Page 41 - การจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการพัมนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูงบ้านห้วยแล้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
P. 41

30


                  และดินร่วน การระบายน้ าปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ าหรือปานกลาง ส่วนใหญ่จะพบอยู่ตามแนว
                  เทือกเขาในพื้นที่ลุ่มน้ าสาละวิน และพื้นที่ลุ่มน้ าแม่ปิงตอนบน

                         ดินป่าสนเป็นดินที่มีความลึกปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว มีการยึดเกาะของเมล็ดดินดีมาก แต่ง่ายต่อ
                  การพัดพาไปตามน้ า เพราะแขวนลอยในน้ า ได้ดีมี pH  ประมาณ 5.0-5.5 มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ าถึงปาน
                  กลางได้แก่ ดินบริเวณที่ราบ ที่ราบลอนลาด และภูเขาเตี้ยเป็นดินที่เกิดจากตะกอนที่น้ าพัดพามา หรือหินที่ผุ
                  พังทลาย และดินบริเวณที่ราบริมฝั่งแม่น้ า และที่เนิน เป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่ถูกน้ าพัดมา แต่ยัง

                  ไม่นานนัก มีลักษณะเนื้อดินร่วนและดินเหนียว  ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ าถึงปานกลาง จากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่
                  ของภาคเหนือตอนบน เป็นพื้นที่ภูเขาและที่ราบลอนลาด มีสภาพความลาดชันตั้งแต่ 35 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เป็น
                  บริเวณกว้าง ดังนั้นเสถียรภาพของการยึดตัวของดินบริเวณนี้อยู่ในระดับต่ า ซึ่งท าให้หน้าดินถูกกัดเซาะท าลายได้
                  ง่าย ถ้ามีการใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสมหรือมีการท าลายพื้นที่ป่าไม้ในเขตพื้นที่ลาดชัน ซึ่งพบว่าปัญหาทรัพยากรดิน

                  บนพื้นที่สูงเขตชั้นคุณภาพลุ่มน้ า 2 และ 3 มีการชะล้างพังทลาย หรือการเลื่อนไหลของดิน ในระดับที่ค่อนข้าง
                  รุนแรงในปัจจุบัน และคาดว่าจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคต ทั้งนี้สาเหตุส าคัญ เนื่องมาจากพื้นที่ป่าถูกท าลาย ท าให้
                  หน้าดินเปิดโล่ง หน้าดินถูกกัดเซาะโดยน้ าฝนหรือน้ าหลากได้ง่าย รวมทั้งการประกอบกิจกรรมเกษตรกรรม พืชไร่ที่
                  ขาดการอนุรักษ์ดิน และการตัดถนน เป็นต้น ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นก็คือ การท าลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                  โดยเฉพาะตะกอนดินที่ถูกชะพาลงมาสู่แหล่งน้ าท าให้แหล่งน้ าตื้นเขิน เช่น การตื้นเขินของล าน้ าปิงในจังหวัด
                  เชียงใหม่และล าพูน ล าน้ ากกในจังหวัดเชียงราย และเชียงใหม่ทางด้านเหนือ ล าน้ าปายในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็น
                  ต้น  (สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง, 2553)


                  3.3 การใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่สูง
                         ชุมชนบนที่สูงที่มีการจัดตั้งหมู่บ้านอย่างถาวรหรือมีศักยภาพที่จะจัดตั้งอย่างถาวรหรือชุมชนที่จัดตั้งขึ้น
                  ตามนโยบายทางราชการ จะมีรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและรายได้ระดับ
                  ครัวเรือนและชุมชน จะมีรูปแบบหรือประเภทของการท าการเกษตรที่หลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานทรัพยากร

                  องค์ความรู้ ขีดความสามารถในการจัดการและโอกาสด้านการตลาด ตลอดจนการมีส่วนร่วม เข้าร่วมในโครงการ
                  การพัฒนาต่างๆ ทั้งนี้ สามารถแบ่งระบบการใช้ที่ดิน 9 ระบบ คือ
                                3.3.1 ระบบการใช้ที่ดินแบบแผ้วถางและเผา เป็นระบบการใช้ป่าหมุนเวียนกับการปลูกข้าวไร่เพื่อ

                  บริโภค โดยมีระยะพักตัว 5-7 ปี ถือว่าเป็นระบบที่ใช้ชีวมวลของป่าไม้เป็นวัสดุฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน และ
                  สามารถรักษาเสถียรภาพของผลผลิตได้ดีพอสมควร เดิมชาวเขามักถางและเผาป่าในช่วงฤดูร้อนปลูกข้าวโพดในช่วง
                  ฤดูฝน ตามด้วยการปลูกฝิ่นในช่วงปลายฤดูฝน หรือปลูกข้าวไร่และพืชผักพื้นบ้าน
                               3.3.2  ระบบข้าวนาด า เป็นระบบการปลูกข้าวนาด าพันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่ลุ่มน้ า บนพื้นที่สูง

                  ผลผลิตของข้าวนาดาขึ้นอยู่กับสภาพของนา โดยท าเป็นนาขั้นบันไดตามไหล่เขา เพื่อให้ความสามารถรักษาระดับ
                  น้ าของที่นา
                               3.3.3  ระบบการปลูกพืชผัก ชุมชนบนพื้นที่สูงได้รับการส่งเสริมการผลิตพืชผักเพื่อสร้างรายได้
                  ให้แก่ครัวเรือน ทดแทนรายได้จากการปลูกฝิ่น ซึ่งผู้ผลิตมักใช้พื้นที่ลาดชันบนไหล่เขาเป็นแหล่งผลิต ส่วนใหญ่เป็น

                  พื้นที่ที่มีคมนาคมสะดวกพอสมควร ใช้ปัจจัยการผลิตสูง เช่น ปุ๋ยเคมี และสารก าจัดศัตรูพืช
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46