Page 24 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 24

12




                                     3.1.2 ปุ๋ยคอก  คือปุ๋ยอินทรีย์ที่ประกอบด้วยอุจจาระ ปัสสาวะ ของสัตว์ต่างๆ เช่น โค

                  กระบือ สุกร ม้าเป็ด ไก่ แพะ แกะ ค้างคาว และสัตว์อื่นๆ ผสมกับเศษอาหารต่างๆ เข้าไปด้วย ในปุ๋ยคอก

                  จึงมีจุลินทรีย์และสารอินทรีย์ต่างๆ มากมาย มีทั้งพวกที่เป็นฮิวมัสแล้ว และส่วนของอาหารที่ยังสลายตัว
                  ไม่หมด  มีทั้งส่วนที่เป็นเซลลูโลส  ลิกนิน  และสารอินทรีย์อื่นๆ  นอกจากนั้นยังพบว่ามีวิตามิน  และ

                  ฮอร์โมนพืช  เช่น  กรดอะมิโน  ไทอามีน  (thiamine)  ไบโอติน  (biotin)  และ  ไพริด็อกซิน  (pyridoxin)

                  เป็นต้น (ธงชัย, 2546) อย่างไรก็ตามคุณสมบัติของมูลสัตว์เหล่านี้จะประกอบไปด้วยธาตุใดมากหรือน้อย
                  ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่สัตว์ชนิดนั้นๆกินเข้าไป และขึ้นอยู่กับโอกาสที่อุจจาระและปัสสาวะของสัตว์

                  จะมารวมอยู่ในที่เดียวกัน ดังนั้นมูลนก มูลค้างคาวและมูลสัตว์เลี้ยงประเภทสัตว์ปีกจึงมีความเข้มข้นของ

                  N P K ในมูลสูง เพราะสัตว์เหล่านี้บริโภคปลา แมลง และสัตว์เล็ก มากกว่าบริโภคอาหารที่มาจากพืช

                  และในการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะของสัตว์ปีกจะรวมกันออกจากระบบขับถ่ายมาพร้อมกัน
                  ส าหรับสัตว์ใหญ่ เช่น ช้าง ม้า โค กระบือนั้น มักจะใช้พืชเป็นอาหารจึงมักมีความเข้มข้นของ N P K ใน

                  มูลค่อนข้างต่ า  องค์ประกอบของธาตุอาหารต่างๆ  ในมูลสัตว์บางชนิดได้ปุ๋ยมูลสัตว์ที่รวบรวมได้  ถ้ามี

                  ความชื้นสูงจะมีการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุ และจะมีการสูญเสียอินทรีย์สารในรูปของ CO  และ NH
                                                                                                         3
                                                                                                 2
                  ท าให้ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดลดน้อยลง  ดังนั้นถ้าจะเก็บรักษาเอาไว้ใช้นานๆ  ควรน ามาท าให้แห้ง
                  สนิทแล้วกองรวมกันไว้ แต่ถ้าต้องการใช้ในเวลา 2-3 เดือน ควรท าให้ชื้นเพื่อให้ปุ๋ยมูลสัตว์นี้ค่อยๆ ย่อย

                  สลายลงไปบ้าง  เมื่อน าไปใช้จะไม่มีความร้อนเกิดขึ้นสูงจนเป็นผลเสียแก่พืช  (คณาจารย์ภาควิชา
                  ปฐพีวิทยา, 2541) ในประเทศไทยมีมูลสัตว์ปีละ 21.4 ล้านตัน ส าหรับพื้นที่เพาะปลูก 131 ล้านไร่ มูลสัตว์

                  163 กก./ไร่ (สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย, 2546)

                                     3.1.3 ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยที่ได้จากการใช้พืชสดชนิดต่างๆ ที่คาดว่าจะให้ประโยชน์ในแง่
                  การเป็นปุ๋ยต่อพืชที่จะได้รับการใส่พืชสดนั้นๆ พืชที่ใช้เป็นปุ๋ยอาจเป็นพืชตระกูลถั่ว ตระกูลหญ้า หรือพืช

                  อื่นๆส่วนใหญ่จะเป็นพืชโตเร็วที่มีลักษณะง่ายต่อการตัดหรือไถกลบ  ซึ่งเมื่อปล่อยให้เจริญเติบโตขึ้นมา

                  ระยะหนึ่งจะได้อินทรีย์สารมากพอและมีธาตุอาหารพืชธาตุต่างๆ  สะสมในส่วนของต้นในปริมาณสูง

                  (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541) พบว่าถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ถั่วแปบ ปอเทือง เหมาะสมที่จะน ามาใช้เป็นปุ๋ย
                  พืชสด เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการปลูกปุ๋ยพืชสดได้แก่ ต้นฤดูฝน โดยปล่อยให้ขึ้นคลุมดินจนมีอายุได้

                  45-60 วัน จึงไถกลบทิ้งไว้ประมาณ 15 วันจึงปลูกพืชหลักตาม เพื่อปล่อยให้มีการสลายตัวและปลดปล่อย

                  ไนโตรเจนให้ออกมาเป็นประโยชน์ พืชที่ควรปลูกตามควรเป็นข้าวโพดข้าวฟ่าง มันส าปะหลัง หรือฝ้าย

                  ไม่ควรปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชหลักเพราะจะเป็นการสะสมศัตรูพืชและอาจจะเฝือใบได้ (ด าริ และ
                  สุทิน, 2542)

                                     3.1.4 การไถกลบเศษเหลือพืช  เป็นการน าวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรที่ได้หลังจากการ

                  เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วใส่ลงในดินระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกโดยท าการไถกลบวัสดุเศษเหลือพืช
                  แล้วทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายวัสดุในดินก่อนที่จะด าเนินการปลูกต่อไป เพื่อ
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29