Page 38 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 38
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
32
ตำรับการทดลองที่ 3 การใส่ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส แบบผง
แห้งละลายน้ำ อัตรา 100 กรัม ละลายในน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ฉีดพ่นบนตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ก่อนการสับกลบ
ตอซัง
ตำรับการทดลองที่ 4 การใส่ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส แบบผงแห้งละลายน้ำ
อัตรา 100 กรัม ละลายในน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ฉีดพ่นบนตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ก่อนการสับกลบตอซัง
ตำรับการทดลองที่ 5 การใส่ผลิตภัณฑ์ชีวภาพสารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 อัตรา 1
ซอง ละลายในน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ฉีดพ่นบนตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ก่อนการสับกลบตอซัง
3.3) การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ตัวอย่าง
(1) การเก็บตัวอย่างถุงตาข่ายไนล่อนหลังฝังกลบ เก็บข้อมูล ดังนี้
(1.1) เก็บตัวอย่างถุงตาข่ายไนล่อนหลังฝังกลบที่ 10 20 30 40 50 และ 60
วัน นำซากพืชในถุงตาข่ายที่เหลือในแต่ละช่วงเวลา อบที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส เพื่อไล่ความชื้นจนน้ำหนัก
คงที่ ร่อนแยกเศษดินออกจากเศษพืช แล้วชั่งน้ำหนักแห้งที่เหลือ
(1.2) คำนวณน้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืช คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ โดย
คำนวณจากน้ำหนักแห้งของซากพืชแต่ละถุงที่เก็บในแต่ละช่วงเวลา หารด้วยน้ำหนักแห้งของซากพืชแต่ละถุง
เมื่อเริ่มวางทิ้งไว้ คูณด้วย 100
(1.3) คำนวณแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อทำนายอัตราการสลายตัวของ
ซากอินทรีย์ จากข้อมูลซากพืชอินทรีย์ที่เหลือ (litter weight remaining) ในแต่ละช่วงเวลา คำนวณได้จาก
สมการ Olson (1963) มีดังนี้
-kt
แบบจำลอง first order kinetic ; Wt = W0 e
โดย W0 คือ น้ำหนักแห้งเมื่อเริ่มต้น Wt คือ น้ำหนักแห้งซากอินทรีย์ที่เหลือในแต่ละเวลา (t) k คือ อัตรา
การสลายตัวของซากอินทรีย์ตลอดช่วงที่ใส่ในดิน 60 วัน แบบจำลองนี้ ใช้เพื่ออธิบายอัตราการสลายตัวของตอซัง
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตลอด 60 วัน นอกจากนี้ยังใช้แบบจำลองแบ่งการสลายตัวเป็นสองช่วงตามองค์ประกอบทางเคมี
ของสารอินทรีย์ที่สลายตัวเร็วและช้า เรียกว่า double pool model เพื่ออธิบายผลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คือ
W = C1 (1- e 1 ) + C2 (1- e 2 )
-k t
-k t
โดย W คือ น้ำหนักแห้งซากทั้งหมด t คือ เวลาของการสลายตัว C1 และ C2 คือ ค่าสัมประสิทธิ์ของ
น้ำหนักช่วงแรกและช่วงหลังของการสลายตัวตามลำดับ ส่วน k1 และ k2 คือ อัตราการสลายตัวช่วงแรกและ
ช่วงหลังของการสลายตัวตามลำดับ
(2) การวิเคราะห์ปริมาณเชื้อรา การเก็บตัวอย่างดินภายหลังการหมักดิน ที่ 10
20 30 40 50 และ 60 วัน จากการสุ่มเก็บตัวอย่างดินจำนวน 3 จุดต่อแปลง และรวมเป็น 1 ตัวอย่าง แบ่งดิน
500 กรัม ใส่ถุงเก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส และนำมาตรวจนับปริมาณเชื้อรา ด้วยวิธี Microbiological
method ตรวจนับจำนวนจุลินทรีย์ โดยวิธี dilution plate count บนอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดแข็งที่มีคาร์บอกซิลเมททิล
เซลลูโลสเป็นแหล่งคาร์บอน ตามวิธีการของ Murao et al. (1979) ราย่อยเซลลูโลส นับปริมาณใน MC
medium ที่เติมสเตรปโตมายซิน บ่มที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 3 วัน นับปริมาณจุลินทรีย์ที่ขึ้นในอาหารเลี้ยงเชื้อ