Page 47 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน : กรณีศึกษาการปลูกข้าวโพดหวาน บ้านท่าพยอม ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี
P. 47
35
มีประสิทธิภาพ เช่น ใช้ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต นอกจากแหล่งของปุ๋ยเคมีไนโตรเจนแล้ว
แหล่งไนโตรเจนในรูปของสารอินทรีย์ที่สามารถใช้แทนได้ เช่น เลือดแห้ง หนังสัตว์บดละเอียด ขนไก่ป่น
ซึ่งมีปริมาณไนโตรเจนระหว่าง 12-14 เปอร์เซ็นต์ กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง มีไนโตรเจน 7-8 เปอร์เซ็นต์
3.4) จุลินทรีย์ กระบวนการย่อยเศษพืชเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรมของ
จุลินทรีย์ในการย่อยสลายสลายอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงจนกระทั่งเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
น้ า ความร้อน และสารประกอบฮิวมัส เมื่อกระบวนการย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์จะได้สารประกอบที่มีความ
คงทนที่เรียกว่า “ปุ๋ยหมัก” กระบวนการย่อยสลายในกองปุ๋ยหมักแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะอุณหภูมิ
ปานกลาง (Mesophilic phase) ช่วง 30-40 องศาเซลเซียส เกิดขึ้นในช่วงแรกของการย่อยสลาย ระยะ
อุณหภูมิสูง (Thermophilic phase) เกิดขึ้นในช่วงที่มีการย่อยสลายอย่างต่อเนื่อง โดยอุณหภูมิจะเพิ่มสูง
ถึง 4-60 องศาเซลเซียส หรือมากกว่านี้ เป็นช่วงที่เกิดการย่อยสลายสูงสุดจนท าให้เกิดความร้อนสะสมใน
กองปุ๋ยหมักและระยะอุณหภูมิลดลง (Maturation phase) เป็นช่วงที่อัตราการย่อยสลายลดลงจนกระทั่ง
อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักลดลง และลดลงอย่างช้าๆ ช่วงนี้เป็นระยะที่ใกล้จะเสร็จสิ้นการย่อยสลายแล้ว
4) อัตราส่วนผสมของวัสดุ ในการกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน ประกอบด้วย
เศษพืชแห้ง 1,000 กิโลกรัม
มูลสัตว์ 200 กิโลกรัม
ปุ๋ยไนโตรเจน 2 กิโลกรัม
สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 1 ซอง
5) วิธีการกองปุ๋ยหมัก
การกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน จะมีขนาดความกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 1.5 เมตร การกอง
ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ วัสดุที่มีขนาดเล็กให้คลุกเคล้าวัสดุให้เข้ากันแล้วจึงกองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ส่วนวัสดุที่มีชิ้นส่วนยาวให้กองเป็นชั้นๆ ประมาณ 3-4 ชั้น โดยแบ่งส่วนผสมที่จะกองออกเป็น 3-4 ส่วน
ตามจ านวนชั้นที่จะกอง ผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ในน้ า 20 ลิตร นาน 10-15 นาที เพื่อกระตุ้นให้
จุลินทรีย์ออกจากสภาพที่เป็นสปอร์และพร้อมที่จะเกิดกิจกรรมจากย่อยสลาย การกองชั้นแรก ให้น าวัสดุที่
แบ่งไว้ส่วนที่หนึ่งมากองเป็นชั้นมีขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 30-40 เซนติเมตร ย่ าให้พอแน่นและ
รดน้ าให้ชุ่ม น ามูลสัตว์โรยที่ผิวหน้าเศษพืชให้ทั่ว โรยปุ๋ยไนโตรเจนให้ทับชั้นบนของมูลสัตว์ แล้วราด
สารละลายสารเร่งให้ทั่ว โดยแบ่งใส่เป็นชั้นๆ หลังจากนั้นน าเศษพืชมากองทับเพื่อท าชั้นต่อไป ปฏิบัติ
เหมือนการกองชั้นแรก ท าเช่นนี้อีก 2-3 ชั้น ชั้นบนสุดของกองปุ๋ยควรปิดทับด้วยเศษพืชที่เหลืออยู่เพื่อ
ป้องกันการสูญเสียความชื้น