Page 43 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน : กรณีศึกษาการปลูกข้าวโพดหวาน บ้านท่าพยอม ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี
P. 43

31


                  รวมกันเป็นช่อเกิดขึ้นตอนข้อกลางๆ ล าต้น ต้นหนึ่งอาจมีหลายช่อแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกตัวเมียแต่ละดอก
                  ประกอบด้วยรังไข่ (Ovary) และเส้นไหม (Silk) ซึ่งมีความยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร

                                5) ผลและเมล็ด (Fruit and Seed) ผลของข้าวโพดจะขึ้นรวมกันอยู่บนแกนกลางของ
                  ฝัก  (Ear)  ที่เรียกว่า  ซัง  (Cob)  ซึ่งแต่ละผลของข้าวโพดนั้นไม่สามารถแยกออกจากเมล็ดได้ เนื่องจาก
                  องค์ประกอบบางอย่างของผลข้าวโพดได้เปลี่ยนรูปไปจนสังเกตุไม่เห็น จึงดูคล้ายว่าผลข้าวโพด คือ เมล็ด
                  (Seed หรือ Kernel) ชั้นนอกสุดของเมล็ดข้าวโพดเป็นผนังผล (Pericarp) ที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างมาจากผนัง

                  รังไข่ (Ovary wall) ท าหน้าที่ปกป้องส่วนที่อยู่ภายในเมล็ดไม่ให้ถูกรุกล้ าโดยสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น เชื้อราหรือ
                  แบคทีเรีย ถัดจากผนังผลเข้าไปด้านในเป็นชั้นของเยื่อหุ้มเมล็ด (Seed coat หรือ Testa) มีลักษณะเป็น
                  เยื่อบางๆ ใสไม่มีสีเป็นส่วนที่เปลี่ยนแปลงมาจากผนังเซลล์ชั้นนอกของเซลล์ที่ให้ก าเนิดไข่ (Integuments
                  of ordinary seed) ติดแนบสนิทอยู่กับผนังผลไม่สามารถแยกออกจากกันได้ง่าย เรียกเมล็ดพืชที่มีลักษณะ

                  เช่นนี้ว่าเป็นเมล็ดแบบ caryopsis ส่วนบนของเมล็ดพบรอยที่เกิดจากการที่ไหม (Silk) แห้งและหลุดร่วงไป
                  เรียกว่า silk scar ถัดจากชั้นของเยื่อหุ้มเมล็ดเข้ามาภายในจะพบชั้นแอลิวโรน (Aleurone layer) เป็นส่วน
                  เนื้อเยื่อบางๆ มีเม็ดสีเป็นองค์ประกอบจึงท าให้เราเห็นเมล็ดข้าวโพดมีสีแตกต่างกัน

                         3.2.2 การเจริญเติบโตของข้าวโพด
                         เมล็ดข้าวโพดจัดเป็นพวกไม่มีระยะการฟักตัว (Seed  dormancy)  เมื่อเมล็ดแก่เก็บเกี่ยวแล้ว
                  สามารถน าไปปลูกได้เลย เมื่อฝังเมล็ดลงไปในดินเมล็ดจะงอกโผล่พ้นผิวดินและใบแรกคลี่ออกให้เห็นภายใน
                  ประมาณ 4-6 วัน ต่อมาจึงจะมีรากออกมาจากข้อแรก (Nodal  roots)  เพิ่มจากรากชั่วคราวที่มีอยู่แล้ว

                  การเจริญเติบโตของราก ล าต้น ใบ เป็นไปตามล าดับ จนกระทั่งเห็นช่อดอกตัวผู้ซึ่งในระยะนี้ข้าวโพดไร่จะมี
                  อายุประมาณ 50-55 วันหลังจากปลูก การเจริญเติบโตในระยะนี้เข้าสู่ระยะการผสมพันธุ์ (Reproductive
                  stage)  เส้นไหมของดอกตัวเมียจะโผล่พ้นเปลือกหุ้ม (Husk)  ของฝัก พร้อมที่จะรับละอองเกสรได้ภายใน
                  ประมาณ 55-60 วันหลังจากปลูก หลังจากได้รับการผสมเกสรแล้ว รังไข่จะเจริญกลายเป็นเมล็ดอ่อนและ

                  เมล็ดแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ภายในประมาณ 45 วันหลังการผสมเกสร (สุทัศนีย์, 2556)

                         3.2.3 ชนิดข้าวโพด
                         จ าแนกตามพฤกษศาสตร์แบ่งออกเป็น 7 ชนิด คือ

                                1)  ข้าวโพดหัวบุบ (Dent  corn)  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Zea  mays  indentata
                  เมล็ดตอนบนมีรอยบุ๋ม เนื่องจากตอนบนมีแป้งอ่อนและตอนข้างๆ เป็นแป้งชนิดแข็ง เมื่อตากเมล็ดให้แห้ง
                  แป้งอ่อนจะยุบหดตัวลงจึงเกิดลักษณะหัวบุบดังกล่าว นิยมปลูกกันมากในสหรัฐอเมริกา
                                2) ข้าวโพดหัวแข็ง (Flint corn) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Zea mays indurata เมล็ด

                  มีแป้งแข็งห่อหุ้มโดยรอบ หัวเรียบไม่บุบเมล็ดค่อนข้างกลม มีปลูกกันมากในเอเชียและอเมริกาใต้
                                3) ข้าวโพดหวาน (Sweet corn) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea mays saccharata นิยม
                  ปลูกกันอย่างแพร่หลายเพื่อรับประทานฝักสดเพราะฝักมีน้ าตาลมาก ท าให้มีรสหวาน เมื่อแก่เต็มที่หรือแห้ง
                  เมล็ดจะหดตัวเหี่ยวย่น

                                4)  ข้าวโพดคั่ว (Pop  corn)  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea  mays  everta  เมล็ดมีขนาด
                  ค่อนข้างเล็ก มีแป้งประเภทแข็งอยู่ใน ภายนอกห่อหุ้มด้วยเยื่อที่เหนียวและยืดตัวได้
                                5) ข้าวโพดข้าวเหนียว (Waxy corn) ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea mays ceratina เมล็ด
                  มีแป้งอ่อนคล้ายแป้งมันส าปะหลัง นิยมปลูกเพื่อรับประทานฝักสดคล้ายข้าวโพดหวาน แม้จะไม่หวานมาก

                  แต่เมล็ดนิ่ม รสอร่อย
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48