Page 41 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 41

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          35








                                                            บทที่ 5
                                                   ผลการศึกษาและวิจารณ์


                  5.1  ผลการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังแบบผงละลายน้ำ
                         5.1.1  ผลการศึกษาวิธีการและชนิดของอาหารเลี้ยงเชื้อราด้วยวิธีการหมักแบบอาหารแข็ง ในการเพิ่ม

                  ปริมาณเชื้อรา และผลิตเอนไซม์เซลลูเลส มีรายละเอียดดังนี้
                               จากผลการศึกษาชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อราชนิดแข็งที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มปริมาณเชื้อ
                  และเอนไซม์เซลลูเลส จากแหล่งอาหารแข็ง 3 ชนิด (ตารางที่ 4) ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต และข้าวเสาไห้
                  ผลการทดลอง พบว่า การใช้ข้าวเสาไห้เป็นแหล่งอาหารแข็งสำหรับการเลี้ยงเชื้อราสายพันธุ์ Corynascus
                  verrucosus 23 เหมาะสมในการส่งเสริมการเจริญของเชื้อ และผลิตเอนไซม์เซลลูเลส มีค่าสูงสุดที่ 7 วัน

                  มีปริมาณเชื้อ 12.566 log เซลล์ต่อกรัม และมีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสสูงสุด 0.264 ยูนิตต่อมิลลิลิตร
                  หากมีการเลี้ยงเชื้อราไว้นานที่ 14 วัน มีปริมาณเชื้อลดลง 9.576 log เซลล์ต่อกรัม และมีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลส
                  ลดลงเหลือ 0.106 ยูนิตต่อมิลลิลิตร แต่มีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสสูงกว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทาง

                  สถิติ (p < 0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวสาลีเลี้ยงเชื้อที่ 7 วัน มีปริมาณเชื้อ 12.596 log เซลล์ต่อกรัม และมี
                  ค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลส 0.234 ยูนิตต่อมิลลิลิตร เมื่อเลี้ยงเชื้อนาน 14 วัน มีปริมาณเชื้อลดลง 9.596 log
                  เซลล์ต่อกรัม และมีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสลดลงเหลือ 0.027 ยูนิตต่อมิลลิลิตร และข้าวโอ๊ตเลี้ยงเชื้อที่ 7
                  วัน มีปริมาณเชื้อ 12.583 log เซลล์ต่อกรัม และมีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลส 0.232 ยูนิตต่อมิลลิลิตร เมื่อ

                  เลี้ยงเชื้อนาน 14 วัน มีปริมาณเชื้อลดลง 9.560 log เซลล์ต่อกรัม และมีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสลดลง
                  เหลือ 0.033 ยูนิตต่อมิลลิลิตร เมื่อพิจารณาจากการวิเคราะห์ พบว่า การใช้ข้าวเสาไห้เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อรา
                  แบบแข็ง เลี้ยงเชื้อ 7 วัน เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม สามารถเพิ่มปริมาณเชื้อ Corynascus verrucosus 23 ได้
                  ดี คือ 12.566 log เซลล์ต่อกรัม มีปริมาณเชื้อสูงกว่าจากรายงานวิจัยของเกษสินี และจุรีมาศ (2564) การ

                  ใช้ข้าวเสาไห้เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อรา Metarhizium sp. BCC30455 และ Beauveria bassiana BCC2779
                  มีปริมาณเชื้อ 8.00 log เซลล์ต่อกรัม เนื่องจากลักษณะความเฉพาะเจาะจงของชนิดเชื้อรา และสารอาหาร
                  ภายในวัสดุเพาะที่อาจมีอิทธิพลต่อการเจริญของเชื้อ ส่งผลต่อความมีชีวิตของเชื้อราที่เพาะเลี้ยง (Santoro
                  et al., 2015) อีกทั้งการใช้ข้าวเสาไห้เป็นแหล่งสารอาหารประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตและวิตามิน และพื้นที่ผิว

                  มากทำให้มีผลต่อการเจริญและปริมาณของเชื้อราที่เพิ่มขึ้นสูง แต่หากนานเกิน 7 วัน จะสังเกตเห็นว่า อาหาร
                  เลี้ยงเชื้อมีลักษณะเปียกชุ่มน้ำ และความชื้นในวัสดุหมักสูง มีผลให้การเจริญของเชื้อราลดลง หรือสารอาหาร
                  หมดเนื่องจากถูกเชื้อราย่อยเป็นอาหารจนเกือบหมด ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสลดลง
                  เช่นกัน (วิวัตน์ และคณะ, 2551) และจากรายงานของจารุวรรณ (2541) การผลิตเอนไซม์เซลลูเลสจาก

                  ขี้เลื่อยโดยเชื้อรา Aspergillus fumigatus ด้วยการหมักแบบอาหารแข็ง (SSF) ที่ความชื้น 70 เปอร์เซ็นต์
                  เลี้ยงเชื้อ 4 วัน ทำการระเหยน้ำออกให้เป็นผงแห้งมีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลส (CMCase) เท่ากับ 0.87
                  ยูนิตต่อมิลลิลิตร และจากงานวิจัยนี้เชื้อรา Corynascus verrucosus 23 สามารถเจริญได้ดีในข้าวเสาไห้ และ
                  มีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสสูงสุด 0.264 ยูนิตต่อมิลลิลิตร หากนำสารละลายไประเหยแห้งความเข้มข้นของ

                  เอนไซม์จะมีค่าสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสจากจุลินทรีย์ขึ้นอยู่กับชนิดเชื้อจุลินทรีย์ ชนิดของ
                  ซับสเตรต และความชื้นในกระบวนการหมักอีกด้วย และข้อสังเกตจากการศึกษาครั้งนี้ การเจริญของเชื้อราเกิด
                  ได้เร็วในช่วง 7 วัน จึงเกิดน้ำจากกระบวนการหายใจ ทำให้เกิดความชื้นในกระบวนการหมักเร็ว ส่งผลโดยตรง
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46