Page 20 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 20

8




                                      2.4.4 การเก็บเกี่ยว

                                         1) ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม

                                             (1) เมื่อข้าวโพดอายุ 45 – 60 วันหลังงอก หรือ 7 – 10 วันวันหลังถอดดอกตัวผู้ทิ้ง
                                             (2) เก็บเกี่ยวเมื่อฝักมีไหมโผล่ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร

                                         2) วิธีการเก็บเกี่ยว

                                              (1) ตัด หรือหักให้ถึงบริเวณก้านฝักที่ติดล าต้น
                                              (2) ต้องระมัดระวังไม่ให้ฝักหรือส่วนปลายฝักเกิดหักเสียหาย

                                              (3) ต้องเก็บเกี่ยวทุกวันให้แล้วเสร็จภายใน 7-10 วัน มิฉะนั้นขนาดของฝักจะ

                                               ไม่ได้มาตรฐานตามที่ต้องการ


                                      2.5 มาตรฐานข้าวโพดฝักอ่อน

                                      กรมวิชาการเกษตร (2547) ได้ก าหนดมาตรฐานข้าวโพดฝักอ่อนที่ตลาดต้องการ แบ่งได้

                  4 ลักษณะ คือ
                                      2.5.1  ข้าวโพดฝักอ่อนทั้งเปลือก 1 กิโลกรัม จะมีฝักอ่อนประมาณ 20 – 22 ฝัก

                                      2.5.2  ข้าวโพดฝักอ่อนปอกเปลือกแล้ว   โดยเหลือส่วนของเปลือกสีเขียวติดอยู่ที่โคน

                  หรือขั้วฝัก ซึ่งเรียกกันว่าข้าวโพดฝักอ่อนหัวเขียว มีอัตราแลกเนื้อเท่ากับ 4.5 : 1 คือ ข้าวโพดฝักอ่อนทั้ง
                  เปลือก 4.5 กิโลกรัม จะมีข้าวโพดฝักอ่อนหัวเขียว 1 กิโลกรัม

                                      2.5.3 ข้าวโพดฝักอ่อนปอกเปลือกมีขั้วหรือข้าวโพดฝักอ่อนเกลาขั้ว คือ ข้าวโพดฝักอ่อน

                  ที่ปอกเปลือกทั้งหมดออกจากฝักแล้ว แต่ยังเหลือขั้วติดกับฝักอยู่ประมาณ 1-2 เซนติเมตร มีสัดส่วนของ

                  ฝักทั้งเปลือกกับเนื้อเท่ากับ 3.5 : 1
                                      2.5.4  ข้าวโพดฝักอ่อนปอกเปลือกตัดขั้ว คือ ข้าวโพดฝักอ่อนที่ปอกเปลือกทั้งหมดและ

                  ตัดขั้วทั้งหมด เหลือแต่ส่วนจองฝักเท่านั้น ลักษณะเช่นนี้จะถูกน าใช้ในโรงงานแปรรูป มาตรฐาน

                  โดยทั่วไปของข้าวโพดฝักอ่อนเมื่อปอกเปลือกแล้ว ควรมีลักษณะดังนี้ คือ ฝักตรงไม่งอ ปลายฝักไม่หัก
                  ฝักมีสีเหลือง หรือสีเหลืองครีม ฝักสด ไม่เก็บไว้นานจนเกินไป ไม่ผ่านการแช่น้ ามาก่อน การเรียงของไข่

                  ปลาตรงและแถวชิด ไม่แยกเป็นร่อง ขนาดฝักปอกเปลือกเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5  เซนติเมตร ความยาว

                  ของข้าวโพดฝักอ่อนที่ปอกเปลือกแล้วเป็น 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก ความยาวฝัก 4-7 เซนติเมตร ขนากลาง

                  ความยาวฝัก 7-10 เซนติเมตร และขนาดใหญ่ ความยาวฝัก 10-13 เซนติเมตร


                                      2.6 ความต้องการธาตุอาหารของข้าวโพดฝักอ่อน

                                      ข้าวโพดฝักอ่อนมีความต้องการธาตุอาหารหลักพวกไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และ
                  โพแทสเซียม  เพื่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ (มงคล, 2526: หริ่งและคณะ, 2527) ข้าวโพด
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25