Page 45 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน







                  ภาคพื้นดิน (Ground Control point) ซึ่งเป็นชุดข้อมูลภูมิสารสนเทศพื้นฐานของประเทศ (Fundamental

                  Geographic Data Set : FGDS) โดยปฏิบัติตามคู่มือประชาชน “การบริการแผนที่หรือข้อมูลทางแผนที่ของ
                  กรมพัฒนาที่ดิน” และ มีอัตราค่าบริการตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขและ
                  อัตราค่าใช้จ่ายในการบริการแผนที่ หรือข้อมูลทางแผนที่เป็นการเฉพาะราย พ.ศ.2555 มีหน่วยงานภาครัฐ
                  เอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป มาขอรับบริการแผนที่และข้อมูลทางแผนที่เป็นจำนวนมาก
                  เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนงานโครงการต่างๆ ในการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและ
                  สิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ขอรับบริการสามารถยื่นหนังสือแจ้งความจำนงขอรับบริการแผนที่หรือข้อมูลทางแผนที่ได้ ณ
                  กรมพัฒนาที่ดิน พร้อมเอกสาร หลักฐานประกอบ หรือขอรับบริการผ่านระบบออนไลน์ จากการให้บริการแผนที่
                  ออนไลน์ พบว่า ผู้ขอรับบริการรายเดิมได้กลับเข้ามาขอรับบริการแผนที่และข้อมูลทางแผนที่หลายครั้ง จาก

                  การวิเคราะห์แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้ขอรับบริการที่ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ ซึ่งได้มีการเพิ่มช่องทางการ
                  สื่อสารกับผู้ขอรับบริการอีก 1 ช่องทาง คือ ช่องทางการสื่อสารทาง Line Official โดยการสแกน QR Code
                  เพื่อสามารถสอบถามรายละเอียดของข้อมูลที่ให้บริการ ขั้นตอนการขอรับบริการ และความรู้ทางวิชาการ
                  อื่นๆ ซึ่งแต่เดิมสามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดข้อมูลได้ทางโทรศัพท์และทางเว็บไซต์ รวมทั้งปัจจุบัน
                  กำลังเร่งดำเนินการปรับปรุงระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ขอรับบริการได้รับการบริการที่สะดวก
                  และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
                  3.3 การสร้างนวัตกรรมการบริการที่สร้างความแตกต่าง และสามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะ
                         พด. ได้รวบรวมข้อมูล ทั้งความพึงพอใจและไม่พึงพอใจมาวิเคราะห์เป็นประจำ โดยนำข้อเสนอแนะ
                  ในการปรับปรุงผลผลิตและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                  นำเสนอต่อผู้บริหารของหน่วยงานพิจารณาตัดสินใจและกำหนดนโยบายปรับปรุงผลผลิตและการบริการ มี

                  ขั้นตอนตั้งแต่ทบทวนกลั่นกรอง จากนั้นระบุปัญหาความต้องการ นำมาวางแผนแก้ปัญหา และออกแบบ
                  บริการ/ผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งนี้มีการกำกับติดตามผลการดำเนินการและประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ
                  และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาต่อไป ผลจากการพัฒนาทำให้เกิดนวัตกรรมการ
                  บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น
                         การตอบสนองต่อความต้องการในระดับชุมชน พด. นำระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วน
                  ร่วม (Participatory Guarantee Systems: PGS) ซึ่งเป็นระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์โดยชุมชน

                  การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง และต่อเนื่องของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของชุมชน ภายใต้หลักการ พื้นฐานความ
                  ไว้วางใจซึ่งกันและกัน การเป็นเครือข่ายทางสังคม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อตอบสนองเกษตรกรราย
                  ย่อยที่ไม่สามารถจ่ายค่าตรวจประเมินการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ ในขณะที่แนวโน้มผู้บริโภค
                  ต้องการอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยน้อมนำหลักปรัชญาของ
                  เศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจาก
                  สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 บรรเทาปัญหาการว่างงาน ลดปัญหาการเคลื่อนย้าย
                  แรงงานภาคการเกษตร และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในท้องถิ่นมีความมั่นคงในการเป็นแหล่งผลิตอาหาร

                  เกษตรกรสามารถเลี้ยงตนเองและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างพอเพียงและยั่งยืน โดยปรับปรุงแปลง
                  เกษตรทฤษฎีใหม่ ขุดสระเก็บน้ำซึ่งเกษตรกรสามารถเลือกขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่ได้ถึง 4 ขนาด (1,800,
                  2,100, 2,800 และ 3,500 ลูกบาศ์เมตร) จากเดิมโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานให้บริการ
                  ขุดสระน้ำให้กับเกษตรกรเพียงขนาดเดียวคือ 1,260 ลูกบาศ์เมตร
                         การตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะกลุ่ม พด. ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่ใช้ได้ทั่วไปไม่ได้
                  เฉพาะเจาะจงกับพืช เช่น สารเร่งซุปเปอร์พด.1 สำหรับการผลิตปุ๋ยหมัก สารเร่งซุปเปอร์พด.2 สำหรับผลิต

                  น้ำหมักชัวภาพ สารเร่งซุปเปอร์พด.3 สำหรับควบคุมโรครากเน่าและโคนเน่า เป็นต้น  จากผลจากการ
                  ประเมินผู้รับบริการผลิตภัณฑ์ดังกล่าว มีความต้องการให้ พด. พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความจำเพาะเจาจงกับ
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50