Page 48 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 48

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          42








                  สามารถสร้างพันธะกับโปรตีน ทำให้โครงสร้างเป็นร่างแห มีผลให้โครงสร้างของเยื้อหุ้มเซลล์ที่มีความเสถียร
                  และไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการทำแห้ง (Morgan et al., 2006) และจากรายงานของ Leslie et al.
                  (1995) พบว่า การทำแห้งแบบพ่นฝอยของ Lactobacillus plantarum เซลล์จุลินทรีย์ภายหลังการทำแห้งคง
                  มีชีวิตรอดมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ผงแห้งนานมากขึ้น พบว่า ปริมาณเชื้อ

                  Corynascus verrucosus 23 มีปริมาณเชื้อ และกิจกรรมเอนไซม์ลดลงตามระยะการเก็บรักษาที่เพิ่มขึ้น
                  สาเหตุอาจเกิดจากขั้นตอนการบรรจุผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นผงแห้ง เกิดการดูดความชื้นในอากาศก่อนบรรจุ
                  ลงถุงอลูมิเนียมฟอยล์ ซึ่งความชื้นในผลิตภัณฑ์เป็นสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในระหว่างเก็บรักษา เช่น
                  การเกิดออกซิไดส์เอง (auto - oxidation) เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาจสัมผัสกับอากาศตั้งแต่แรก หรือในภาวะที่ไม่

                  สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น แสง และอุณหภูมิสูง (Desrosier, 1959) และจากรายงานของ Sunny-Robert et al.
                  (2007) ศึกษาการรอดชีวิตของ Lactobacillus rhamnosus ในระหว่างการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ผงแห้งนาน
                  6 สัปดาห์ ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส พบปริมาณความชื้นในผลิตภัณฑ์ผงสูงถึง 11 เปอร์เซ็นต์ และจาก
                  รายงาน Teixeira et al. (1995) พบการลดลงของจำนวนเซลล์จุลินทรีย์ในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25

                  และ 37 องศาเซลเซียส มีสาเหตุจากการเกิดปฏิกิริยา lipid oxidation ในระหว่างการเก็บรักษา เมื่อใช้
                  ทรีฮาโลสเป็นสารปกป้องเซลล์ในการทำแห้งแบบพ่นฝอย และรายงานของมธุรส (2554) การใช้สารปกป้อง
                  เซลล์ กลูโคส ซูโครส แล็กโทส และมอลโตเดกซ์ตริน มีผลต่อการรอดชีวิตของ Lactobacillus plantarum

                  แตกต่างกัน จากการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส จุลินทรีย์รอดชีวิตสูงกว่าอุณหภูมิห้อง
                  30 - 35 องศาเซลเซียส อีกทั้งการใช้มอลโตเดกซ์ตรินเป็นสารปกป้องเซลล์ที่มีคุณสมบัติเป็นคาร์โบไฮเดรต
                  ประเภทพอลิแซ็กคาไรด์ มีลักษณะเป็นผง หรือเกล็ดสีขาวไม่มีรส สามารถละลายในน้ำได้ดี และค่าต้นทุนการ
                  ผลิตต่ำ จึงเหมาะสมที่เป็นสารปกป้องเซลล์ และเป็นวัสดุรองรับผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ เพื่อใช้ในการผลิตเชิง
                  อุตสาหกรรม (Kanakdande et al., 2007)

                                 ดังนั้นจากผลการทดลองนี้ จึงเลือกการใช้มอลโตเดกซ์ตรินที่ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์
                  น้ำหนักโดยปริมาตร เป็นสารป้องกันห่อหุ้มเซลล์เชื้อ Corynascus verrucosus 23 และเอนไซม์เซลลูเลส เพื่อ
                  ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำ และผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส แบบผง

                  ละลายน้ำ ด้วยวิธีการทำผงแห้งแบบเยือกแข็ง (freeze drying)


                  5.2  ผลการศึกษาวิธีและอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในดิน
                  สภาพโรงเรือนกระจก
                         จากผลการศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำ และ

                  ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำ ในอัตราต่าง ๆ ต่อการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใน
                  โรงเรือนกระจก มีรายละเอียดดังนี้
                         5.2.1  การเปลี่ยนแปลงปริมาณอินทรียวัตถุของดินในกระถาง
                               1) ปริมาณอินทรียวัตถุของดินก่อนการทดลอง

                                 จากการเก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลองจากแปลงทดลอง ชุดดินนครปฐม จังหวัด
                  กาญจนบุรี ที่ระดับความลึก 0 - 15 เซนติเมตร โดยสุ่มจำนวน 15 จุด และนำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันให้เป็น
                  1 ตัวอย่าง วิเคราะห์สมบัติของดิน พบว่า ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 8.60 ดินเป็นด่างจัด ปริมาณ
                  อินทรียวัตถุ 2.29 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในระดับปานกลาง ปริมาณธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 13 มิลลิกรัมต่อ
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53