Page 46 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                  ชนิดพืช เนื่องจากพืชแต่ละชนิดมีปัญหาการเพาะปลูกไม่เหมือนกัน ทำให้ พด.พัฒนาผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์
                  พด.13 ไมคอร์ไรซาสำหรับข้าวโพด ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญชนิดหนึ่ง ประโยชน์ของ พด.13 พืช
                  สามารถดูดซับธาตุอาหารได้มากขึ้น โดยเฉพาะฟอสฟอรัส รวมทั้งเส้นใยราแผ่ขยายธาตุอาหารมากขึ้นทน
                  สภาพแล้ง กรดด่าง และควบคุมโรคพืชได้ด้วยและยังเพิ่มประสิทธิภาพการดึงดูดปุ๋ยเคมี ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลด
                  การสูญเสียปุ๋ย เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ในปริมาณ 10 กิโลกรัมสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ 20-25% ซึ่งได้เปิดตัว
                  ผลิตภัณฑ์พด.13 ไมคอร์ไรซาสำหรับข้าวโพด ในวันดินโลก เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2563 ณ ศูนย์ความเป็น

                  เลิศด้านการวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย(CESRA) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
                         การตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะบุคคล จากความพร้อมทั้งด้านข้อมูลและองค์ความรู้
                  เทคโนโลยีการจัดการดินและน้ำ บุคลากร และเครือข่ายหมอดินอาสา จึงเป็นโอกาสให้ พด. การปรับ
                  กระบวนการทำงานเชิงรุก จัดทำโครงการบริหารจัดการดินเชิงรุกแก่เกษตรกรรายแปลงผ่านบัตรดินดี ซึ่ง
                  “บัตรดินดี” เป็นบัตรประจำตัวดินของแปลงเกษตรกรที่มอบให้แก่เกษตรกรเฉพาะราย เสมือนเป็นประตู
                  เชื่อมโยงไปสู่การขอรับบริการของ พด. โดยมีเจ้าหน้าที่และหมอดินลงพื้นที่ติดตามให้คำแนะนำการจัดการ
                  ดินอย่างต่อเนื่องและมอบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เป็นรายแปลง นอกจากนี้ พด. ยังพัฒนาช่องทางให้สามารถ
                  เข้าถึงงานบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการซึ่งต้องการ

                  ความสะดวกในการขอและรับข้อมูล/บริการ ไม่ต้องติดต่อหลายหน่วยงาน สามารถติดตามคำขอได้อย่าง
                  รวดเร็ว เช่น  ระบบสารสนเทศเชิงพื้นที่ เพื่อวางแผนการใช้ที่ดินเกษตรกรรายแปลง (LDD On Farm
                  Land Use Planning) เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถตรวจสอบข้อมูล ณ ตำแหน่งพื้นที่ที่
                  ต้องการเพาะปลูก ระบบจะแสดงข้อมูลประจำแปลงนั้น ๆ อาทิ ข้อมูลดิน ความเหมาะสมของดินในการ
                  ปลูกพืช  ข้อมูลแหล่งน้ำ ข้อมูลการใช้ที่ดิน และแสดงข้อมูลภูมิอากาศปัจจุบัน ณ ตำแหน่งที่ตั้งของแปลง
                  เกษตรกรสามารถวาดแปลงและบริหารจัดการข้อมูลแปลงได้ด้วยตนเองบนแผนที่ Online จะทำให้ทราบถึง

                  ข้อมูลประจำแปลงนั้น ๆ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว โดยสามารถเลือกพืชที่เหมาะสมในการเพาะปลูก
                  บันทึกข้อมูลต้นทุนการทำเกษตร เช่น ค่าใช้จ่ายในการเตรียมดิน  ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าเก็บเกี่ยว ผลผลิต
                  คาดการณ์ การบริหารจัดการศัตรูพืช เป็นต้น สำหรับนำมาใช้วางแผนการใช้ที่ดินในพื้นที่เกษตรกรราย
                  แปลงได้อย่างเหมาะสม เมื่อบริหารจัดการแปลงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะคำนวณต้นทุนการผลิต และ
                  คาดการณ์ผลผลิตประจำแปลง รายรับ-รายจ่าย ผลกำไรและต้นทุน และสรุปข้อมูลให้เกษตรกรเป็นราย
                  แปลง พร้อมทั้ง มี QR Code เพื่อให้เกษตรกรสามารถสแกนเข้าดูข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว การ
                  ให้บริการตรวจสอบดินเพื่อการเกษตร ซึ่งบริการรูปแบบเดิมผู้ขอรับบริการต้องเดินทางมาติดต่อด้วย

                  ตนเอง ณ สำนักงาน ซึ่งมีขั้นตอนการยื่นเอกสารและรอคอยการตรวจสอบเอกสารและมีระยะเวลาในการ
                  วิเคราะห์ตัวอย่างซึ่งใช้เวลานาน ทำให้ได้ผลการวิเคราะห์ไม่ทันฤดูกาลเพาะปลูก นอกจากนี้ยังไม่สามารถ
                  ติดตามสถานะของตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์ และระบบบริหารจัดการยังไม่มีการเชื่อมโยงห้องปฏิบัติการทั้งใน
                  ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ 13 แห่ง พด. ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว ประกอบกับผลการประเมิน
                  ความพึงพอใจของผู้รับบริการ พบว่า มีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงด้านความความล่าช้าและไม่มีความสะดวก
                  ในการรับบริการ พด. จึงนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาการให้บริการรูปแบบ e-Service แบบ fully digital

                  ตั้งแต่ขั้นตอนการยื่นขอรับบริการ การชำระเงิน (กรณีบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็น
                  หลัก) การติดตามสถานะ การรับผลการวิเคราะห์ดิน และระบบการประเมินความพึงพอใจ ในขณะเดียวกัน
                  ได้ปรับปรุงระบบบริหารจัดการ มีการเชื่อมโยงห้องปฏิบัติการ 13 แห่ง กระจายการบริการเพื่อให้สามารถ
                  รองรับปริมาณตัวอย่างจำนวนมากได้ โดยผู้รับบริการสามารถขอรับบริการด้วยตนเองผ่านระบบ e-Service
                  ของ พด. หรือสามารถดำเนินการผ่านระบบ Citizen Service Platform การให้บริการประชาชนบน
                  Citizen Portal โดย Application “ทางรัฐ”
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51