Page 21 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 21
9
ฝักอ่อนดูดใช้ธาตุอาหารหลักไปอยู่ในส่วนต่างๆของต้นคือ อยู่ในส่วนที่เป็นฝักอ่อนมากที่สุดและสะสม
ในส่วนที่เป็นต้นและใบน้อยที่สุด โดยพบว่าฝักสดทั้งเปลือก 100 กิโลกรัม มีธาตุอาหารสะสมในส่วน
ต่างๆ ดังนี้ (มงคล, 2528)
ตารางที่ 1 ธาตุอาหารในส่วนต่างๆของข้าวโพดฝักอ่อนในการผลิตฝักอ่อนน้ าหนัก 100 กิโลกรัม
(เปอร์เซ็นต์)
ชนิดของธาตุอาหาร เปลือกหุ้มฝัก ฝักอ่อน ต้นและใบ
ไนโตรเจน 1.12 – 1.62 2.38 – 2.92 0.69 – 1.66
ฟอสฟอรัส 0.25 – 0.33 0.46 – 0.52 0.11 – 0.14
โพแทสเซียม 0.95 – 1.19 1.46 – 1.62 0.34 – 1.02
ที่มา : มงคล (2528)
ไนโตรเจน เป็นธาตุอาหารที่จ าเป็นอย่างยิ่งส าหรับข้าวโพดฝักอ่อน โดยช่วยให้ข้าวโพดมีการ
เจริญเติบโตและช่วยให้น้ าหนักสูงสุด ไนโตรเจนที่ข้าวโพดฝักอ่อนดูดขึ้นไปมีการสะสมที่ฝักอ่อนมาก
ที่สุด โดยการดูดใช้ไนโตรเจนมากในระยะ 15 – 45 วันหลังงอก คิดเป็นปริมาณไนโตรเจน 2.5 – 4
เปอร์เซ็นต์
ฟอสฟอรัส ข้าวโพดฝักอ่อนมีความต้องการฟอสฟอรัสในปริมาณที่น้อยกว่าไนโตรเจนมาก
ดินในบริเวณที่มีการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนส่วนมากมีฟอสฟอรัสในดินมากเพียงพอต่อความต้องการของ
ข้าวโพดฝักอ่อนอยู่แล้ว การดูดใช้ฟอสฟอรัสจะมากในช่วง 15 วันหลังงอก ถึง 0.6 เปอร์เซ็นต์
ปริมาณการดูดจะลดลงเหลือ 0.2 – 0.3 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง 30 – 60 วันหลังงอก
โพแทสเซียม เป็นธาตุอาหารที่ข้าวโพดต้องการปริมาณมาก พบว่าในดินโดยทั่วไปในแหล่ง
ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนมีโพแทสเซียมเพียงพอ โดยธาตุนี้ถูกดูดสะสมอยู่ในฝักอ่อนและเปลือกหุ้มฝักมาก
ที่สุด โดยข้าวโพดฝักอ่อนจะดูดธาตุโพแทสเซียมในระยะเวลา 15 วันแรกถึง 7 เปอร์เซ็นต์ แล้วค่อยๆ
ลดลงเมื่อต้นข้าวโพดฝักอ่อนโตมากขึ้น
2.7 ลักษณะโดยทั่วไปของข้าวโพดฝักอ่อนที่น ามาศึกษา
ข้าวโพดฝักอ่อนที่น ามาศึกษาเป็นข้าวโพดฝักอ่อนพันธุ์แปซิฟิก 283 เป็นข้าวโพดพันธุ์
ลูกผสมเปิดที่บริษัทแปซิฟิก เมล็ดพันธุ์ จ ากัด ได้ท าการปรับปรุงและพัฒนาเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเกษตรกรใน
ภาคตะวันตก โดยเฉพาะในจังหวัดกาญจนบุรีได้ให้ชื่อพันธุ์แปซิฟิก 283 ว่าเป็น “พันธุ์ปลดหนี้” เพราะ
ปลูกแล้วได้ผลผลิตสูง จุดเด่นของพันธุ์นี้ คือ เป็นพันธุ์ลูกผสมที่ได้ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดและ