Page 19 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 19

7




                                      2.4.2 อัตราปลูกที่เหมาะสมส าหรับข้าวโพดฝักอ่อน

                                         ค าแนะน าส าหรับการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ควรใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกสูงกว่า

                  85% อัตรา 4.5 – 6 กิโลกรัมต่อไร่ หยอดลึกประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร จ านวนต้นที่เหมาะสมประมาณ
                  18,000 – 20,000 ต้นต่อไร่  ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ ใช้ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร  ระยะระหว่าง

                  หลุม 25 เซนติเมตร หรือใช้ระยะปลูก  40x40 เซนติเมตร แล้วถอนแยกให้เหลือ 2 ต้นต่อหลุม

                  (กรมวิชาการเกษตร,2547)
                                      2.4.3 การใช้ปุ๋ยกับข้าวโพดฝักอ่อนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น มงคล  (2528) ได้ทดลอง

                  และวิจัยถึงการใช้ปุ๋ยกับข้าวโพดฝักอ่อนไว้อย่างละเอียดโดยกล่าวว่า  เนื่องจากบริเวณที่เป็นแหล่งปลูก

                  ข้าวโพดฝักอ่อนส่วนใหญ่อยู่แถบที่ราบลุ่มภาคกลางหลายจังหวัด บริเวณเหล่านี้ยังมีธาตุอาหารพืชอย่าง

                  สมบูรณ์การใส่ปุ๋ยข้าวโพดฝักอ่อนพอจะจ าแนกได้ดังนี้ คือ
                                         1) ที่ราบลุ่มภาคกลาง แบ่งเป็น 2 ส่วน

                                            (1)  ที่ราบลุ่มภาคกลางตอนบนคลุมพื้นที่จังหวัดชัยนาท  พระนครศรีอยุธยา

                  สิงห์บุรี  และอ่างทอง  หากมีการใช้ปุ๋ยนากับการปลูกข้าวในนาดินเหนียวมาก่อน  การปลูกข้าวโพด
                  ฝักอ่อน  ให้ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ (แอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0 อัตรา 100-150

                  กิโลกรัมต่อไร่) เพียงอย่างเดียวโดยแบ่งใส่ 2-3 ครั้งๆ ละเท่าๆ กันคือรองก้นหลุมก่อนปลูก ที่เหลือใส่

                  ตอนข้าวโพดอายุ 20-25 และ 35-40 วัน หลังงอก โดยวิธีใส่ข้างแถวปลูก หากไม่เคยใส่ปุ๋ยนามาก่อนการ
                  ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนนั้นควรใส่ปุ๋ยนาสูตร 16-20-0 อัตรา 40-50 กิโลกรัม (แอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0

                  อัตรา  50-75 กิโลกรัมต่อไร่)  โดยวิธีโรยข้างแถวแล้วพูนโคกกลบปุ๋ย

                                             (2) ที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่าง ได้แก่ บริเวณจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี ราชบุรี
                  นครปฐม  สมุทรปราการ  และสมุทรสาคร  บริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่มีการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนอย่าง

                  หนาแน่นจะเป็นพื้นที่ยกร่องสวนปลูกผักและผลไม้  ดินแถบนี้เป็นดินตะกอนจากแม่น้ าเจ้าพระยา  แม่

                  น้ าท่าจีน มาตกตะกอนทับถมเป็นดินเหนียวที่มีความอุดมบูรณ์สูง และการปลูกผักมีการใช้ปุ๋ยเป็นจ านวน

                  มากท าให้มีธาตุฟอสฟอรัสเเละอื่นๆ  สะสมทุกครั้งที่มีการปลูกพืช  ซึ่งการปลูกปีละไม่ต่ ากว่า  2-3  ครั้ง
                  การใช้ปุ๋ยกับข้าวโพดฝักอ่อนท้องที่จึงควรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเพียงอย่างเดียวก็เป็นการเพียงพอแล้ว  โดยใช้

                  ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) อัตรา 50-100 กิโลกรัม แบ่งใส่ 2 ครั้งๆละเท่าๆกัน

                                         2) ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                                             ในพื้นที่นี้มีการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนหลังฤดูการท านาข้าว  ซึ่งดินในภูมิภาคนี้
                  เป็นดินร่วนปนทรายถึงร่วนเหนียวปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในเกณฑ์ต่ า ธาตุอาหารหลัก

                  ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนจ าเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ

                  20-10-0  รองก้นหลุมอัตรา  75-100  กิโลกรัมต่อไร่  ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต  (21-0-0)  อัตรา  50-75
                  กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวเมื่อข้าวโพดฝักอ่อนอายุ 25 วันหลังงอก
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24