Page 38 - การจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการพัมนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูงบ้านห้วยแล้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
P. 38
27
1. สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชัน ความลาดชัน 12-20 เปอร์เซ็นต์
2. ส่วนใหญ่เกษตรกรใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกพืชไร่ (ข้าวโพด) ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและ
น้ า
3. ดินส่วนใหญ่เป็นดินคล้ายดินลาดหญ้าและดินด่านซ้าย มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย
เป็นดินลึก (59 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งมีความลาดชัน 2-20 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็นชุดดินลาดหญ้า (Ly) เนื้อดินร่วน
เหนียวปนทราย ความลาดชัน 5-35 เปอร์เซ็นต์ มีอยู่ประมาณ 32 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งหมด 91 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่
ทั้งหมด
4. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดินส่วนใหญ่เป็นดินคล้ายดินลาดหญ้าและดินคล้ายดินด่านซ้าย
ความอุดมสมบูรณ์ต่ า ปริมาณอินทรียวัตถุต่ า (0.8และ1.0 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น
ประโยชน์ต่ า (7และ10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามล าดับ) ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่ า (27และ25
มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามล าดับ) ดินเป็นกรดจัด (ค่า pH 5.3 และ 5.2 ตามล าดับ) ส่วนชุดดินลาดหญ้า (Ly) มีความ
อุดมสมบูรณ์ปานกลาง ปริมาณอินทรียวัตถุ (1.7 เปอร์เซ็นต์) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ปานกลาง (14
มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ปานกลาง (40 ppm.) ดินเป็นกรดจัด (ค่า pH 5.2)
5. เกษตรกรที่ร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง จ านวน 31 ราย เอกสารสิทธ์เป็น
สปก. พื้นที่โครงการจริง 310 ไร่ พื้นที่ถือครองมากที่สุด 20 ไร่ ต่ าสุด 5 ไร่ การใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่ปลูก
ข้าวโพด (59 เปอร์เซ็นต์) รองลงมาเป็นยางพารา (16 เปอร์เซ็นต์)
โดยสรุปการวิเคราะห์พื้นที่เพื่อด าเนินงานกิจกรรมการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่
เป้าหมายสภาพภูมิประเทศมีความลาดชัน ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน
เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย เกษตรกรปลูกพืชไร่และไม้ยืนต้นเป็นหลัก การขนส่งผลผลิตสู่ถนนหลักใน
หมู่บ้านทรุดโทรม ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ าถึงปานกลาง เกษตรกรให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานดี เอกสาร
สิทธิ์เป็น สปก. จึงควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่เมื่อเกษตรกรมีความจ าเป็นต้องใช้ประโยชน์ที่ดินต่อไป
เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและมีความยั่งยืน