Page 47 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 47

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          41







                          0.30

                          0.25

                          0.20

                         ค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลส (ยูนิตต่อมิลลิลิตร)  0.15

                          0.10
                          0.05


                          0.00
                              0 วัน   1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน 4 เดือน 5 เดือน 6 เดือน 7 เดือน 8 เดือน
                                                          ระยะเวลาการเก็บรักษา

                                 ผลิตภัณฑ์เอนไซม์ (MD)    ผลิตภัณฑ์เอนไซม์ (LT)    ผลิตภัณฑ์เอนไซม์ (SM)
                                 ผลิตภัณฑ์เอนไซม์ (TH)    ผลิตภัณฑ์เอนไซม์ (PVP)


                  ภาพที่ 16 ค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลสตามช่วงระยะเวลาการเก็บรักษา

                                 จากผลการศึกษาชนิดของสารปกป้องเซลล์ เป็นวัสดุรองรับผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพแบบ
                  ผงละลายน้ำ ด้วยวิธีทำผงแห้งแบบเยือกแข็ง โดยเปรียบเทียบสารปกป้องเซลล์ 5 ชนิด ได้แก่ มอลโตเดกซ์ตริน
                  แล็กโทส สกิมมิลค์ ทรีฮาโลส และโพลีไวนิลไพโรลิโดน เมื่อเปรียบเทียบสารปกป้องเซลล์เพื่อรักษาสภาพเซลล์เชื้อ

                  ราและเอนไซม์เซลลูเลสเป็นผลิตภัณฑ์ ผลการทดลองข้างต้น พบว่า การใช้มอลโตเดกซ์ตรินเป็นสารปกป้อง
                  เซลล์เชื้อราและเอนไซม์เซลลูเลส โดยใช้ที่ระดับความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร สามารถรักษา
                  เสถียรภาพเส้นใยและเซลล์ของเชื้อ Corynascus verrucosus 23 ในผลิตภัณฑ์เริ่มต้นสูงสุด 15.528 log

                  เซลล์ต่อกรัม คงความมีชีวิตรอดของเชื้อเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นาน 9 เดือน มีปริมาณเชื้ออยู่ในระดับสูง 8.325
                  log เซลล์ต่อกรัม และมีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสเริ่มต้น 0.264 ยูนิตต่อมิลลิลิตร เก็บรักษาได้นาน 7 เดือน มี
                  ค่ากิจกรรมเอนไซม์ 0.022 ยูนิตต่อมิลลิลิตร จากการพิจารณาปริมาณเชื้อในผลิตภัณฑ์แบบผงละลายน้ำมีค่าอยู่ใน
                  เกณฑ์มาตรฐานของกรมพัฒนาที่ดินในระเบียบกรมพัฒนาที่ดินว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานปัจจัย

                  การผลิตทางการเกษตร ได้กำหนดปริมาณจุลินทรีย์แต่ละชนิดในสารเร่งประเภทจุลินทรีย์สำหรับผลิตปุ๋ยหมัก
                                                                       7
                  ปริมาณเชื้อราย่อยสลายเซลลูโลสต้องไม่น้อยกว่า 1.0 x 10  CFU ต่อกรัม หรือ 7.00 log เซลล์ต่อกรัม
                  (กรมพัฒนาที่ดิน, 2556ข) และเมื่อเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นานเกิน 9 เดือน ปริมาณเชื้อมีค่าน้อยกว่า 7.00 log
                  เซลล์ต่อกรัม ไม่ผ่านเกณฑ์ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมพัฒนาที่ดินในระเบียบกรมพัฒนาที่ดินว่าด้วยการใช้

                  เครื่องหมายรับรองมาตรฐานปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ดังนั้นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสแบบผง
                  ละลายน้ำ คุณสมบัติด้านปริมาณเชื้อราสามารถเก็บรักษาได้นาน 9 เดือน โดยการใช้มอลโตเดกซ์ตรินเป็นสาร
                  ปกป้องเซลล์เชื้อราและเอนไซม์เซลลูเลส มีปริมาณเชื้ออยู่ในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบกับรายงานของ Boza et al.
                  (2004) ศึกษาการทำแห้งแบบพ่นฝอย Beijerinckia sp. โดยใช้มอลโตเดกซ์ตรินเป็นสารปกป้องเซลล์ จำนวนเซลล์

                  เริ่มต้นเท่ากับ 1.40 x 10  CFU ต่อกรัม หลังการทำแห้งจำนวนการรอดชีวิตของจุลินทรีย์ลดลงเล็กน้อยเหลือ
                                      9
                           8
                  1.28 x 10  CFU ต่อกรัม ทั้งนี้เนื่องจากการใช้มอลโตเดกซ์ตรินเป็นสารปกป้องเซลล์ประเภทพอลิแซ็กคาไรด์
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52