Page 50 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 50

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          44








                  ตารางที่ 5 ปริมาณอินทรียวัตถุในดินตามช่วงระยะเวลาการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพ
                           โรงเรือนกระจก

                                                                       ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (%)
                               ตำรับการทดลอง
                                                            10 วัน    20 วัน    30 วัน    40 วัน     50 วัน
                   1 = ควบคุม                                2.37      2.39      2.57      2.84      2.87

                   2 = น้ำหมักชีวภาพ                         2.38      2.46      2.67      3.14      3.04
                   3 = ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส   2.42    2.55      2.64      2.98      3.03
                         อัตรา 25 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร/ไร่

                   4 = ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส   2.32    2.48      2.62      2.92      2.77
                        อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร/ไร่
                   5 = ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส   2.34    2.53      2.60      2.93      3.10
                        อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร/ไร่
                   6 = ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส              2.29      2.42      2.79      3.01      2.92

                       อัตรา 25 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร/ไร่
                   7 = ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส              2.35      2.49      2.69      3.22      3.02
                       อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร/ไร่

                   8 = ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส              2.42      2.51      2.73      3.14      3.13
                      อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร/ไร่
                                   F-test                     ns        ns        ns        ns        ns

                                   CV (%)                    2.26      3.52      7.49      6.25     10.33

                  หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในสดมภ์เดียวกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยการใช้ DMRT
                            ns  ไม่แตกต่างกันทางสถิติ


                         5.2.2  การเปลี่ยนแปลงของค่าความชื้นของดิน
                               ค่าความชื้นของดินภายหลังการใส่ปัจจัยทดลองตามตำรับการทดลอง ตลอดระยะเวลาการย่อย

                  สลาย 50 วัน (ตารางที่ 6) พบว่า แต่ละตำรับการทดลองมีค่าความชื้นของดินไม่แตกต่างกันทางสถิติ ในทุก
                  ช่วงเวลาของการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 10 วัน ความชื้นของดินมีค่าระหว่าง
                  33.49 - 35.01 เปอร์เซ็นต์ ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 20 วัน มีค่าระหว่าง 32.30 - 38.15 เปอร์เซ็นต์ ที่ระยะเวลา
                  การย่อยสลาย 30 วัน มีค่าระหว่าง 35.63 - 37.71 เปอร์เซ็นต์ ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 40 วัน มีค่าระหว่าง

                  29.30 - 32.76 เปอร์เซ็นต์ และที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 50 วัน มีค่าระหว่าง 29.48 - 31.30 เปอร์เซ็นต์
                               เมื่อพิจารณาจากค่าความชื้นของดินในกระถางก่อนการทดลองปรับความชื้นดิน 30 เปอร์เซ็นต์
                  เพื่อจำลองสภาพของดินภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชไร่ โดยทั่วไปมีค่าความชื้นของดินอยู่ในระดับต่ำ จาก

                  ผลการวิเคราะห์ตลอดช่วงระยะเวลาการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบว่า ความชื้นของดินมีค่าเพิ่มขึ้น
                  อย่างต่อเนื่อง ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 10  20 และ 30 วัน มีค่าความชื้น 34.25  36.63 และ 36.94
                  เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และความชื้นของดินมีค่าลดลงที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 40 และ 50 วัน มีค่าความชื้น
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55