เศรษฐกิจการเกษตร และข้อมูลราคาปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต และปุ๋ยโปแตสเซี่ยมคลอไรด์ เมื่อค านวณต้นทุน
                  การสูญเสียธาตุอาหารจากการพังทลายของดินมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5,015  ล้านบาทต่อปี (ทรัพยากรดินและการใช้

                  ที่ดิน, 2556 ข)
                         ระบบการผลิตดั้งเดิมจนถึงปัจจุบันเป็นการผลิตทางด้านการเกษตรทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าประชากรส่วน
                  ใหญ่หรือเกือบทั้งหมดใช้ที่ดินในป่าสงวน ป่าอนุรักษ์และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นพื้นที่ท ากิน โดยเฉพาะการใช้

                  ที่ดินเพื่อการเพาะปลูก มีการเลี้ยงสัตว์พวกหมู เป็ด ไก่และวัวบ้างเล็กน้อย ส าหรับการเพาะปลูกทุกครัวเรือนปลูก
                  ข้าวเพื่อไว้บริโภคในครัวเรือน พืชอื่น ได้แก่พืชผักต่าง ๆ ข้าวโพด ถั่ว มะละกอ เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน และ
                  แบ่งปันกันรับประทาน ส่วนที่เหลือจน าไปจ าหน่ายบ้างเป็นส่วนน้อยเพราะมีจ านวนไม่มากนัก การเพาะปลูกเกือบ
                  ทั้งหมดท าได้ปีละครั้ง ยกเว้นพืชผักที่ปลูกไว้บริโภคจะปลูกหลายครั้ง ทั้งนี้เนื่องจากการผลิตต้องอาศัยน้ าธรรมชาติ
                  เป็นส่วนใหญ่ ในฤดูแล้งไม่สามารถเพาะปลูกได้ เนื่องจากการขาดแคลนน้ า ปริมาณผลผลิตต่อไรต่ า เนื่องจาก

                  ลักษณะทางกายภาพของที่ดินมีความลาดเอียงสูง ดินเป็นดินภูเขาหน้าดินจึงถูกชะล้างได้ง่าย ประชากรบนพื้นที่สูง
                  จึงมีการพักดิน หรือเว้นการเพาะปลูกในที่ดินบางแปลงเป็นบางปี ส าหรับครอบครัวที่มีที่ดินหลายแปลง แต่
                  ครัวเรือนที่มีที่ดินน้อยยังต้องเพาะปลูกทุกปี ปัจจุบันประชากรบนพื้นที่สูงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากอัตราการเจริญ

                  พันธุ์ การสร้างครอบครัวใหม่ ดังจะเห็นได้ว่าคนหนุ่มสาวแต่งงาน จะแยกครอบครัวออกไปปลูกบ้านใหม่สภาพของ
                  สังคมเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น และครอบครัวใหม่เริ่มมีบุตรหลาน ซึ่งจะมีประชากรในวัยเด็ก
                  เป็นจ านวนมาก จากการวิเคราะห์ความยั่งยืนของระบบการผลิต มีความเชื่อว่าการเพาะปลูกยังคงมีความส าคัญอยู่
                  ต่อไปในอนาคตอย่างยาวนาน เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ของสังคมบนพื้นที่สูงยังต้องพึ่งพาการเกษตรอยู่มาก

                  ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปยังไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ เนื่องจากไม่ได้เรียนหนังสือ ท าให้ขาดโอกาสที่
                  จะไปประกอบอาชีพอื่นได้ เนื่องจากไม่มีความรู้ไม่สามารถสื่อสารกับบุคคลภายนอกได้ ส าหรับอาชีพเสริมทางด้าน
                  งานหัตถกรรมอื่น ๆ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ท าเพราะไม่มีความรู้ ไม่มีวัตถุดิบและเครื่องมืออุปกรณ์ ไม่มีการส่งเสริม
                  อย่างจริงจัง ขาดระบบตลาด และท าให้ไม่สามารถจะน าไปจ าหน่ายที่ไหน สิ่งที่จะท าให้วิถีชีวิตด าเนินอยู่ต่อไปอย่าง

                  ถาวร คือ การท าการเกษตรในอาชีพแบบดั้งเดิม  (จรินทร เทศวนิช และคณะ, 2551 ก)
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48