Page 40 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 40
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
34
(2.4) ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ (Exchangeable K) สกัดดินด้วย
สารละลาย 1N. NH 4 CH 3COO pH 7 แล้วนำไปวัดปริมาณด้วยเครื่อง Atomic Absorption Spectrophotometer
(สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, 2548)
(3) การเก็บข้อมูลด้านการเจริญเติบโตและผลผลิตพืช
(3.1) ความสูงของต้นข้าวโพด เมื่อข้าวโพดอายุ 30 และ 60 วัน โดยวัดจาก
ข้อแรกที่อยู่ติดกับส่วนบนสุดของรากจนถึงส่วนที่เป็นฐานของใบที่อ่อนที่สุดเก็บข้อมูลจำนวน 30 ต้นต่อแปลง
ย่อย แล้วคำนวณค่าความสูงเฉลี่ย
(3.2) ค่าความเขียวของใบข้าวโพด เมื่อข้าวโพดอายุ 30 และ 60 วัน โดยวัด
จากใบที่ 3 โดยนับจากใบธง ในตำแหน่งปลายใบ กลางใบ และโคนใบ เก็บข้อมูลจำนวน 30 ต้นต่อแปลงย่อย
แล้วคำนวณค่าความเขียวใบเฉลี่ย
(3.3) น้ำหนักเมล็ดที่ความชื้น 14 เปอร์เซ็นต์
(4) วิเคราะห์ข้อมูลผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่ง
การย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแต่ละตำรับการทดลอง
4.5) การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ วิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (analysis of variance)
และเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลโดยใช้วิธี Duncan’s New Multiple Range Test
ศึกษาชนิดวัสดุเลี้ยงเชื้อราชนิดแข็งที่มีประสิทธิภาพการเพิ่มปริมาณเชื้อราและเอนไซม์เซลลูเลสด้วยวิธีหมักแบบแห้ง
วิธีการและอาหารเลี้ยงเชื้อราแบบอาหารแข็ง
ศึกษาชนิดของวัสดุรองรับเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพแบบผงแห้งละลายน้ำ
ด้วยวิธี freeze dried technology การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (freeze drying)
- ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสแบบผงแห้งละลายน้ำ
- ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลสแบบผงแห้งละลายน้ำ
ผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด และระยะเวลาเก็บรักษา
ศึกษาวิธีและอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพโรงเรือนกระจก
อัตราและวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์
ศึกษาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังแบบผงละลายน้ำต่อการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ในถุงตาข่ายในสภาพแปลงทดลอง ดำเนินการ 2 ฤดูปลูก
การศึกษาผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ต่อสมบัติดิน การเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแปลงทดลอง ดำเนินการ 2 ฤดูปลูก
ภาพที่ 13 แผนผังวิธีการดำเนินการวิจัย