Page 52 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 52

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          46








                         5.2.3  การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเชื้อราย่อยเซลลูโลสในดิน
                               จากการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเชื้อราย่อยเซลลูโลสในดินที่มีใส่ผลิตภัณฑ์
                  ชีวภาพแต่ละชนิด และอัตราต่าง ๆ ในการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในดินสภาพโรงเรือนกระจก เป็น
                  ระยะเวลา 50 วัน แล้วนำมาวิเคราะห์สถิติ (ตารางที่ 7) พบว่า ปริมาณเชื้อราย่อยสลายเซลลูโลสในดิน

                  ภายหลังการหมักให้เกิดการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ช่วงระยะเวลาการย่อยสลาย 10  20  40 และ
                  50 วัน มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p < 0.01) และช่วงระยะเวลาการย่อยสลาย 30 วัน มีค่า
                  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยตำรับการทดลองที่ 3 ตำรับการทดลองที่ 4 และตำรับ
                  การทดลองที่ 5 ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสอัตรา 25  50 และ 100 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มี

                  ผลให้ปริมาณเชื้อราในดินที่ระยะเวลา 10 วัน มีค่าระหว่าง 3.081 - 3.165 log เซลล์ต่อกรัม ที่ระยะเวลา 20
                  วัน มีค่าเพิ่มสูงขึ้น มีค่าระหว่าง 3.532 - 3.556 log เซลล์ต่อกรัม ที่ระยะเวลา 30 วัน มีค่าระหว่าง 3.689 -
                  3.725 log เซลล์ต่อกรัม ที่ระยะเวลา 40 วัน มีค่าปริมาณเชื้อราทั้งหมดในดินสูงสุด มีค่าระหว่าง 4.654 - 4.816
                  log เซลล์ต่อกรัม และมีค่าลดลงที่ระยะเวลา 50 วัน มีค่าระหว่าง 3.561 - 4.524 log เซลล์ต่อกรัม ซึ่งมี

                  ปริมาณเชื้อในดินมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติกับตำรับการทดลองที่ 6 ตำรับการทดลองที่ 7 และตำรับการ
                  ทดลองที่ 8 ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลสอัตรา 25  50 และ 100 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีปริมาณเชื้อราในดิน ที่
                  ระยะเวลา 10 วัน มีค่าระหว่าง 3.089 - 3.139 log เซลล์ต่อกรัม ที่ระยะเวลา 20 วัน มีค่าระหว่าง 3.561 - 3.608

                  log เซลล์ต่อกรัม ที่ระยะเวลา 30 วัน มีค่าระหว่าง 3.113 - 3.785 log เซลล์ต่อกรัม ที่ระยะเวลา 40 วัน มีค่า
                  ปริมาณเชื้อราทั้งหมดในดินสูงสุด มีค่าระหว่าง 4.629 - 4.899 log เซลล์ต่อกรัม และมีค่าลดลงที่ระยะเวลา
                  50 วัน มีค่าระหว่าง 3.962 - 4.431 log เซลล์ต่อกรัม แต่พบว่าทุกตำรับการทดลองข้างต้น มีปริมาณเชื้อใน
                  ดินสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองที่ 2 น้ำหมักชีวภาพ ที่ระยะเวลา 10 วัน มีค่า 2.909 log เซลล์ต่อ
                  กรัม แต่มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ ที่ระยะเวลา 20 วัน มีค่า 3.504 log เซลล์ต่อกรัม ที่ระยะเวลา 30 วัน มีค่า 3.674

                  log เซลล์ต่อกรัม ที่ระยะเวลา 40 วัน มีค่า 4.475 log เซลล์ต่อกรัม และมีค่าลดลงที่ระยะเวลา 50 วัน มีค่า 4.381
                  log เซลล์ต่อกรัม โดยทุกตำรับการทดลองมีปริมาณเชื้อราย่อยเซลลูโลสในดินตลอดระยะเวลา 50 วัน มีค่าสูง
                  กว่าเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับควบคุมไม่ใส่ผลิตภัณฑ์ มีปริมาณเชื้อในดินต่ำสุดทุกช่วงระยะเวลาการย่อยสลายตลอด

                  50 วัน มีค่าระหว่าง 2.057 - 3.855 log เซลล์ต่อกรัม
                               เมื่อพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ปริมาณเชื้อราย่อยเซลลูโลสในดิน ตำรับการทดลองที่มีการใส่
                  ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส และผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส พบว่า มีปริมาณเชื้อในดินมีค่าไม่
                  แตกต่างกันทางสถิติ แต่มีปริมาณเชื้อสูงกว่าการไม่ใส่ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เนื่องจากการเพิ่มเชื้อในกระบวนการย่อย

                  สลายสารอินทรีย์ในกระบวนการหมักวัสดุ เกิดการปลดปล่อยสารอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์สำหรับการเจริญของ
                  เชื้อจุลินทรีย์ ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของเชื้อจากธรรมชาติในกระบวนการหมัก และปริมาณเชื้อจะลดลงเมื่อแหล่ง
                  สารอินทรีย์ถูกย่อยสลายหมด (Alexopoulos et al. 1996) และจากผลการทดลองจะเห็นได้ว่า ปริมาณเชื้อราใน
                  ดินในตำรับที่มีการใส่ผลิตภัณฑ์ มีผลทำให้ปริมาณเชื้อราในดินมีค่าเพิ่มขึ้นสูงกว่าไม่ใส่ผลิตภัณฑ์ อย่างมี

                  นัยสำคัญทางสถิติ
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57