Page 18 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 18

6




                                      2.3 พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน

                                                 (กรมวิชาการเกษตร 2545)  ได้รายงานว่าพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่นิยมปลูกเป็นการค้ามี  2 กลุ่ม  คือ

                                      2.3.1  พันธุ์ลูกผสม  เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด  เนื่องจากผลผลิตที่ได้
                  เป็นที่ต้องการของตลาดและโรงงาน  มีลักษณะทางการเกษตรสม่ าเสมอได้แก่  ขนาดของฝัก  ความสูงฝัก

                  ความสูงของต้น  อายุวันออกดอกตัวผู้และวันออกไหม  วันเริ่มเก็บเกี่ยวและช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวให้

                  ผลผลิตและคุณภาพสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิด  มีความต้านทานต่อโรคราน้ าค้าง  เมล็ดพันธุ์กิโลกรัมละ

                  60 – 90  บาท  พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่  พันธุ์  จี 5414  พันธุ์เอสจี  18  พันธุ์แปซิฟิค  116  พันธุ์แปซิฟิค
                  283  พันธุ์ยูนิซิดส์  บี – 65 และพันธุ์เกษตรศาสตร์  2

                                      2.3.2  พันธุ์ผสมเปิด  ลักษณะทางการเกษตรไม่สม่ าเสมอเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์

                  ลูกผสม  มีความต้านทานต่อโรคราน้ าค้าง  เมล็ดพันธุ์ถูกกว่าพันธุ์ลูกผสมคือ  ราคากิโลกรัมละ  10 – 20
                  บาท  พันธุ์ที่นิยมปลูกมี  2  พันธุ์ได้แก่  เชียงใหม่  90  และสุวรรณ  2



                                      2.4 การปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว
                                      2.4.1 การเตรียมดินส าหรับปลูก

                                         การเตรียมดินปลูกข้าวโพดฝักอ่อนที่ดีควรมีการปฏิบัติเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ

                  กล่าวคือ หลังจากที่มีฝนตกจนกระทั่งดินมีความชื้นพอเหมาะ การเตรียมดินส าหรับปลูกข้าวโพดสามารถ

                  ปฏิบัติได้ดังนี้
                                         การไถดะ (primary tillage) เป็นการไถครั้งแรกเพื่อเปิดหน้าดิน ส่วนใหญ่ใช้ผาน 3

                  ผาน 4 หรือไถหัวหมู ติดท้ายรถแทกเตอร์ เพื่อพลิกหน้าดินและเก็บวัชพืช โดยก าหนดให้ความลึกในการ

                  ไถประมาณ 30 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7 – 10 วัน
                                         การไถแปรและการพรวน (secondary  tillage  and  harrowing)  เป็นการไถขวาง

                  แนวการไถดะเพื่อย่อยดินให้แตกและคลุกเคล้าเศษซากพืชและอินทรียวัตถุได้อย่างสม่ าเสมอ หากการ

                  ไถแปรยังท าให้ดินละเอียดไม่เพียงพอ ก าหนดให้มีการไถอีก 1 - 2 ครั้ง ในกรณีที่มีการไถดะแล้วดินร่วน

                  พอควร อาจยกเว้นการไถแปร คงเหลือแต่การไถพรวนอย่างเดียวได้ การไถแปรมักจะใช้ผาน 3 หรือ
                  ผาน 4 ส่วนการพรวนมักจะใช้ผาน 7 ติดท้ายรถแทรกเตอร์

                                          การชักร่องระหว่างแถวข้าวโพด เป็นการปฏิบัติหลังข้าวโพดงอกแล้ว

                  (post  emergence  cultivation)  มีวัตถุประสงค์เพื่อการก าจัดวัชพืชและเป็นการกลบปุ๋ยเสริมที่ใส่ให้กับ
                  ข้าวโพดในขณะเดียวกัน รวมทั้งเป็นการพูนโคนให้กับข้าวโพดเสริมสร้างความแข็งแรง ไม่ให้มีการหัก

                  ล้มได้ง่ายอีกด้วย
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23