Page 37 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 37

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          31








                                 3)  การทดลองที่ 1 การศึกษาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังต่อ
                  อัตราการย่อยสลายของตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในถุงตาข่ายทดลองในสภาพแปลงทดลอง
                                      3.1)  ขั้นตอนการดำเนินงาน
                                            (1) การเตรียมตัวอย่างตอซังข้าวโพดใส่ถุงตาข่ายไนล่อน นำส่วนของใบและลำต้น

                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตัดให้มีความยาว 5 เซนติเมตร ชั่งตัวอย่างพืช 20 กรัม บรรจุใส่ถุงตาข่ายไนล่อนที่มีรูขนาด
                  เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร ขนาด 15 x 20 เซนติเมตร
                                            (2) การฝังกลบถุงตาข่ายไนล่อน ขุดหลุมลึก 15 เซนติเมตร ในแถวที่ 2 และแถว
                  ที่ 3 จำนวน 3 หลุมต่อแถว ระยะห่างระหว่างหลุม 1 เมตร นำถุงตาข่ายไนล่อนวาง 1 ถุงต่อหลุม รวมตัวอย่าง

                  จำนวน 6 ถุงต่อแปลงย่อย ฉีดพ่นปัจจัยการทดลองของแต่ละตำรับการทดลอง แล้วฝังกลบถุงตัวอย่างให้มิด ดัง
                  ภาพที่ 12 และเก็บถุงตาข่ายไนล่อนหลังฝังกลบครั้งละ 1 ถุงต่อแปลงย่อย ที่ 10  20  30  40  50 และ 60 วัน
                                            (3) การใส่ตอซังข้าวโพด นำส่วนของใบและลำต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตัดให้มี
                  ความยาว 5 เซนติเมตร จำนวน 16.80 กิโลกรัมต่อแปลงย่อย คิดจากมวลชีวภาพของต้นและใบ เป็น 767.80

                  กิโลกรัมต่อไร่ (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2561) ใส่ทั่วแปลงฉีดพ่นปัจจัยการทดลอง
                  ตามแต่ละตำรับการทดลอง แล้วสับกลบเศษพืชลงดิน















                  ภาพที่ 12  แผนผังจุดการฝังกลบถุงตาข่ายไนล่อน

                  หมายเหตุ : พื้นที่แปลงย่อยขนาด 5 x 7 เมตร
                            X หมายถึง ต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ระหว่างต้น 25 เซนติเมตร
                               หมายถึง ตำแหน่งฝังกลบถุงตาข่ายไนล่อน


                                      3.2)  การใส่ปัจจัยทดลอง
                                            ตำรับการทดลองที่ 1 ควบคุม ฉีดพ่นน้ำเปล่า อัตรา 50 ลิตรต่อไร่ ฉีดพ่นบนตอซัง
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ก่อนการสับกลบตอซัง
                                            ตำรับการทดลองที่ 2 การใส่น้ำหมักชีวภาพจากปลา อัตรา 5 ลิตรต่อไร่  ละลายในน้ำ 50

                  ลิตรต่อไร่ ฉีดพ่นบนตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ก่อนการสับกลบตอซัง
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42