Page 51 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 51

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          45








                  31.07 และ 30.41 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ (ตารางที่ 6) จะเห็นได้ว่า มีการเพิ่มขึ้นของค่าความชื้นของดินใน
                  ช่วงแรก และมีค่าลดลงในช่วงหลัง ทั้งนี้เนื่องจากการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในดินมีผลให้เกิดน้ำจากกระบวนการ
                  หายของเชื้อ ซึ่งส่งผลต่อการเจริญของจุลินทรีย์ กระบวนการเมตาบอลิซึมของจุลินทรีย์ และกระบวนการสร้าง
                  เอนไซม์เซลลูเลสในการย่อยสลายเศษซากพืช (Moo Young et al.,1983) เช่น เชื้อรา Trichoderma viride มี

                  การเจริญได้ดีที่ระดับความชื้น 70 เปอร์เซ็นต์ แต่สร้างเอนไซม์ได้สูงสุดที่ความชื้น 50 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เนื่องจาก
                  ความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญและการสร้างเอนไซม์จะเกิดขึ้นพร้อมกัน ตั้งแต่การเจริญของเชื้อในช่วงแรก จน
                  เริ่มเข้าสู่ระยะ stationary เอนไซม์เกิดขึ้นสูงสุด และจะลดลงอย่างรวดเร็ว (วิเชียร และคณะ, 2535) โดย
                  ความชื้นเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการย่อยสลายของพืช ความชื้นที่เหมาะสมกับการย่อยสลายพืชจะอยู่ในช่วง 50 -

                  60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยเชื้อราและแบคทีเรียทั้งคู่มีกลไกพื้นฐาน
                  ในการย่อยซากพืช คือ การปลดปล่อยเอนไซม์ออกมาอยู่ในโมเลกุลของซากพืชที่ขนาดใหญ่ให้เล็กลงแล้วดูดซึม
                  ผ่านเข้าทางผนังเซลล์ (Richard, 1976)

                  ตารางที่ 6 ค่าความชื้นของดินตามช่วงระยะเวลาการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพโรงเรือนกระจก

                                                                             ค่าความชื้นดิน (%)
                                 ตำรับการทดลอง
                                                               10 วัน  20 วัน    30 วัน    40 วัน  50 วัน
                   1 = ควบคุม                                  34.32    38.09    37.71     32.76    31.21

                   2 = น้ำหมักชีวภาพ                           35.01    32.30    35.63     31.19    30.19
                   3 = ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส    33.94    35.63    36.50    29.48    29.48
                      อัตรา 25 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร/ไร่

                   4 = ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส
                      อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร/ไร่          34.51    37.04    37.17     32.74    30.27
                   5 = ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส    33.49    37.18    36.74    30.50    30.35
                      อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร/ไร่
                   6 = ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส                34.55    37.33    37.24     32.11    30.84

                      อัตรา 25 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร/ไร่
                   7 = ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส                34.36    37.33    36.93     29.30    31.30
                      อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร/ไร่

                   8 = ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส                33.80    38.15    37.62     30.51    29.66
                      อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร/ไร่
                                     ค่าเฉลี่ย                 34.25  36.63      36.94     31.07  30.41

                                     F-test                      ns       ns        ns       ns       ns
                                     CV (%)                    1.96     5.88     4.54      5.46     2.86

                  หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในสดมภ์เดียวกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยการใช้ DMRT
                            ns  ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56