Page 17 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 17

5




                  ประมาณ 40 – 45 วันหลังจากปลูก หลังจากนั้นประมาณ 3 – 5 วัน จึงเริ่มเก็บเกี่ยวได้  ขึ้นอยู่กับพันธุ์และ

                  ฤดูกาลที่ปลูก (กรมวิชาการเกษตร,2547)


                                     2.2 สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

                                     กรมวิชาการเกษตร  (2545) และ สุนันทา  (2531) ได้กล่าวถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

                  ในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน  เนื่องจากข้าวโพดฝักอ่อนเป็นพืชที่มีอายุสั้นประมาณ  55  ถึง  60  วัน

                  ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปจึงไม่เป็นปัญหามากนัก  ส าหรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการ
                  เจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงได้แก่

                                     2.2.1 สภาพพื้นที่  ข้าวโพดฝักอ่อนปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทยที่ใกล้แหล่งน้ าสะอาด

                  เป็นพื้นที่ราบและสม่ าเสมอมีความลาดเทไม่เกิน  5 เปอร์เซ็นต์  ไม่มีน้ าท่วมขัง
                                     2.2.2 สภาพดิน  ข้าวโพดฝักอ่อนปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิดโดยเฉพาะในดินที่มีลักษณะ

                  ของเนื้อดิน  ตั้งแต่ดินร่วนจนถึงร่วนเหนียวมีการระบายน้ าดี  มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง  มี

                  อินทรียวัตถุไม่น้อยกว่า  1.5  เปอร์เซ็นต์  ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มากกว่า  10  ส่วนในล้านส่วน และ
                  โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ไม่น้อยกว่า  40  ส่วนในล้านส่วน  ระดับหน้าดินลึก  20 – 30  เซนติเมตร

                  ดินมี  pH  ระหว่าง  5.5 – 6.8

                                     2.2.3  ปริมาณน้ าฝนและน้ า  ข้าวโพดฝักอ่อนเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วจึง

                  ต้องการความชื้นเพื่อการเจริญเติบโตมาก  ถ้าหากขาดน้ าในช่วงระยะการเจริญเติบโตจะท าให้ผลผลิต
                  ลดลง  ส าหรับพื้นที่ที่มีการชลประทานสามารถปลูกข้าวโพดฝักอ่อนได้ตลอดทั้งปี  ประมาณ  4 – 5  ครั้ง

                  ต่อปี  เช่นแถบจังหวัดสมุทรสาคร  นครปฐม  และราชบุรี  (พิเชษฐ์,  2533)  แต่ถ้าปลูกในสภาพพื้นที่ที่

                  ราบอาศัยน้ าฝนจ าเป็นต้องมีปริมาณน้ าฝนมีการกระจายสม่ าเสมอประมาณ  1,000 – 2,000 มิลลิเมตรต่อปี
                                     2.2.4.  แสง  ข้าวโพดฝักอ่อนเป็นพืชวันสั้นสามารถเจริญเติบโตได้ดีถ้าได้รับแสงเต็มที่

                  ตลอดทั้งวันส าหรับประเทศไทยได้รับแสงระหว่าง  11 – 13  ชั่วโมงต่อวัน  สามารถปลูกข้าวโพดได้

                  ตลอดทั้งปี สุวิมล (2544)  ได้แนะน าวิธีการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนว่าควรปลูกข้าวโพดฝักอ่อนให้มีระยะ

                  ระหว่างแถวและระยะระหว่างหลุม  50x30  เซนติเมตร  อัตรา  2  ต้นต่อหลุม  ต้นข้าวโพดกระจายอย่าง
                  เป็นระเบียบและสม่ าเสมอในพื้นที่  ท าให้ข้าวโพดได้รับแสงเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงอย่างสมบูรณ์

                  ส่งผลให้ข้าวโพดสามารถสร้างผลผลิตได้สูงและคุณภาพดี

                                     2.2.5.  อุณหภูมิ  อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดฝักอ่อนอยู่ในช่วง
                  กลางวัน  24 – 30  องศาเซลเซียส  และต้องการอุณหภูมิกลางคืนต่ าประมาณ  15 – 18  องศาเซลเซียส  ท า

                  ให้ข้าวโพดฝักอ่อนเจริญเติบโตเร็วและเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22