Page 39 - การจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการพัมนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูงบ้านห้วยแล้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
P. 39
28
บทที่ 3
การตรวจเอกสาร
3.1 พื้นที่สูง
พื้นที่สูงคือ พื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือพื้นที่ที่มีความสูงกว่าระดับน้ าทะเลห้าร้อยเมตรขึ้นไป หรือพื้นที่ที่อยู่
ระหว่างพื้นที่สูงตามที่คณะกรรมการก าหนด พื้นที่สูงในประเทศไทยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 67.22 ล้านไร่ อยู่ใน
จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ล าพูน แพร่ น่าน ล าปาง ตาก เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เลย สุโขทัย
ก าแพงเพชร กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี พื้นที่ตั้งชุมชนบนพื้นที่สูงส่วน
ใหญ่เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ าล าธาร ประมาณร้อยละ 88 ของหมู่บ้านมีการคมนาคมยากล าบาก ท าให้หน่วยงานของรัฐ
เข้าไปด าเนินงานบนพื้นที่สูงได้ไม่ทั่วถึง นอกจากนี้พื้นที่สูงยังคงมีปัญหาการท าไร่เลื่อนลอย และการบุกรุกท าลาย
ป่าอย่างต่อเนื่อง (สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง, 2556)
พื้นที่สูงหมายความว่าพื้นที่ที่เป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ถึงแม้ปัจจุบันจะเรียกว่าเป็นชาวไทยภูเขาหรือ
ประชากรบนพื้นที่สูงก็ตาม แต่ประชากรส่วนใหญ่ก็ยังเป็นชนเผ่าอยู่ดี พื้นที่สูงเป็นที่ตั้งบ้านเรือนและที่ท ากินที่มี
ความลาดชัน โดยเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 35 หรือมีความสูงกว่าระดับน้ าทะเล 500 เมตรขึ้นไป พื้นที่สูงในประเทศ
ไทยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 67.22 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 53 ของพื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่,
เชียงราย,แม่ฮ่องสอน,พะเยา,ล าพูน,แพร่,น่าน,ล าปาง,ตาก,เพชรบูรณ์,พิษณุโลก,เลย,สุโขทัย ก าแพงเพชร,
กาญจนบุรี,อุทัยธานี,สุพรรณบุรี,ราชบุรี,ประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี พื้นที่ตั้งชุมชนบนที่สูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่า
ต้นน้ าล าธาร ประมาณร้อยละ 88 ของหมู่บ้านมีการคมนาคมยากล าบาก ท าให้หน่วยงานของรัฐเข้าไปด าเนินงาน
บนพื้นที่สูงได้ไม่ทั่วถึง นอกจากนี้พื้นที่สูงยังคงมีปัญหาการท าไร่เลื่อนลอยและการบุกรุกท าลายป่าอย่างต่อเนื่อง
ประชากรบนพื้นที่สูงประกอบด้วย ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ 15 เผ่ามี จ านวนประชากร 964,916 คนอาศัยกระจัด
กระจายอยู่ในหมู่บ้านทั้งหมด 3,829 กลุ่มบ้านใน 20 จังหวัด โดยส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ในจังหวัดภาคเหนือ 13
จังหวัด จ านวน 851,282 คน หรือร้อยละ 88.22 ของประชากรชาวเขาทั้งประเทศ โดยจังหวัดเชียงใหม่ มีชาวเขา
มากที่สุด จ านวน 244,291 คน (ร้อยละ 25.31) รองลงมา คือ จังหวัดตาก และจังหวัดเชียงราย มีจ านวน 130,065
คน และ 130,054 คน ตามล าดับ (ส านักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.), 2555)
ประชากรซึ่งตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ความสูงระหว่าง 400 เมตร ถึง 1,400 เมตร เหนือระดับน้ าทะเล
ประกอบด้วยชาวไทยและชาวเขา มีชาวเขาในประเทศไทยทั้งหมด 9 เผ่า ได้แก่ ปกาเกอญอ,ม้ง,เย้า,อีก้อ มูเซอ,
ลีซอ,ลั๊วะ,ขิ่นและขมุ แต่ยังมีประชากรชาติพันธุ์อื่นๆ ที่นอกเหนือจาก 9 เผ่า คือ จีนฮ่อ ไทยใหญ่ ไทยลื้อ และ ปะ
หล่อง ซึ่งประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของแต่ละชนเผ่ามีความแตกต่างกันไปตามลักษณะความเชื่อของเผ่านั้นๆ
แต่ก็มีการประกอบอาชีพทางการเกษตรเหมือนกัน ซึ่งสภาพพื้นที่สูงดังกล่าวไม่มีความเหมาะสมส าหรับใช้เป็นพื้นที่
ท าการเกษตร เนื่องจากเป็นพื้นที่ภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีความลาดเทสูง จึงมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้การ
ช่วยเหลือในการพัฒนาพื้นที่ แนะน าส่งเสริมอาชีพเกษตรกรสมัยใหม่เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
ป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการด าเนินการเป็นไปด้วยความยากล าบาก แต่เป็นที่ยอมรับของสังคม
ชาวเขาเหล่านั้นในระยะเวลาอันสั้นได้ (ชูสิทธิ์, 2541)