Page 42 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน







                        เนื่องด้วยแหล่งข้อมูลและงานบริการต่างๆ ของ พด. มีจำนวนมากและหลากหลาย ถูกจัดเก็บ

                  กระจายอยู่ตามแหล่งต่างๆ ทำให้ผู้รับบริการไม่ได้รับความสะดวกในการเข้าถึง การค้นหาข้อมูลมีความ
                  ยุ่งยาก ซับซ้อน หากผู้รับบริการมีข้อสงสัยต้องการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจะส่งคำถามผ่านช่องทาง
                  Webboard หรือโทรสอบถาม Call Center 1760  หรือทาง E-mail ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการตอบกลับ
                  มีขั้นตอนติดต่อประสานงาน ผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าหน้าที่หลายขั้นตอน ทำให้ผู้รับบริการได้รับข้อมูลล่าช้า
                  อาจไม่ทันต่อการนำไปใช้ หรือต้องเดินทางไปติดต่อกับสำนักงานด้วยตนเองทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายใน
                  การเดินทาง พด. ได้ปรับบริการข้อมูลเพื่อตอบโจทย์และตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการ โดย
                  พัฒนา ระบบการโต้ตอบกับผู้ใช้งานด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อวางแผนการใช้ที่ดินสำหรับ
                  เกษตรกรรายแปลง หรือ AI Chatbot : คุยกับน้องดินดี ซึ่งเป็นระบบการโต้ตอบกับผู้ใช้งานด้วย

                  เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มีการเรียนรู้แบบ Machine Learning โดยเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลและ
                  เว็บแอปพลิเคชันอื่นๆ ผ่าน API Service และ Web Map Service (WMS) รวบรวมเป็นชุดข้อมูลที่
                  เกี่ยวข้องเพื่อตอบคำถามของผู้รับบริการ และมีระบบสำหรับผู้ดูแลระบบ (Back Office) ในการติดตาม
                  ตรวจสอบ(Monitor) การตอบคำถามของ AI Chatbot และสืบค้นข้อมูลประวัติการสนทนากับผู้รับบริการ
                  เพื่อนำมาวิเคราะห์ปรับปรุงประสิทธิภาพของ AI Chatbot
                  3.2 การประเมินความพึงพอใจและความผูกพันของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำมาใช้ประโยชน์
                        พด. ได้ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาพรวมของงานบริการ รวมทั้ง
                  รวบรวมข้อมูล ข้อร้องเรียน ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากช่องทางต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลป้อนกลับ
                  ไปยังผู้บริหารในการกำหนดนโยบายทิศทางการบริหารงาน นำมาปรับปรุงกระบวนงานอย่างต่อเนื่องและ
                  สม่ำเสมอ และนำมาวิเคราะห์หาความต้องการและความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไป แล้วนำมาพิจารณาการ
                  แบ่งกลุ่มให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอ หรือนำไปปรับปรุงการให้บริการ เป็นการอำนวยความสะดวก เพิ่มความ

                  รวดเร็ว และลดภาระของผู้รับบริการ และได้มีการทบทวนประเมินผลและปรับปรุงวิธีการรับฟังและเรียนรู้ความ
                  ต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งการประเมินประสิทธิภาพของช่องทาง การรับฟัง และเรียนรู้
                  ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ
                  ช่องทางต่าง ๆ โดยการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการระดมสมองของคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จาก
                  ผลจากการประเมินความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจทั้งที่ พด. ประเมินเองและจากบุคคลภายนอกประเมิน ได้
                  นำผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการดังกล่าวนำมาเป็นข้อมูลเพื่อปรับปรุงแก้ไขการให้บริการทั้งในระดับ
                  หน่วยงานและระดับกรมอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยมีเป้าประสงค์ที่จะให้ผู้รับบริการของ พด. ได้รับการบริการ
                  ที่ดีมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
                        โครงการหมอดิน 4.0 พด. คัดเลือกหมอดินอาสาจากเกษตรกรที่มีความพร้อมที่จะเรียนรู้และยอมรับการ

                  เปลี่ยนแปลง เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2538 พด. อบรมเพิ่มพูนความรู้กับหมอดินอาสาประจำทุกปี และทำงาน
                  ร่วมกันเหมือนญาติมิตร กิจกรรมต่าง ๆ ทุกกิจกรรม จะดำเนินการโดยผ่านหมอดินอาสาเป็นผู้ประสานงานใน
                  ระดับพื้นที่กับเกษตรกร ทั้งการนัดหมาย และจัดประชุมเกษตรกร การประสานกับผู้นำในท้องถิ่น โดยหมอดิน
                  อาสาจะนำความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ มาศึกษา ทดลอง และปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองจนประสบความสำเร็จ
                  หมอดินอาสาในหลายพื้นที่ส่วนใหญ่จึงกลายเป็นต้นแบบของเกษตรกร มีเกษตรกรบริเวณข้างเคียงและต่างพื้นที่
                  จำนวนมากสนใจมาเรียนรู้ ทำให้หมอดินอาสาได้รับการยอมรับจากชุมชนและหมอดินหลายคนได้รับการยกย่อง
                  ให้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน และได้รับการคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติประจำทุกปี ในการพัฒนาหมอดิน
                  อาสา พด. ได้มีการประเมินความพึงพอใจของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรมเป็นประจำทุกปี และนำข้อเสนอแนะ
                  และข้อคิดเห็นของหมอดินอาสามาปรับปรุงทั้งหลักสูตรและวิธีการฝึกอบรมให้ความรู้ จากเดิมเป็นการอบรม
                  หมอดินอาสาจำแนกหลักสูตรตามระดับหมอดินที่แบ่งเป็น 4 ระดับคือ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด ปรับ
                  หลักสูตรเป็นการอบรมตามศักยภาพหมอดินที่ได้มีการจัดกลุ่มเบื้องต้นออกเป็น 3 กลุ่ม แบ่งเป็น 3 หลักสูตรคือ
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47