Page 25 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 25

13




                  เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน  และปรับปรุงบ ารุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์  รวมถึงทดแทนธาตุ

                  อาหารบางส่วนที่พืชน าไปใช้ในระหว่างการเพาะปลูก  ซึ่งธาตุอาหารพืชได้สูญเสียไปโดยติดไปกับ

                  ผลผลิตทางการเกษตร (ฉวีวรรณ และคณะ, 2544) การตัดเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชควรเหลือต้นตอซัง ใบและ
                  ยอดไว้ในแปลงเสมอ ไม่ควรเผาท าลายเพราะท าให้ธาตุอาหารบางธาตุในเศษเหลือพืชเป็นก๊าซสูญเสียไป

                  มีเกษตรกรน้อยรายที่ใช้วิธีไถกลบต้นข้าวโพดลงแปลงเพื่อท าเป็นปุ๋ยบ ารุงดิน  เนื่องจากหลังจากหักฝัก

                  ออกไปแล้ว จะมีพ่อค้าเข้ามาซื้อต้นเพื่อน าไปผลิตเป็นพืชอาหารสัตว์โดยซื้อเหมายกสวนราคาตั้งแต่ไร่ละ
                  700-800 บาท หรือแล้วแต่จะตกลงกับเจ้าของแปลง เท่ากับว่าการขายต้นเป็นการได้ต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์

                  คืนมา (วรรณภา, 2549) พืชไร่ที่ให้ตอซังในปริมาณมากพอ ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ซึ่งเป็นพวกธัญพืชที่

                  มี  C/N  ratio  กว้าง  (60:1)  ส่วนตอซังถั่วเหลือง  ถั่วลิสง  และถั่วเขียว  เป็นกลุ่มพืชที่มี  C/N  ratio  40:1

                  (ด าริ  และ  สุทิน,  2542)  วัสดุเหลือใช้จากการเกษตรที่มีมากกว่าวัสดุชนิดอื่นคือ  ฟางข้าว  มีรวมทั้งสิ้น
                  25.45 ล้านตันต่อปี และพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาได้แก่เศษต้นข้าวโพด เศษต้นถั่ว

                  เหลืองที่พบมากทางภาคเหนือปริมาณตอซังในพื้นที่การเกษตรมีจ านวน 29.1 ล้านตันต่อปี ประกอบด้วย

                  ตอซังข้าว ตอซังข้าวโพดเศษใบอ้อย ตอซังตระกูลถั่วและตอซังข้าวฟ่าง มีปริมาณ 16.9, 1.8, 2.0, 1.5 และ
                  0.9 ล้านตันต่อปี  ตามล าดับ โดยในพื้นที่การเกษตร 1 ไร่ จะมีปริมาณตอซังข้าว ตอซังข้าวโพด เศษใบ

                  อ้อย ตอซังพืชตระกูลถั่ว และตอซังข้าวฟ่างจ านวน 1.03, 0.49, 0.91, 0.58 และ 0.45 ตันต่อไร่ ตามล าดับ

                  ปริมาณธาตุอาหารในวัสดุตอซังดังกล่าวมี ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม โดยเฉลี่ย 0.99, 0.26
                  และ 2.03% ตามล าดับ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2544) ปริมาณฟางข้าวและใบอ้อยที่เหลือในพื้นที่เพาะปลูกมี

                  ประมาณ 50 และ 9 ล้านตัน/ปี ตามล าดับ และซากพืชอื่นๆ ที่ตกค้างในแปลงมีประมาณ 150 ล้านตัน/ปี

                  (สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย, 2546)
                                     3.1.5 ผลพลอยได้จากโรงงานแปรรูปผลิตทางการเกษตรอุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิต

                  ทางการเกษตร เช่น โรงสี โรงงานน้ าตาล โรงงานแป้งมันส าปะหลัง โรงงานหีบน้ ามันจากเมล็ดพืช ฯลฯ

                  เศษวัสดุที่เป็นผลพลอยได้ที่เป็นกากหรือของเสียนั้นบางชนิดสามารถน าไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น

                  กากอ้อยน าไปท ากระดาษ บางชนิดอาจน าไปใช้ในกิจการเลี้ยงสัตว์ เช่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง แต่ก็
                  ยังมีอีกหลายชนิดซึ่งไม่เหมาะที่จะน าไปใช้ประโยชน์อื่นๆ แต่สามารถที่จะน ามาใช้หรือปรุงแต่งให้เป็น

                  ปุ๋ยได้ เช่น แกลบ กากอ้อยป่น กากละหุ่ง กากเมล็ดนุ่น กากผงชูรส ฯลฯ ส าหรับกากละหุ่ง กากเมล็ดนุ่น

                  และกากผงชูรสนั้น สามารถน าไปใช้เป็นปุ๋ยได้โดยตรงเนื่องจากมีไนโตรเจนอยู่ในปริมาณสูง แต่แกลบ

                  และกากอ้อยป่นนั้นจะต้องปรุงแต่งโดยการเติมธาตุอาหารพืชที่ยังขาดลงไป แล้วหมักให้เปื่อยยุ่ยเสียก่อน
                  จึงมีสภาพเหมาะสมที่จะน ามาใช้เป็นปุ๋ย ปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ในกาก

                  เมล็ดนุ่น กากละหุ่ง กากอ้อยป่น และกากถั่วบางชนิด (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541)
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30