Page 43 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          37








                  ตารางที่ 4 ปริมาณเชื้อและค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในอาหารแข็ง 3 ชนิด ตามช่วงเวลาการเลี้ยงเชื้อ

                                              ปริมาณเชื้อรา                    กิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลส

                    ชนิดอาหารแข็ง           (log เซลล์ต่อกรัม)                    (ยูนิตต่อมิลลิลิตร)
                                          3 วัน        7 วัน       14 วัน       3 วัน      7 วัน      14 วัน

                   ข้าวสาลี              8.542        12.596       9.596      0.049 b     0.234 b  0.027 b
                   ข้าวโอ๊ต              8.543        12.583       9.560      0.025 c     0.232 b  0.033 b

                   ข้าวเสาไห้            8.522        12.566       9.576      0.071 a     0.264 a    0.106 a
                   F-test                ns          ns           ns             **         **         **

                   CV (%)               0.41        0.21         0.29          13.58       1.43       13.29

                  หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในสดมภ์เดียวกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยการใช้ DMRT
                            ns  ไม่แตกต่างกันทางสถิติ

                            **  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ


                         5.1.2  ผลการศึกษาการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพแบบผงละลายน้ำ
                               จากการศึกษาสารปกป้องเซลล์ 5 ชนิด ได้แก่ มอลโตเดกซ์ตริน แล็กโทส สกิมมิลค์ ทรีฮาโลส
                  และโพลีไวนิลไพโรลิโดน เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสารปกป้องเซลล์ในการเก็บรักษาสภาพจุลินทรีย์และ
                  เอนไซม์เซลลูเลส ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบผงละลาย ในช่วงระยะเวลาการเก็บรักษา 12 เดือน จากการ
                  วิเคราะห์ผลการทดลองดังนี้

                               1) ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำ
                               จากการวิเคราะห์ปริมาณเชื้อและกิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสในผลิตภัณฑ์ ได้ผลการทดลอง ดังนี้
                                 1.1)  ปริมาณเชื้อรา Corynascus verrucosus 23 ในผลิตภัณฑ์ จากการวิเคราะห์ปริมาณเชื้อ

                  ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารปกป้องเซลล์ 5 ชนิด มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p < 0.01) พบว่า ตำรับ
                  การทดลองที่ 1 มอลโตเดกซ์ตริน 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นสารปกป้องเซลล์เชื้อรา มีปริมาณเชื้อในผลิตภัณฑ์เริ่มต้น
                  สูงสุด 15.528 log เซลล์ต่อกรัม ที่ระยะเวลาการเก็บรักษา 1 - 5 เดือน มีปริมาณเชื้อ 14.410  14.255
                  13.253  12.338 และ 12.160 log เซลล์ต่อกรัม ตามลำดับ มีค่าสูงกว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ

                  (p < 0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับทุกตำรับการทดลอง โดยตำรับการทดลองที่ 2 แล็กโทส 10 เปอร์เซ็นต์ มี
                  ปริมาณเชื้อในผลิตภัณฑ์เริ่มต้น 14.503 log เซลล์ต่อกรัม ที่ระยะเวลาการเก็บรักษา 1 - 5 เดือน มีปริมาณเชื้อ
                  13.440  13.440  12.423  11.325 และ 11.325 log เซลล์ต่อกรัม ตามลำดับ ตำรับการทดลองที่ 3 สกิมมิลค์
                  10 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณเชื้อในผลิตภัณฑ์เริ่มต้น 14.528 log เซลล์ต่อกรัม ที่ระยะเวลาการเก็บรักษา 1 - 5

                  เดือน มีปริมาณเชื้อ 13.493  12.425  12.368  11.333 และ 11.258 log เซลล์ต่อกรัม ตามลำดับ ตำรับการ
                  ทดลองที่ 4 ทรีฮาโลส 10 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณเชื้อในผลิตภัณฑ์เริ่มต้น 14.383 log เซลล์ต่อกรัม
                  ที่ระยะเวลาการเก็บรักษา 1 - 5 เดือน มีปริมาณเชื้อ 13.420  12.493  11.448  11.230 และ 11.168 log เซลล์ต่อ
                  กรัม ตามลำดับ และตำรับการทดลองที่ 5 โพลีไวนิลไพโรลิโดน 10 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณเชื้อในผลิตภัณฑ์เริ่มต้น

                  ต่ำสุด 13.530 log เซลล์ต่อกรัม ที่ระยะเวลาการเก็บรักษา 1 - 5 เดือน มีปริมาณเชื้อ 12.563  12.520
                  11.465  11.112 และ 11.305 log เซลล์ต่อกรัม ตามลำดับ จากผลการทดลอง พบว่า ปริมาณเชื้อ
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48