Page 39 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          33








                                            (3) การวิเคราะห์กิจกรรมเซลลูเลสจากตัวอย่างดิน โดยวิเคราะห์ตามวิธีการของ
                  Hope and Burn (1987) และวัดกลูโคสด้วยวิธี Nelson and Somogyi (Nelson, 1944)

                                 4)  การทดลองที่ 2 การศึกษาผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซัง
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อสมบัติดิน การเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สภาพแปลงทดลอง
                                      4.1)  การเตรียมแปลงทดลอง ใช้แปลงทดลองในพื้นที่เดียวกับการทดลองที่ 1

                                      4.2)  การใส่ปัจจัยการผลิต และการดูแลรักษาหลังจากปลูก
                                            ตำรับการทดลองที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินความต้องการธาตุอาหาร
                  ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประกอบด้วย ปริมาณไนโตรเจน 10 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณฟอสฟอรัส 5 กิโลกรัมต่อไร่
                  และปริมาณโพแทสเซียม 5 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46 - 0 - 0 อัตรา 9

                  กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 18 - 46 - 0 อัตรา 10.90 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0 - 0 - 60 อัตรา 8.30
                  กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นหลุมก่อนปลูก ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46 - 0 - 0 อัตรา 9 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวโพด
                  เลี้ยงสัตว์มีอายุ 30 วันหลังปลูก

                                            ตำรับการทดลองที่ 2 - 5
                                            - ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ใส่วิธีการเดียวกันกับตำรับการทดลองที่ 1
                                            - ใส่ปัจจัยการทดลองตามตำรับการทดลอง ดำเนินการในการทดลองที่ 1 ช่วง
                  การหมักตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพียงครั้งเดียว
                                      4.3)  การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ดำเนินการภายหลังการทดลองที่ 1 เมื่อฉีดพ่นปัจจัย

                  ทดลองบนตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แล้วสับกลบตอซัง ทิ้งระยะเวลาย่อยสลายซากพืช 10 วัน ทำการหยอด
                  เมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยการหยอดเมล็ดด้วยเครื่องกระทุ้ง (Jab seeder) ซึ่งแต่ละหลุมห่างกัน 25 เซนติเมตร
                  หยอดเมล็ดหลุมละ 2 เมล็ด เมื่อข้าวโพดอายุได้ 1 สัปดาห์ จึงถอนแยกให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม

                                      4.4)  การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ตัวอย่าง
                                            (1) การเก็บตัวอย่างดิน การเก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลองที่ระดับความลึก 0 - 15
                  เซนติเมตร โดยสุ่ม 15 จุด และนำมาผสมกันเพื่อส่งวิเคราะห์ และทำการเก็บตัวอย่างดินหลังการเก็บผลผลิต
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่โดยสุ่มเก็บตัวอย่างดินที่ระดับความลึก 0 - 15 เซนติเมตร จำนวน 3 จุดต่อแปลง และรวม

                  ตัวอย่างเป็น 1 ตัวอย่าง นำดินที่เก็บมาจากแปลงทดลอง ไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม จากนั้นบดให้ละเอียดและผสม
                  คลุกเคล้าดินให้สม่ำเสมอ นำดินส่วนที่หนึ่งมาร่อนผ่านตะแกรงขนาด 2 และ 0.5 มิลลิเมตร เพื่อใช้ใน
                  การวิเคราะห์สมบัติทางเคมีในห้องปฏิบัติการ
                                            (2) การวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน

                                              (2.1) ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) วัดโดยใช้ pH meter อัตราส่วนระหว่าง
                  ดินต่อน้ำเท่ากับ 1 : 1 (สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, 2548)
                                              (2.2) ปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic matter, OM) โดยวิธี Walkley and
                  Black Titration (Walkley and Black, 1947)

                                              (2.3) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Available P) โดยวิธี Bray II (0.1
                  N HCL + 0.03N NH4F) แล้วนำไปวัดค่า absorbance ด้วยเครื่อง Spectrophotometer ที่ความยาวคลื่น
                  882 นาโนเมตร (Bray and Kurtz, 1945)
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44