Page 42 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          36








                  ต่อปริมาณเชื้อรา และการผลิตเอนไซม์เซลลูเลส สอดคล้องกับรายงานของ Deschamps et al. (1985) พบว่า
                  ในหว่างการเจริญของเชื้อรา Trichoderma harzianum ในอาหารเลี้ยงเชื้อ ความชื้นของวัสดุหมักจะเพิ่มขึ้น
                  ในช่วงแรกของการเจริญ เนื่องจากเกิดน้ำจากกระบวนการหายใจของเชื้อ อีกทั้งสภาพที่เหมาะสมต่อการสร้าง
                  เอนไซม์เซลลูเลส ผลของความชื้นในวัสดุหมักเป็นปัจจัยสำคัญมากในกระบวนการหมักแห้ง เมื่อความชื้นสูงจะ

                  ทำให้เกิดของเหลว ซึ่งมีผลให้การระบายอากาศไม่ดี ซึ่งส่งผลต่อการเจริญของจุลินทรีย์ กระบวนการเมตาบอลิซึม
                  รวมถึงการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ (Nishio et al., 1981; Moo Young et al.,1983) สอดคล้องกับรายงานของ Kim et
                  al. (1985) พบว่า เชื้อรา Talaromyees sp. และ Trichoderma viride มีการเจริญได้ดีที่ระดับความชื้น 70
                  เปอร์เซ็นต์ แต่สร้างเอนไซม์ได้สูงสุดที่ความชื้น 50 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญและการ

                  สร้างเอนไซม์ พบว่า การสร้างเอนไซม์จะเกิดขึ้นพร้อมกับการเจริญของเชื้อในช่วงแรก เมื่อเชื้อเริ่มเข้าสู่ระยะ
                  อัตราการตายเท่ากับอัตราการเจริญ (stationary phase) เกิดขึ้นสูงสุด และจะลดลงอย่างรวดเร็ว (วิเชียร และ
                  คณะ, 2535) การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ด้วยการหมักแบบแห้ง solid - state fermentation (SSF) เป็น
                  กระบวนการที่นิยมใช้ในการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ด้วยวัตถุดิบแห้งหรือมีความชื้นต่ำ ซึ่งสามารถใช้เพาะเลี้ยงเชื้อได้

                  หลากหลายชนิด เช่น จากรายงานการเพาะเลี้ยงเชื้อ Bifidobactacterium animalis Lactobacillus casei
                  Lactobacilius brevis และ Aspergillus oryzae ถั่วเหลือง (Gao et al., 2013; Zhang et al., 2014;
                  Zhang et al., 2015) การเพาะเลี้ยงเชื้อ L. plantarum ในข้าวโอ๊ต และการเพาะเลี้ยงเชื้อ L. bulgaricus ในรำข้าว

                  สาลี (Zhao et al., 2017) เป็นต้น เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย ไม่ซับซ้อน มีต้นทุนต่ำ และเกิดน้ำเสียจากกระบวนการ
                  หมักน้อย และเป็นกระบวนการหมักที่คล้ายกับการเจริญของจุลินทรีย์ทางธรรมชาติ (Shim et al., 2010) สอดคล้อง
                  กับรายงานของ Chahal (1985) ซึ่งได้ศึกษาการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสในกระบวนการหมักแบบ solid substrate
                  เป็นวิธีการที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตเอนไซม์เซลลูเลสต่อปริมาณซับสเตรต และลดต้นทุนการผลิตเอนไซม์
                               ดังนั้นการเลี้ยงเชื้อแบบอาหารแข็งที่เหมาะสมในการเพิ่มปริมาณเชื้อ และส่งเสริมการผลิต

                  เอนไซม์เซลลูเลส สำหรับการเลี้ยงเชื้อ Corynascus verrucosus 23 คือ ข้าวเสาไห้ เป็นแหล่งอาหาร ใส่สาร
                  ชักนำประกอบด้วยสารเซลลาไบโอส 100 มิลลิกรัมต่อลิตร และสารแล็กโทส 10 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักโดยปริมาตร
                  ในน้ำ 1 ลิตร ผสมให้เข้ากัน นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น นำมา

                  ผสมกับข้าวเสาไห้อัตราส่วน 1 : 1 นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เลี้ยงเชื้อที่
                  ระยะเวลา 7 วัน มีการควบคุมความชื้นในระหว่างกระบวนการหมักให้เหมาะสมตลอดช่วงเวลาการเจริญของเชื้อ
                  เป็นวิธีการที่เหมาะสมในการนำไปผลิตเป็นหัวเชื้อ และผลิตเอนไซม์เซลลูเลส เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในขั้น
                  ต่อไป อีกทั้ง ข้าวเสาไห้ยังราคาถูกกว่าข้าวสาลี และข้าวโอ๊ต เป็นวัสดุดิบที่หาได้ง่าย และมีต้นทุนการผลิตต่ำ
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47