Page 42 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน : กรณีศึกษาการปลูกข้าวโพดหวาน บ้านท่าพยอม ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี
P. 42
30
3.2) ล าไย ล าไยอายุ 1-3 ปี (หลังแตกใบอ่อนชุดที่ 1) ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ
ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ในอัตราเท่ากันคือ 1 กิโลกรัมต่อต้น ล าไยอายุ 4 ปี ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมใช้ปุ๋ยสูตร
15-15-15 และปุ๋ยสูตร 46-0-0 ในอัตราเท่ากันคือ 1 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับใช้ปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตรา
0.20 กิโลกรัมต่อต้นต่อน้ า 20 ลิตร ในช่วงเดือนพฤศจิกายนโดยพ่นปุ๋ยทุกๆ 7 วัน ประมาณ 3 ครั้งเพื่อ
ไม่ให้ล าไยแตกใบใหม่ ล าไยอายุ 5 ปีขึ้นไปเป็นช่วงที่ล าไยให้ผลผลิตแล้ว ท าการกระตุ้นการแตกใบอ่อนชุด
ที่ 1 และ 2 (ประมาณเดือนกันยายน) ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และปุ๋ยสูตร 46-0-0 ในอัตราเท่ากันคือ
1 กิโลกรัมต่อต้น จากนั้นช่วงกลางเดือนตุลาคมเป็นช่วงที่ให้ล าไยพักตัวเพื่อพร้อมต่อการออกดอกควรใช้ปุ๋ย
สูตร 46-0-0 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น ระยะล าไยติดผลควรบ ารุงผลให้เจริญเติบโตด้วยปุ๋ย 15-15-15 และ
ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ในอัตราเท่ากันคือ 1 กิโลกรัมต่อต้น ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน สามารถเพิ่มผลผลิต
ด้วยการใช้ปุ๋ยสูตร 0-0-60 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น และหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และปุ๋ย
สูตร 46-0-0 ในอัตราเท่ากันคือ 1 กิโลกรัมต่อไร่ต้น ซ้ าอีกครั้ง
3.3) ส้มเขียวหวาน อายุ 1 ปีใช้ปุ๋ยสูตร 30-10-10 หรือปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือปุ๋ยสูตร
15-15-15 + 46-0-0 (สัดส่วน 1 : 1) อัตรา 0.5-1.0 กิโลกรัมต่อต้น โดยแบ่งใส่ 4-6 เดือนต่อครั้ง และปุ๋ย
อินทรีย์ 10-20 กิโลกรัมต่อต้น เพียงครั้งเดียวในช่วงฤดูฝน ปีที่ 2-4 ใช้ปุ๋ยสูตรเดียวกันกับส้มปีที่ 1 แต่เพิ่ม
อัตราเป็น 1-2 กิโลกรัมต่อต้น โดยใส่ 3-4 เดือนต่อครั้ง และปุ๋ยอินทรีย์ 20-50 กิโลกรัมต่อต้น เพียงครั้ง
เดียวในช่วงฤดูฝน และอายุ 4 ปีขึ้นไป ซึ่งส้มจะเริ่มให้ผลผลิต ควรแบ่งการใส่ปุ๋ยเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงก่อน
ออกดอก ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น และพ่นปุ๋ยธาตุรองและธาตุอาหารเสริมทางใบ ใน
ระยะติดผล พ่นปุ๋ยธาตุรองและธาตุอาหารเสริมทางใบเช่นเดียวกัน ส าหรับช่วงใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิตใช้ปุ๋ย
สูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น ส่วนหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรใส่ปุ๋ยสูตรเดียวกันกับที่ใช้
ในส้มอายุ 1 ปี แต่ใส่อัตรา 1-3 กิโลกรัมต่อต้น พ่นปุ๋ยธาตุรองและธาตุอาหารเสริมทางใบ และใส่ปุ๋ย
อินทรีย์ 20-50 กิโลกรัมต่อต้น (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548ข)
3.2 ข้าวโพด
3.2.1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของข้าวโพด
1) ราก (Root) รากแรกที่ออกมาจากคัพภะ (Embryo) เป็นรากชั่วคราวเรียกว่า ไพรมารี
(Primary) หรือ เซมินัล (Seminal) หลังจากข้าวโพดเจริญเติบโตได้ประมาณ 7-10 วัน รากถาวรจะงอกขึ้น
รอบๆ ข้อปลายๆ ในระดับใต้พื้นดินประมาณ 1-2 นิ้ว รากถาวรนี้เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะแผ่ออกไป
โดยรอบประมาณ 100 เซนติเมตร และแทงลึกลงไปในดินแนวดิ่งยาวมากซึ่งอาจยาวถึง 300 เซนติเมตร
รากของข้าวโพดเป็นระบบรากฝอย (Fibrous root system) (กรมวิชาการเกษตร, 2547ก)
2) ล าต้น (Stem) ข้าวโพดมีล าต้นแข็ง ไส้แน่นไม่กลวง มีความยาวตั้งแต่ 30 เซนติเมตร
จนถึง 8 เมตร แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ ตามล าต้นมีข้อ (Node) และปล้อง (Internode) ปล้องที่อยู่ในดินและ
ใกล้ผิวดินสั้นและจะค่อยๆ ยาวขึ้นไปทางด้านปลาย
3) ใบ (Leaf) ข้าวโพดมีใบลักษณะยาวรีคล้ายพืชตระกูลหญ้าทั่วไป ประกอบด้วยตัวใบ
กาบใบและเขี้ยวใบ ลักษณะของใบรวมทั้งสีของใบแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของพันธุ์
4) ดอก (Flower) ข้าวโพดจัดเป็นพวกโมโนอิเซียส (Monoecious) คือ มีดอกตัวผู้ และ
ดอกตัวเมียแยกอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้ (Tassel) อยู่ตอนบนสุดของล าต้น ดอกตัวผู้ดอกหนึ่งจะมี
อับเกสร (Anther) 3 อับ แต่ละอับจะมีเรณูเกสร (Pollen grain) ประมาณ 2,500 เม็ด ส่วนดอกตัวเมียอยู่