Page 49 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 49

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          43








                  กิโลกรัม จัดอยู่ในระดับปานกลาง และปริมาณธาตุโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 120 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                  จัดอยู่ในระดับสูง (สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, 2548)
                               2) ปริมาณอินทรียวัตถุของดินภายหลังการทดลอง
                                 จากการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอินทรียวัตถุในดินภายหลังการทดลองจาก

                  การใส่ผลิตภัณฑ์ชีวภาพชนิดและอัตราต่าง ๆ ต่อการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สภาพโรงเรือนกระจก
                  ดำเนินการเก็บตัวอย่างดินภายหลังการใส่ปัจจัยทดลองที่ 10 วัน  20 วัน  30 วัน  40 วัน และ 50 วัน (ตารางที่
                  5) พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุของดินในแต่ละช่วงระยะเวลาการย่อยสลาย 10 - 50 วัน มีค่าไม่แตกต่างกันทาง
                  สถิติ ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 10 วัน มีค่าระหว่าง 2.29 - 2.42 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในระดับปานกลาง ที่

                  ระยะเวลาการย่อยสลาย 20 วัน พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุของดินมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น มีค่าระหว่าง 2.46 -
                  2 . 5 5  เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 30 วัน
                  มีค่าระหว่าง 2.60 - 2.79 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 40 วัน มีค่า
                  ระหว่าง 2.92 - 3.22 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 50 วัน ค่าระหว่าง

                  2.77 - 3.13 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
                                 เมื่อใช้หลักเกณฑ์ของสำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน (2548) มาพิจารณาร่วมด้วย
                  ปริมาณอินทรียวัตถุของดินในกระถางในแต่ละตำรับการทดลอง จากการใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์

                  เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ พบว่า จากตัวอย่างดินก่อนการทดลองมี
                  ปริมาณอินทรียวัตถุของดินเริ่มต้น 2.29 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อระยะเวลาการย่อยสลายตอ
                  ซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อปริมาณอินทรียวัตถุของดินยกระดับเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ที่ระยะเวลาการ
                  ย่อยสลาย 50 วัน มีปริมาณอินทรียวัตถุของดินเพิ่มขึ้นเป็น 3.10 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในระดับค่อนข้างสูง เมื่อ
                  เปรียบเทียบกับดินก่อนการทดลอง มีค่าเพิ่มขึ้นคิดเป็น 35.37 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับ

                  ควบคุมมีค่าเพิ่มขึ้นคิดเป็น 8.01 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำ อัตรา 100
                  กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 50 วัน ปริมาณอินทรียวัตถุในดินยกระดับเพิ่มขึ้นเป็น
                  3.13 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในระดับค่อนข้างสูง สามารถยกระดับปริมาณอินทรียวัตถุของดินในกระถางเพิ่มขึ้น เมื่อ

                  เปรียบเทียบกับดินก่อนการทดลอง มีค่าเพิ่มขึ้นคิดเป็น 36.68 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับ
                  ควบคุมมีค่าเพิ่มขึ้นคิดเป็น 9.06 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มปริมาณอินทรียวัตถุสะสมในดินสูงกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์
                  ในอัตรา 25 กรัมและ 50 กรัม ทั้งนี้สอดคล้องกับรายงานของ Tchobanoglous et al. (1993) การเติมเชื้อ
                  ให้กับวัสดุหมักจะช่วยลดระยะเวลาในการปรับตัวของจุลินทรีย์ทำให้ปฏิกิริยาการย่อยสลายเกิดขึ้นเร็ว ช่วยเพิ่ม

                  อัตราการย่อยสลายลดระยะเวลาการหมักวัสดุได้ร้อยละ 35 และสอดคล้องกับรายงานของ Battaylino et al.
                                                                                       6
                  (1991) พบว่า ปริมาณเชื้อที่เหมาะสมต่อซับสเตรตในการย่อยสลายได้ดีอยู่ที่ 10 สปอร์ต่อกรัมซับสเตรต
                  ทำให้ผลผลิตเอนไซม์เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลต่อการย่อยสลายซับสเตรตโดยตรง อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ผิว
                  วัสดุ และความชื้นในระหว่างกระบวนการย่อยสลาย และจากงานวิจัยนี้การย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                  เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปของสารอินทรีย์ด้วยกระบวนการย่อยสลายด้วยเชื้อราและเอนไซม์เซลลูเลส เปลี่ยนรูป
                  เป็นอินทรียวัตถุ และคืนธาตุอาหารสู่ดิน (ตารางที่ 5)
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54