Page 23 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 23

11




                  3. ปุ๋ยอินทรีย์



                                     3.1 ความหมายและชนิดของปุ๋ยอินทรีย์

                                     ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง  ปุ๋ยที่มีองค์ประกอบหลักเป็นสารอินทรีย์ต่างๆที่ได้มาจากซากพืช
                  ซากสัตว์  สิ่งขับถ่ายจากสัตว์  เศษเหลือของสารอินทรีย์ต่างๆที่ใส่ลงในดินแล้วให้ธาตุอาหารหลัก  ธาตุ

                  อาหารรองและจุลธาตุแก่พืช บ ารุงดิน ปรับปรุงดินมีคุณสมบัติทางสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพดี

                  ขึ้น ปริมาณของธาตุอาหารแต่ละธาตุในปุ๋ยอินทรีย์โดยทั่วไปมีค่อนข้างต่ าและต้องผ่านกระบวนการย่อย
                  สลายโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์เสียก่อน จึงปลดปล่อยออกมารูปที่เป็นประโยชน์แก่พืช (สมาคมดินและ

                  ปุ๋ยแห่งประเทศไทย,  2546)  ปุ๋ยอินทรีย์สามารถท าได้หลายชนิดขึ้นอยู่กับวัสดุเริ่มต้นและกระบวนการ

                  ผลิต ได้แก่
                                     3.1.1 ปุ๋ยหมัก  คือ ปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์สารที่ผ่านการหมักให้สลายตัวผุพังไปบางส่วนแต่

                  การที่จะปล่อยให้สลายตัวผุพังไปเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่อ านวยให้ชนิดของวัสดุที่ใช้ และกรรมวิธี

                  ในการหมักตลอดจนการต้องการของผู้ใช้ โดยปกติจะหมักให้อินทรีย์สารเหล่านั้นเปื่อยยุ่ยจนเป็นสีคล้ า
                  หรือด าก็เป็นอันว่าใช้ได้ แต่ถ้าใช้ในการเพาะปลูกพืชล้มลุกที่ต้นเล็กอาจต้องหมักไว้จนกระทั่งมีลักษณะ

                  เป็นผงละเอียดจึงจะน าไปใช้ได้  อินทรีย์สารที่น ามาหมักนั้นอาจเป็นเศษพืชอย่างเดียวหรือเป็นเศษพืช

                  ผสมซากสัตว์หรืออาจผสมปุ๋ยคอกลงไปบางส่วนก็ได้ เมื่อน ามากองรวมกันและให้ความชื้นให้เหมาะสม

                  จะท าให้เกิดการย่อยสลายโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์อย่างรวดเร็ว  ซึ่งสังเกตได้ว่าจะมีความร้อนเกิดขึ้น
                  ภายในกองจึงต้องกลับปุ๋ยและรดน้ าให้ทั่ว ท าเช่นนี้ 2-3 ครั้ง และหมักไปจนกระทั่งความร้อนภายในกอง

                  หมดไป (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541) ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์จะมีสมบัติคล้ายกับอินทรียวัตถุ ซึ่งจะ

                  เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในการบ ารุงดินมากที่สุด  ปัจจุบันนี้มีการผลิตปุ๋ยหมักในเชิงอุตสาหกรรมมาใช้ในการ

                  ปลูกพืช ส่วนปุ๋ยหมักที่เกษตรกรผลิตขึ้นใช้เองนั้นยังมีปริมาณน้อย (ด าริ และสุทิน, 2542) ปุ๋ยหมักที่มี
                  คุณภาพดีควรมีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ต่ ากว่าหรือเท่ากับ 20:1 มีปริมาณธาตุ

                  อาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม 1,  1 และ 0.5 ตามล าดับ  ปริมาณอินทรีย์วัตถุไม่เกิน

                  60 เปอร์เซ็นต์ ควรมีความชื้นของปุ๋ยหมักที่ 35 เปอร์เซ็นต์ ระดับความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อยู่ระหว่าง
                  5.5-8.5 และความเค็มที่วัดค่าการน าไฟฟ้า (EC) ไม่เกิน 3.5 dS/m เมื่อการย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์จะได้

                  สารอินทรีวัตถุที่มีความคงทน ไม่มีกลิ่น มีสีน้ าตาลปนด า (มุกดา, 2545) การท าปุ๋ยหมักต้องค านึงถึงวัสดุ

                  เกษตรที่น ามาท าปุ๋ยหมัก ต้องดูสัดส่วนของ C:N ratio ใช้ซังข้าวโพดที่มี C:N ratio ประมาณ 18-22 กับ
                  มูลสัตว์ เริ่มกระบวนการหมักโดยใช้ซังข้าวโพด 1 ส่วน มูลสัตว์ 2 ส่วน รักษาความชื้น 40% โดยน้ าหนัก

                  ความชื้นไม่ควรสูงมาก เพราะจุลินทรีย์จะตาย ในปุ๋ยหมักมีจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลายอยู่แล้ว นอกจากนี้ยัง

                  มีกรดอินทรีย์ ช่วยย่อยวัสดุ ใช้เวลาประมาณ 20-30 วัน กลับกองบ่อยๆ จะเป็นปุ๋ยหมักเร็วขึ้น (นันทกา,
                  2548)
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28