Page 40 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 40
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็น
แนวทางการดำเนินงานระดับครัวเรือนในช่วงสถานการณ์โควิดและภัยพิบัติทางการเกษตร รวมถึงการ
เตรียมความพร้อมในการสนับสนุน โมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) โดยการจัดทำแผนพัฒนาโครงการ
สนับสนุน BCG Model ภาคการเกษตร ซึ่งถูกบรรจุในแผนปฏิบัติราชการ ปี 2566 – 2570 เพื่อรองรับ
สถานการณ์การเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคอุตสาหกรรมสู่ภาคการเกษตร (แรงงานคืนถิ่น) เนื่องจาก
ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ภัยพิบัติทางการเกษตรส่งผลให้พื้นที่เกษตรเสียหายเกษตรกรขาดรายได้
จากการเกษตรจำเป็นต้องเพิ่มทางเลือกให้กับเกษตรกรในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสร้างรายได้ให้กับ
ครัวเรือนและสามารถพึ่งพาตนเองได้ และ การใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินและที่ดินอย่างไม่คุ้มค่า ขาดการ
บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจึงนำแนวทาง BCG Model มาใช้ในการพัฒนาโครงการเพื่อ
รองรับปัญหาที่เกิดขึ้น
ผลลัพธ์สำคัญในหมวด 7 ที่เป็นผลจากการดำเนินงานของหมวด 2
พด. ดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามพันธกิจและยุทธศาสตร์ โดยสามารถขับเคลื่อนให้มีการใช้ประโยชน์
ที่ดินได้อย่างเหมาะสมด้วยการจัดทำแผนการใช้ที่ดินระดับตำบล ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาที่ดิน
สำหรับเกษตรกรและหน่วยงานวางแผนการผลิตสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดตามศักยภาพเพิ่มขึ้นทุกปี โดย
ปี 2562-2564 ดำเนินการได้ 323 ตำบล จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และปรับปรุงคุณภาพดินเพิ่มขึ้นทุกปี
โดยปี 2564 ดำเนินการได้ 2,908,075 ไร่ และก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานเพื่อการเกษตรปี
2562-2564 รวม 122,795 บ่อ ส่งผล ด้านเศรษฐกิจ การดำเนินการปรับปรุงคุณภาพดินทั่วประเทศส่งผลให้
ผลผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้นในปี 2563 และ 2564 ร้อยละ 18.65 และ 25.76 ตามลำดับ และการพัฒนาคุณภาพ
ดินในระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ทำให้ต้นทุนการผลิตทางการเกษตรลดลงคิดเป็นร้อยละ 13.97
และ 16.24 ในปี 2563 และ 2564 ตามลำดับ เมื่อบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ส่งผลให้ผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้าง
ความสามารถในการแข่งขัน โดยรายได้สุทธิทางการเกษตรของเกษตรกรเฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นทุกปีโดยปี 2564
มีรายได้สุทธิ 79,485 บาท/ครัวเรือน/ปี และมากกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด ด้านสังคม พด. ส่งเสริมการใช้
สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรทุกปี ยกระดับเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ (PGS) สร้างความ
ปลอดภัยของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค สนับสนุนส่งเสริมอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการเริ่มต้นจากการใช้สารอินทรีย์ลด
การใช้สารเคมี ในปี 2562-2564 มีจำนวนพื้นที่รวม 3,489,557.14 ไร่ และ ด้านสิ่งแวดล้อม พด. ตระหนัก
ถึงปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน จึงให้ความสำคัญกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมีผลกระทบต่อการปรับโครงสร้าง
ดินและให้ธาตุอาหารที่จำเป็นแก่พืช แก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีที่มีต้นทุนสูง และแก้ความเสื่อมโทรมให้แก่ดิน
ในระยะยาว โดยการจัดตั้งหรือต่อยอดธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ ส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรนำวัสดุเหลือใช้ใน
การเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรมมาใช้ประโยชน์ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และเกิดการบริหารจัดการการผลิต
และใช้ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562-2564 มีจำนวนธนาคารปุ๋ยดินอินทรีย์ของ พด.
รวม 256 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งการดำเนินการส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ฯ ส่งผลให้มีการใช้สารเคมีลงไม่น้อย
กว่าร้อยละ 48.51
หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3.1 ระบบข้อมูลและสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการให้บริการและการเข้าถึง
พด. มีความมุ่งมั่นและเป้าหมายที่จะพัฒนาพื้นฟูทรัพยากรดินของประเทศ จากการวิเคราะห์ภารกิจของ
พด. พบว่า ผลผลิตและบริการที่สำคัญเพื่อสร้างคุณค่าและส่งมอบให้ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแบ่ง
ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ฐานข้อมูลทรัพยากรดินและที่ดิน 2) องค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน 3) งานบริการ