Page 26 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 26
14
3.2 ความส าคัญของปุ๋ยอินทรีย์ต่อการปรับปรุงบ ารุงดิน
ปุ๋ยอินทรีย์เป็นแหล่งส าคัญของอินทรียวัตถุที่จะท าให้สภาพต่างๆ ของดินดีขึ้น
ความส าคัญของปุ๋ยอินทรีย์ในการปรับปรุงดิน สามารถสรุปได้ดังนี้ (ธงชัย, 2546)
3.2.1 ปุ๋ยอินทรีย์โดยทั่วไปจะมีธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมน้อย แต่จะมี
ธาตุรองและจุลธาตุพอเพียงหรือเกือบพอเพียงตามความต้องการของพืช
3.2.2 ในระยะแรกๆ ปุ๋ยอินทรีย์อาจท าให้พืชมีผลผลิตไม่สูงมากนัก แต่ถ้าพิจารณาใน
ระยะยาวแล้วผลผลิตจะสูงขึ้นมาก เนื่องจากคุณสมบัติของดินจะดีขึ้นเรื่อยๆ
3.2.3 ปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยให้ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเปลี่ยนแปลงไปยากขึ้น รวมทั้ง
ช่วยดูดยึดธาตุอาหารต่างๆ เอาไว้ไม่ให้สูญเสียไปจากดินได้โดยง่าย
3.2.4 ส่งเสริมให้อนุภาคของดินจับตัวกันเป็นก้อนหรือเป็นเม็ดดิน ดินไม่อัดตัวกันแน่น
มีการถ่ายเทอากาศดี การอุ้มน้ าและการไหลซึมของน้ าในดินดีขึ้น
3.2.5 ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน จุลินทรีย์ส่วนใหญ่ที่มี
ประโยชน์ในดินเป็นพวกเฮทเทอโรโทรพ (Heterotroph) ซึ่งต้องใช้สารอินทรีย์จากดินเป็นแหล่งของ
อาหาร การเติมปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในดินจึงเป็นการเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อความอุดม
สมบูรณ์ของดินด้วย
3.2.6 ธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์จะมีโอกาสสูญเสียน้อย เพราะธาตุอาหารบางส่วนเป็น
องค์ประกอบของสารอินทรีย์ในปุ๋ย และบางส่วนจะถูกดูดยึดอยู่ในปุ๋ยอินทรีย์ในรูปของคีเลต
4. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
4.1 ความหมายของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เป็นปุ๋ยที่ได้จากการน าวัสดุอินทรีย์และหรืออนินทรีย์วัตถุธรรมชาติ
ทางการเกษตรที่มีธาตุอาหารสูงมาผ่านการหมักจนสลายตัวสมบูรณ์ หรือการน าปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการ
สลายตัวสมบูรณ์แล้วผสมกับวัสดุอินทรีย์หรืออนินทรีย์ธรรมชาติทางการเกษตรที่มีธาตุอาหารสูง เช่น
การน าปุ๋ยหมักที่เป็นแล้วผสมกับวัสดุอินทรีย์หรืออนินทรีย์ธรรมชาติทางเกษตรที่มีธาตุอาหารสูง เช่น
กระดูกป่น มูลค้างคาวหรือหินฟอสเฟต เป็นต้น (ส านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน 2551)