Page 42 - การจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการพัมนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูงบ้านห้วยแล้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
P. 42

31


                                3.3.4  ระบบการผลิตพืชไร่เชิงพาณิชย์ พืชไร่ที่ส าคัญ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง และถั่ว
                  แดงหลวง การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้เปลี่ยนจากการปลูกโดยใช้พันธุ์ทั่วไปเป็นการใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสม โดยท า

                  สัญญาผูกพันกับบริษัทเอกชน
                                3.3.5 ระบบที่มีไม้ผลเป็นพืชหลัก ชุมชนที่มีการจัดตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร มักจะปรับใช้ระบบการใช้
                  ที่ดิน โดยการปลูกไม้ผลเป็นพืชหลัก ผสมผสานกับพืชผักอายุสั้น โดยเฉพาะในระยะแรกๆ ที่ไม้ผลยังเจริญเติบโตไม่
                  เต็มที่

                                3.3.6 ระบบการปลูกเมี่ยงและกาแฟ  ชุมชนที่ประกอบอาชีพท าเมี่ยงจากต้นชาอัสสัม ซึ่งขึ้นอยู่
                  ตามธรรมชาติในป่าทั่วไป โดยชุมชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยที่อาศัยอยู่ตามพื้น ที่ที่มีระดับความสูงตั้งแต่ระดับ 800-
                  1,200 เมตร ส่วนใหญ่พื้นที่มีความลาดชันค่อนข้างสูง สภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ เพราะเป็นระบบเกษตรพึ่งพา
                  ระหว่างชาเมี่ยงและป่า ปัจจุบันความต้องการบริโภคเมี่ยงน้อยลง ท าให้ชุมชนมีรายได้ลดลงบางแห่งหันไปปลูก

                  กาแฟอราบิก้าทดแทน เนื่องจากกาแฟเป็นพืชที่ต้องอาศัยร่มเงา
                                3.3.7ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่เดียวกัน เป็นระบบใหม่ที่เกษตรกรปรับเปลี่ยนที่นาบางส่วน
                  ควบคู่ไปกับการขุดสระน้ าเพื่อกักเก็บน้ าใช้ปลูกพืชในฤดูแล้ง และใช้บ่อน้ าเพื่อเลี้ยงปลาเนื่องจากเป็นระบบที่มี
                  ความมั่นคงทางอาหารและรายได้ และสามารถสร้างงานได้ตลอดปี

                                3.3.8 ระบบการเลี้ยงสัตว์กับการจัดสรรการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่า ระบบการเลี้ยง สัตว์ เช่น โคเนื้อ
                  มีความผูกพันธุ์กับการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่า เช่น การคัดเลือกและการจัดสรรพื้นที่แทะเล็ม ปกติการเลี้ยงโคเนื้อ
                  จะเป็นการเลี้ยงแบบอิสระ

                                3.3.9 การใช้ประโยชน์จากป่ารอบบ้าน พื้นที่ป่าใช้สอยหรือป่าชุมชนรอบบ้าน หรือรอบ ๆ บริเวณ
                  หมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ผืนใหญ่ติดต่อกัน มีการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ของป่าที่ไม่ใช่ไม้ เช่น พืชอาหาร
                  สมุนไพร หรือ เห็ด เป็นต้น สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับชุมชน ฯลฯ (สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง, 2553 ค)

                  3.4 ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่สูง

                         ปัจจุบันได้มีการบุกรุกเข้าไปท าการเกษตรบนพื้นที่สูง (Mountainous  area)  ของประเทศ ซึ่งพื้นที่สูง
                  ดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ 96.1  ล้านไร่ ประกอบด้วยพื้นที่สูงในภาคเหนือ 54  ล้านไร่ ภาคใต้ 14.6  ล้านไร่ ภาค
                  ตะวันออกเฉียงเหนือ 12.1  ล้านไร่ ภาคกลาง 12  ล้านไร่ และภาคตะวันออก 3.4  ล้านไร่ พื้นที่สูง เป็นพื้นที่ที่มี

                  ความลาดชันมากกว่า 35 % ขึ้นไป และหรือพื้นที่ที่มีความสูงมากกว่า 500 เมตร จากระดับน้ าทะเลขึ้นไป ซึ่งส่วน
                  ใหญ่เป็นป่าต้นน้ าล าธารปัญหาการใช้ประโยชน์ดินมีสภาพการชะล้างพังทลาย(ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน,
                  2557)
                         สภาพความลาดเทของพื้นที่ ความลาดเทจะมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนย้ายและการกักเก็บน้ า การเคลื่อนย้าย

                  ของวัสดุดิน อัตราเร่งและปริมาณการไหลบ่าของน้ า และในการท าการเกษตรบนพื้นที่สูงนั้นจะมีความเสี่ยง ต่อการ
                  เกิดการชะล้างพังทลายของดินได้สูงกว่า ในบริเวณพื้นที่ราบเนื่องจากการท าการเกษตรบนพื้นที่สูงจะมีการเปิด
                  พื้นที่ และไถเตรียมดินส าหรับการเพาะปลูกพืชและจะสามารถเพาะปลูกพืชได้ในช่วงฤดูฝนเพียงฤดูกาลเดียว เมื่อ
                  เกิดฝนตก ปริมาณและจ านวนเม็ดฝนที่ตกจะกระทบกับผิวหน้าดินโดยตรง ท าให้เม็ดดินแตกกระจาย และถูกน้ าที่

                  ไหลบ่าหน้าดินชะล้าง และพัดพาออกไปจากพื้นที่ได้ ประกอบกับลักษณะของพื้นที่ที่มีความลาดเทสูง เมื่อมีฝนตก
                  ชุกและเกิดน้ าไหลบ่าหน้าดินก็ง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลายของดินได้สูงกว่าในบริเวณ พื้นที่ราบอย่างหลีกเลี่ยง
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47